Lifestyle

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือโชว์ศักยภาพศูนย์บริการนวัตกรรมครบวงจร สนับสนุนนักธุรกิจและสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในยุค 4.0

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ: Northern Science Park โชว์ศักยภาพศูนย์ให้บริการนวัตกรรมครบวงจรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม พร้อมให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับภูมิภาคที่ครบครันแห่งแรกของประเทศหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักและการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.)มุ่งเป็นเสาหลักสำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจที่ต้องการพัฒนาธุรกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมพร้อมเดินหน้าเต็มกำลังปั้นสตาร์ทอัพหนุนประเทศไทยขึ้นชื่อ “ประเทศนวัตกรรม” ในยุค 4.0

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (NSP) แจงความพร้อมการให้บริการของอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)ด้วยพื้นที่ใช้สอยรวม 20,750 ตารางเมตร ในพื้นที่การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.แม่เหียะ โดยให้บริการ 6 รูปแบบหลัก ได้แก่การให้บริการด้านองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม, การให้บริการด้วยโปรแกรมการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี, การให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม, การจับคู่ทางธุรกิจและแนะนำแหล่งทุนที่เหมาะสม, การให้บริการพื้นที่สำนักงานที่เหมาะกับทุกธุรกิจนวัตกรรมและสตาร์ทอัพเทคโนโลยี, การให้บริการด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่ช่วยเติมเต็มสภาพแวดล้อมนวัตกรรม (Innovation Ecosystem)ตอบสนองไลฟ์สไตล์การทำงานตลอด 24 ชั่วโมงโดยนับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงสิงหาคม 2561 อุทยานฯ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาชนในการเข้าเยี่ยมชมเพื่อศึกษาดูงานในฐานะองค์กรต้นแบบด้านการพัฒนานวัตกรรม จำนวนกว่า 1,293 คน (จาก 42 กลุ่ม)

อาคารอำนวยการอุทยานฯ ได้เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการ ร้านค้า นักธุรกิจ (SMLEs)Startup อาทิบริษัท ไซแนปส์จำกัด (ประเทศไทย) ให้บริการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ด้าน Cognitive ชื่อว่า “SOMSRi” (สมศรี) ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ข้อมูล เข้าใจภาษาธรรมชาติ (ไทยและอังกฤษ) สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้เสมือนเป็นผู้ช่วยดิจิตอล โดยสามารถใช้งานผ่านระบบคลาวด์ (Cloud)สามารถเชื่อมต่อกับ social message, web application หรือ mobile application โดยสามารถพัฒนา software สู่การเชื่อมต่อสำหรับทุกประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อลดการทำงานของมนุษย์, บริษัท ฮอร์แกไนซ์ จำกัด แพลตฟอร์มในการบริหารจัดการห้องเช่าสำหรับผู้ประกอบการหอพัก อพาร์ทเม้นท์ และผู้เช่าในรูปแบบออนไลน์, บริษัท ปรินท์เอ็กซ์เพรส ไทย จำกัด, บริษัท สยามโนวาส จำกัด,บริษัท นาวิสพลัส จำกัด, บริษัท บัดดี้โก จำกัด,หจก.ไทยดาต้าอนาไลซิสและหน่วยงานภาครัฐอย่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA),ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน), ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือวัดในแถบแอนตาร์กติกาฯลฯ ได้เข้าใช้บริการภายในพื้นที่อุทยานฯ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ถึงปัจจุบัน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2561) รวม 32 ยูนิต ซึ่งคิดเป็น 73% ของพื้นที่การให้บริการทั้งหมด โดยในส่วนของภาคเอกชนแบ่งเป็นธุรกิจประเภท Medical and Bio-technology 2.9% Energy technology and material 9.6% Agriculture and Food 21.5% IT Software and Digital Content 66%และตั้งเป้าว่าภายในเดือนมีนาคม 2562 จะมีการใช้บริการเต็มครบพื้นที่ให้บริการทั้งอาคาร

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการนักธุรกิจในภาคเอกชน อาจารย์นักวิจัยในภาคการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมใหม่ภายใต้แนวคิด “Total Innovation Solutions”โดยมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมการให้บริการแก่ภาคเอกชนด้วยการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันของมหาวิทยาลัยเครือข่ายทั้ง 7 แห่ง โดยมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เป็นแม่ข่ายบริหารจัดการดำเนินงานโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ร่วมกับอีก 6 มหาวิทยาลัยเครือข่ายในเขตภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์โดยได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยสนับสนุนและผลักดันประเทศไปสู่การพัฒนาให้เกิดเป็นประเทศนวัตกรรม ผ่านการให้คำแนะนำปรึกษาด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากทรัพยากรที่อยู่ในสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย นักวิจัย ห้องปฏิบัติการและเครื่องมือต่างๆโดยเป็นตัวกลางเชื่อมประสานองค์ความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยผลักดันสู่การพัฒนาในภาคเอกชนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมุ่งมั่นให้บริการในรูปแบบ Smart Launchpad แก่สตาร์ทอัพและการบ่มเพาะธุรกิจเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตาร์ทอัพของประเทศ ซึ่งนับเป็นการติดอาวุธให้พร้อมสู่การลงสนามธุรกิจในยุคปัจจุบัน

         

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ