Lifestyle

ไขข้อข้องใจเรื่องการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อมกับ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ในปัจจุบันคนจำนวนมากหันมาใส่ใจตัวเองด้วยการหันมาออกกำลังกายกันมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นที่นิยมได้แก่ การวิ่ง เนื่องจากสามารถทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่เฉพาะเจาะจง เพียงหยิบรองเท้ากีฬาคู่โปรดแล้วออกไปโลดแล่นตามท้องถนน แต่อย่างไรก็ตามหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการวิ่งจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่อาจพัฒนาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ เพราะทุกจังหวะของการก้าวท้าว ร่างกายโดยเฉพาะส่วนข้อต่อต้องรองรับน้ำหนักที่เกิดจากการกระแทก วันนี้เราจะมาพูดถึงความสัมพันธ์ของการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อม พร้อมกับยกข้อมูลที่ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อประจำโรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์ ได้อธิบายไว้ถึงเรื่องนี้ จะเป็นยังไงไปติดตามกันได้เลย

แน่นอนว่าการวื่งเป็นการออกกำลังกายที่คนทุกเพศทุกวัยทำแล้วได้ประโยชน์ เพราะนอกจากจะช่วยเสริมภูมิคุ้นกันให้ร่างกายแล้ว ยังจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงและพร้อมกับการทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน แต่อย่างไรก็ตามหากวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการเตรียมตัวที่ดี จากที่ร่างกายควรจะได้รับประโยชน์ก็อาจจะส่งผลเสียจนทำให้งร่างกายสึกหรอและอาจลุกลามจนกลายเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด ซึ่งจริงๆ แล้วการวิ่งสามารถทำได้แต่ควรคำนึงถึงปัจจัย 2 ประการ ตามที่ได้ระบุไว้ด้านล่าง

 

ฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกวิธี

ไขข้อข้องใจเรื่องการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อมกับ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าควรวอร์มร่างกายให้พร้อมโดยเฉพาะส่วนของร่างกายที่จะถูกใช้งานเป็นหลักก่อนการเริ่มออกกำลังกายประเภทนั้นๆ สำหรับการวิ่งแล้ว ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ได้กล่าวไว้ว่าส่วนที่ใช้งานมากที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อรอบๆเข่า ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นรอบๆ ข้อเข่า

เมื่อวอร์มเสร็จแล้ว สำหรับผู้ที่เริ่มวิ่งเป็นครั้งแรกควรเริ่มก้าวท้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายในปัจจุบัน เมื่อคล่องแล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระยะทาง และความเร็ว เมื่อปรับตัวให้ชินกับการวิ่งได้ในระยะนึงก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อรอบเข่าให้สามารถรับแรงกระแทกได้ดีมากขึ้น ซึ่งการฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกต้องนับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการบาดเจ็บและโรคข้อเข่าเสื่อมได้

ประเมินร่างกายตัวเองให้ดี

ไขข้อข้องใจเรื่องการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อมกับ ศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช

ในกรณีที่ผู้วิ่งฝึกฝนตัวเองจนกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าแข็งแรงดีแล้ว แต่ดันมีเหตุจำเป็นที่ทำให้ต้องหยุดวิ่งต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน เมื่อถึงเวลาที่จะกลับมาวิ่งใหม่ก็อาจเคยชินกับระยะทางและความเร็วที่สามารถทำได้ในช่วงก่อนหน้าจนเผลอใส่แรงไปเต็มสูบ แต่ความจริงแล้ว กล้ามเนื้อที่ร้างจากการออกกำลังกายไปนานไม่ได้มีความแข็งแรงเท่ากับช่วงที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของอาการบาดเจ็บและโรคข้อเข่าเสื่อม ดังนั้นข้อแนะนำสำหรับผู้เริ่มวิ่งใหม่คือให้ประเมินศักยภาพของตัวเองก่อน แล้วเริ่มฝึกฝนใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปจนร่างกายสามารถกลับมาวิ่งได้ในระดับที่เคยอยู่

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นทั้งนักวิ่งมือใหม่หรือมือโปรหมดข้อสงสัยเกี่ยวกับการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อม พร้อมกับลองนำ 2 วิธีปฏิบัติที่ควรคำนึงก่อนการวิ่งไปใช้ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยลดปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและโรคข้อเข่าเสื่อมได้

สุดท้ายนี้ขอปิดท้ายด้วยการยกคำพูดของ ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช ที่ได้สรุปถึงการวิ่งกับโรคข้อเข่าเสื่อมไว้ว่า

ถ้าฝึกฝนปฏิบัติอย่างถูกต้องวิธี ก็ไม่ได้เสียหาย ไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ถ้าปฏิบัติโดยที่ผิดขั้นตอน หรือว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอก็อาจจะเกิดความเสี่ยงได้มากขึ้นนะครับ

 

ขอขอบคุณ สมิติเวช ไชน่าทาวน์ สำหรับข้อมูล

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ