ข่าว

พบยักษ์ใหญ่โลกใน EEC

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

....

เป้าหมายสำคัญของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก’ (Eastern Economic Corridor : EEC) คือการเป็นจุดศูนย์กลางในระดับโลก (World-Class Economic Zone) โดยเฉพาะด้านการลงทุนรองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ และจากการที่ไทยมีศักยภาพการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์แห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ จึงสามารถยกระดับสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค และก้าวสู่การเป็นประตูสู่เอเชียในอนาคต

ข้อได้เปรียบดังกล่าวประกอบกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของรัฐบาล รวมถึงมาตรการการเร่งการลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์การลงทุนทำให้ EEC จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของเศรษฐกิจไทยเห็นได้จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติและการตอบรับเป็นอย่างดีต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้

ล่าสุดคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ได้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ Account Management ในแต่ละกลุ่มคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อจัดทำแผนเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) โดยกำหนดรายชื่อนักลงทุนที่จะเป็นเป้าหมาย ซึ่งแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซีแล้วจำนวน 16 ราย ใน 7 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมคือ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ได้แก่ บริษัท Tesla (สหรัฐ), บริษัท Shanghai Motor (จีน), บริษัท BMW (เยอรมนี), บริษัท Suzuki (ญี่ปุ่น), บริษัท Mercedes-Benz (เยอรมนี) 2) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป้าหมายคือ บริษัท Foxconn (ไต้หวัน) 3) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ บริษัท Reliance Group (อินเดีย), บริษัท Otsuka (ญี่ปุ่น) 4) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ บริษัท Kuka (ญี่ปุ่น) 5) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร บริษัทเป้าหมายนักลงทุนคือ บริษัท Fujifilm (ญี่ปุ่น) 6) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการขนส่งและการบิน บริษัท Airbus (ฝรั่งเศส), บริษัท Boeing(อังกฤษ), บริษัท Tianjin(จีน) และ 7) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล บริษัท Lazada (สิงคโปร์), บริษัท Alibaba (จีน), บริษัท IZP Group (จีน)

โดยการส่งเสริมและชักจูงการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิตอลในประเทศไทยยังมีการจัดทำแผนการดำเนินงานชักจูงการลงทุนในกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายที่เป็นธุรกิจชั้นนำระดับโลก จำนวน 10 ราย ได้แก่Google, Amazon, Celestica, Seagate, IBM, Huawei, AliCloud, Cisco, Asean Korea Trade Investment และ ผู้ว่าการเทศบาลนครเมืองเสินเจิ้น

ด้านอุตสาหกรรมการบินยักษ์ใหญ่อย่าง บริษัท แอร์บัสฯ ได้มาลงนามเอ็มโอยูกับทางการบินไทย เพื่อดำเนินการลงทุนศูนย์ซ่อมสร้างอุตสาหกรรมอากาศยานแล้ว ส่วนบริษัท โบอิ้งฯ ของฝรั่งเศส ก็แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโดยสนใจทำโครงการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบทางการบิน รวมทั้งการลงทุนจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมนักบิน เพื่อป้อนให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ยังได้รับความสนใจจากหลายบริษัทชั้นนำ เช่น นิสสัน และ ฟอม (Fomm) หรือแม้แต่บีเอ็มดับเบิ้ลยู (BMW) ก็ได้ให้ความมั่นใจว่าจะเข้าไปร่วมลงทุนใน EEC แน่นอน เช่นเดียวกับทางโตโยต้า (Toyota)ที่ยืนยันว่าจะเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ และใช้ฐานการผลิตใน EEC

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ