Lifestyle

ตามไปดู “ทอดผ้าป่าขยะ” เทคนิคแก้ปัญหาขยะไอเดียเก๋ๆ ของ “ชุมชนบ้านหม้อ”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

“พลาสติก” กำลังเป็นขยะที่สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจ เพราะจากข่าวที่เราได้เห็นในเวลานี้ สะท้อนชัดว่า พลาสติกส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้

รู้หรือไม่ ว่าปริมาณขยะที่ประเทศไทยสร้าง 27 ล้านตันต่อปีนั้นมีพลาสติกผสมอยู่ถึง 3.2 ล้านตันเลยทีเดียว

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้ “ขยะ” ได้กลายเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายต่างหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่กำลังเป็น Mission ระดับโลก 

ปัญหาขยะพลาสติกไม่ได้วิกฤตแค่ในเมืองไทย เพราะแม้แต่องค์การสหประชาชาติวันนี้ก็ได้ประกาศให้มลพิษขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลก คือวิกฤติสำคัญของโลกไปแล้วในวันนี้

รายงานจากสหภาพยุโรป(อียู) ก็เพิ่งออกมาช่วยตอกย้ำว่า ขยะพลาสติกเป็นสถานการณ์เร่งด่วนระดับวิกฤต

เพราะปัจจุบันทุกประเทศสมาชิกอียูมีส่วนร่วมในการผลิตขยะพลาสติกมากถึงปีละ 25 ล้านตัน แต่มีเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล

ส่วนสยามเมืองทิ้ง (ไม่เลือก) อย่างบ้านเรานั้นไม่ต้องกลัวน้อยหน้าไป เพราะปัจจุบันมีข่าวติดอันดับ 6 ของโลกของประเทศที่ผลิตขยะพลาสติกมากที่สุด

เรื่องนี้กรมควบคุมมลพิษยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าไทยเรามีปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12 เฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

หนึ่งมุมคิดสำคัญของการแก้ปัญหาขยะ นั่นคือไม่ใช่ภาระที่ต้องรอให้ใครอื่นมาช่วยแก้ไข เพราะเริ่มได้จากตัวเราทุกคนซึ่งมีบทบาทเท่าเทียมกันในการช่วยแก้ปัญหา “ขยะล้นเมือง”

วันนี้เรามีชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่สามารถแก้ปัญหาขยะได้ด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีกลยุทธสำคัญก็คือความร่วมไม้ร่วมมือกันของคนในชุมชนนั่นเอง

“ชุมชนบ้านหม้อ” ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี จะมาเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนการจัดการขยะโดยคนในพื้นที่

บ้านหม้อนั้นถือเป็นอีกชุมชนในเขตเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันกว่าหมื่นคนแต่เดิมชาวบ้านหม้อผลิตขยะมากถึงวันละ 10 ตันและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามจํานวนประชากรในปีพ.ศ. 2546 จนกลายเป็นหนึ่งในหัวข้อสำคัญที่ถูกนำไปหารือเพื่อหาทางจัดการกับปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยเริ่มตั้งแต่ต้นทางและนำเอาผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่อยู่บ้านเฉยๆเข้ามามีส่วนร่วมกับทางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

“เริ่มต้นต้องชี้ให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันว่าต้องร่วมมือกันเพราะทางอบต.ไม่มีที่ทิ้งขยะต้องไปทิ้งที่อื่นทําให้ต้องเสียงบประมาณทั้งค่ารถขยะค่านํ้ามัน” พันโทบุญส่งสังข์สุขประธานชมรมผู้สูงอายุตําบลบ้านหม้อหัวเรือสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้น

เมื่อผู้สูงอายุเริ่มแยกขยะที่บ้านโดยแบ่งเป็นขยะเปียกได้แก่เศษอาหารผักผลไม้เอาใส่ถุงพอเต็มแล้วให้นํามาทิ้งไว้หน้าบ้านเพื่อรอรถขยะมาเก็บต่อมาคือขยะพิษเช่นแบตเตอรี่สายไฟหลอดไฟซึ่งขยะพิษนี้อบต.จะเก็บไปฝังดินส่วนขยะรีไซเคิลคือขยะขายได้โดยอบต.แจกถุงดําสําหรับใส่ขวดพลาสติกกระป๋องกระดาษหนังสือพิมพ์เมื่อได้หลายถุงจึงค่อยนําไปขายให้กับร้านรับซื้อขยะที่มีอยู่ 5 แห่งด้วยกัน

หลังจากเริ่มคัดแยกขยะในปี 2547 ชมรมผู้สูงอายุก็เริ่มต่อยอดด้วยการจัดทอดผ้าป่าขยะโดยปีหนึ่งจะจัดกิจกรรม 3 ครั้งคือวันผู้สูงอายุวันแม่และวันพ่อโดยจะให้ผู้สูงอายุถือถุงขยะรีไซเคิลคนละ 1 ถุงมาทําบุญวันทําบุญจะมีการตัดกิ่งมะขามเปรี้ยวเอาขวดมาแขวนเอาผ้าอาบนํ้าฝนมาคลุมกิ่งไว้และให้คณะผู้สูงอายุถวายขยะแด่พระภิกษุสงฆ์จากนั้นพระสงฆ์ทําพิธีให้ศีลให้พรแล้วคืนขยะให้ชมรมผู้สูงอายุ

“ในวันทําบุญเราจะเชิญร้านขายขยะทั้ง 5 แห่งมาร่วมประมูลในครั้งแรกเราให้แต่ละเจ้าประเมินด้วยสายตาแต่ภายหลังเพื่อความเป็นธรรมจึงชั่งนํ้าหนักขยะก่อนประมูลสบายใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย” พันโทบุญส่งอธิบาย

จนถึงวันนี้ชาวบ้านหม้อจะโทรศัพท์ไปยังอบต. เพื่อให้รถไปตามเก็บขยะรีไซเคิลมารวบรวมเอาไว้ที่อบต. และจะโหมประชาสัมพันธ์ในช่วง 1 เดือนก่อนการทําบุญทุกครั้งเมื่อถึงวันจริงชาวบ้านแค่ถือถุงน้อยมาพอเป็นพิธี

ตลอดระยะเวลามากกว่าสิบปีของการทอดผ้าป่าพันโทบุญส่งย้อนดูข้อมูลสถิติและแจ้งรายได้ตลอดจนปริมาณขยะในปี 2547 ซึ่งเป็นปีแรกขายขยะได้เงิน 8,500 บาทในปี 2553 ขายได้ 95,000 บาทและในปี 2559 มีผู้ทําบุญขยะทั้งหมด 52,092 กิโลกรัมสร้างรายได้สูงถึง 207,970 บาทเลยทีเดียวรายได้ทั้งหมดนี้ประธานชมรมผู้สูงอายุบอกว่านําไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิทินค่อนข้างตายตัวเช่นการทอดผ้าป่าในวันที่ 14 เมษายนของแต่ละปีจะนํารายได้ไปซ่อมแซมห้องนํ้าในนามโครงการลื่นล้มในห้องนํ้าผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส

ส่วนการทอดผ้าป่าในวันที่ 12 สิงหาคมของแต่ละปีจะนํารายได้มอบให้เด็กนักเรียนเรียนดีที่ขาดโอกาสและการทอดผ้าป่าในวันที่ 5 ธันวาคมของแต่ละปีจะนํารายได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุโดยแต่ละโครงการก็จะมีบัญชีแยกขาดจากกัน

จากความสําเร็จนี้เองทําให้เกิดการขยายแนวคิดไปยังกลุ่มอื่นๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแม่บ้านกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านมาร่วมกันคัดแยกขยะเพื่อขยายรัศมีการทําประโยชน์ให้กว้างออกไป

“ตําบลบ้านหม้อมีโรงเรียน 4 แห่งโรงเรียนอนุบาล 3 แห่งผมก็เข้าไปสอนวิธีการคัดแยกขยะและพอถึงกิจกรรมทอดผ้าป่าครูจะให้เด็กคัดแยกแล้วเอาขยะมาทําบุญด้วยตอนหลังเราขยายขอบเขตประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ไปยังตําบลใกล้เคียงให้ช่วยกันคัดแยกขยะด้วย” พันโทบุญส่งเล่า

ปัจจุบันปัญหาขยะในตําบลบ้านหม้อลดลงอย่างมากเหลือเพียงวันละ 1 ตันเท่านั้นนี่ถือเป็นดอกผลอีกส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนชุมชนด้วยข้อมูลและกลไกในพื้นที่อย่างที่่ดวงพรเฮงบุณยพันธ์ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนสุขภาวะชุมชนสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้กล่าวถึงหัวใจสําคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอยู่ที่ประชาชนฐานรากหากประชาชนฐานรากได้รับการพัฒนาขีดความสามารถได้มีโอกาสแสดงศักยภาพในการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองภายใต้ความร่วมมือระหว่าง 4 เสาหลักที่ประกอบด้วยประชาชนท้องที่ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐในแต่ละพื้นที่กระบวนการเช่นนี้ย่อมนําไปสู่ความเข้มแข็งของบ้านเมืองในที่สุด

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ