Lifestyle

PPPEEC Track กับการขับเคลื่อน 5 โครงการหลักในพื้นที่อีอีซี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

....

เพื่อขับเคลื่อน 5 โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงข่ายคมนาคมขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ทั้งทางอากาศ ทางราง ทางถนน และทางน้ำ ให้เชื่อมสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่จะเป็นรากฐานของพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจการค้าให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ตามแผนพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก หรืออีอีซี (EEC ) โดยเร็วจึงเกิดแนวทางของการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เรียกว่า Public Private Partnership หรือ PPP ซึ่งเป็นอีกแหล่งเงินลงทุนทางเลือกที่สําคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในปัจจุบัน

การร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนร่วมลงทุนที่เรียกว่า PPP นี้นอกจากสามารถช่วยทั้งลดภาระการลงทุน และการใช้ทรัพยากรของรัฐ ลดความเสี่ยงของรัฐ ในการก่อสร้างและดําเนินโครงการ ทั้งได้รับความเชี่ยวชาญจากเอกชน เพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการ และสามารถกํากับดูแลผ่านสัญญาร่วมลงทุน ได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ได้รับความรู้ความเชี่ยวชาญของเอกชนในการให้บริการสาธารณะให้แก่ประชาชนอีกด้วย

ซึ่งตัวอย่างโครงการ PPPสําคัญที่ผ่านมา อาทิ โครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โครงการทางด่วนขั้นที่ 2 ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก ดอนเมืองโทลเวย์ Motorway (บางใหญ่-กาญจนบุรี) รถไฟฟ้า BTS (สายสีเขียว) รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงิน)  ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 2 เป็นต้น

แนวทางการร่วมทุนแบบโครงการ PPP จึงสอดคล้องกับการดำเนินโครงการอีอีซี ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงที่ต้องการเงินลงทุนจํานวนมาก อีกทั้งต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญของภาคเอกชน และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงต้องการความรวดเร็วในการพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะในโครงการสำคัญเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

รัฐบาลจึงมีนโยบายผลักดันโครงการเหล่านี้ผ่านระเบียบ PPP EEC Track ขึ้น ตามประกาศคณะกรรมการนโยบาย การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ได้กำหนดเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการ ร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 ซึ่งนอกจากช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เร่งกระบวนการทำงานทั้งหมดให้รวดเร็วขึ้น ใช้เวลาในการจัดเตรียมและเสนอโครงการไปจนถึงการคัดเลือก เอกชนและลงนามสัญญา ภายในเวลา 8-10 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนตำมพระรำชบัญญัติกำรให้ เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ที่จะใช้เวลารวมประมาณ 40 เดือน และขั้นตอน Fast Track ที่ จะใช้เวลารวมประมาณ 20 เดือนโดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา

โดยนอกจากระเบียบ PPP EEC Track จะช่วยผลักดันให้โครงการลงทุนใน EEC เดินหน้าอย่างรวดเร็ว แล้ว ยังคงมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเสนอโครงการโดยหน่วยงานเจ้าของโครงการ การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน การกำกับดูแลและติดตามผลให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาร่วมทุน การแก้ไขสัญญา การทำสัญญาใหม่และการยกเลิกสัญญาหากมีเหตุจำเป็น การรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน ไปจนถึงขั้นตอนการรายงานและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุน วิธีการคัดเลือกเอกชน และผลการดำเนินโครงการในส่วนที่ไม่เป็นความลับทางการค้าของเอกชน อย่างน้อย 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง

โดย 5 โครงการสำคัญในพื้นที่พัฒนา EEC ที่รัฐบาลเร่งผลักดันให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships : PPP) ประกอบด้วย 1. สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 2. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา 3. รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 4. ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และ 5. ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 รวมวงเงินลงทุนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 6 แสนล้านบาท โดยกำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR) ทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ปี 2561

อย่างไรก็ดี หลักการในการจัดทําร่างประกาศ EEC Track ได้กำหนดให้ใช้เฉพาะโครงการสําคัญใน EEC Project List ที่ต้องการร่วมลงทุน กับเอกชนเท่านั้น โครงการอื่นยังต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 และให้มีขั้นตอนการเสนอโครงการ การคัดเลือกเอกชน และการกํากับดูแล โครงการตาม พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 เพื่อให้เห็นถึงความรอบคอบ และเป็นขั้นตอนตามมาตรฐานของ PPPโดยเน้นการลดขั้นตอน การดําเนินงานร่วมกัน หรือทําคู่ขนาน

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ