ข่าว

SMEs กับ EEC : เราจะโตไปด้วยกัน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

....

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศและเป็นหนึ่งในกลไกที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจมีการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน เพราะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างงาน การกระจายได้และการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจึงมีนโยบายส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีความสามารถหรือพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยการมุ่งเน้นส่งเสริมผู้ประกอบให้มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงที่สร้างมูลค่าเพิ่ม

โดยจากการเป็นพื้นที่ฐานการผลิตอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศของ 3 จังหวัดตะวันออก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง  ยังส่งผลให้มีผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีในพื้นที่มากมายโดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ อิเลกทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ

ซึ่งภายใต้การขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (อีอีซี) จึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ปัจจุบันยังพบจุดอ่อนสำคัญ คือการมีเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย ปัญหาแรงงานไร้ทักษะ ผู้ผลิตขาดความสามารถในการบริหารจัดการ ขาดศักยภาพในการพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าสูง ตลอดจนความรู้และข้อมูลการตลาด ซึ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงมีมาตรการสนับสนุนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถ ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่เป้าหมายการมุ่งส่งเสริมสนับสนุนช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยคาดว่ากลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสำคัญที่จะได้รับอานิสงห์สูงสุดจากการพัฒนาอีอีซี ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัฑณ์เกี่ยวกับเหล็ก รับเหมาก่อสร้าง และจำหน่ายเครื่องจักรกล  วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ และงานบริการที่เกี่ยวข้องกับขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นต้น

ล่าสุดกระทรวงอุตสาหกรรมยังได้หารือกับ 4หน่วยงาน คือ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อจัดทำมาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เข้าไปมีส่วนเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ครบทั้ง 10 กลุ่มรวมทั้งเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อก้าวสู่ระดับสากล ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ยังมีมาตรการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยให้ได้รับวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นเพิ่มอีกร้อยละ 100 ทั้งนี้ มาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอีดังกล่าวนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 ธันวาคม 2563

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นกลไกในการสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ตอัพ ในพื้นที่อีอีซีให้มีความเชี่ยวชาญในการประกอบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างสรรค์อุตสาหกรรมร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงได้เปิดศูนย์ให้บริการ SMEs Industrial Transformation Center : SMEs-ITC ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ขึ้นเป็นแห่งแรก ซึ่งจะเป็นผลให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเติบโตแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งรูปแบบการพัฒนาการให้บริการของศูนย์ SMEs-ITC ดังกล่าว ประกอบด้วย1.พื้นที่อำนวยความสะดวกในการทำงาน 2.แหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญทุกอุตสาหกรรม 3.ศูนย์รวบรวมความรู้ 4.แหล่งรวมไฟล์/เว็บเพื่อการจับคู่ 5.ศูนย์นวัตกรรม 6.บริการด้านทรัพยากรร่วมกัน 7.โปรแกรมด้านการเงิน 8.ห้องประชุม 9.ห้องฝึกอบรม 10.ห้องเจรจาธุรกิจ 11.ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์.

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ