ชีวิตดีสังคมดี

สรุปดราม่าเปลี่ยน 'เลขสายรถเมล์ใหม่' อยากให้จำง่าย แต่ทำไมยิ่งแก้ยิ่ง งง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุปมหากาพย์เปลี่ยน 'เลขสายรถเมล์ใหม่' ความสับสนที่สะสมมานานเกือบ 10 ปี แก้เพราะอยากให้ประชาชนจำจ่าย แต่ทำไมยิ่งแก้ยิ่ง งง

โลกโซเชียลวิจารณ์สนั่นหลังมีการเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอีกครั้ง เพราะการเปลี่ยน เลขสายรถเมล์ ได้สร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างมาก แต่ดราม่าการเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" ที่เกิดขึ้นจากคำสั่งให้เอาขีดกลาง ออก (1-15 เปลี่ยนเป็น 115 (150 เดิม) เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำนั้นที่เกิดขึ้นล่าสุด ไม่ใช่ความสับสันครั้งแรกของผู้ใช้บริการ แต่ความสับสนวุ่นวายจากการเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" เกิดมานานกว่า 7 ปีแล้ว

เรื่องราวความดราม่ากรณีเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2017 ที่มีการทดลองเปลี่ยน เลขสายรถเมล์ จากการใช้แค่ตัวเลขอย่างเดียว เป็นการเพิ่มอักษรภาษีอังกฤษเข้าไป 1 ตาม โดยแบ่งรถโดยสารประจำทางเป็นโซน โดยใช้ “สี” แบ่งแยกเป็น 4 หมวดหมู่ สีเขียว (G) สีแดง (R) สีดำ (Y) และสีน้ำเงิน (B) กำกับอยู่หน้าตัวเลขสายรถเมล์ เช่น 543 ก เปลี่ยนเป็น G38 (สีเขียว)

มหากาพย์การเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" ยังไม่จบแค่การเติมตัวอักษรภาษาอังกฤษเข้าไป แต่เมื่อปี 2565 กระทรวงคมนาคมได้เริ่มปฏิรูปเส้นทางรถเมล์อีกครั้ง ครั้งนี้นับว่าเป็นการเปลี่ยน เลขสายรถเมล์ ครั้งยิ่งใหม่ และสร้างความสับสนมากกว่าทุกครั้ง เพราะเป็นการเปลี่ยนเลขสายรถเมล์ใหม่ โดยการยกเลิกเลขเดิม และใช้เลขใหม่ พร้อมกับมีขีดกันตรงกลางระหว่างตัวเลข (120 เปลี่ยนเป็น 4-21, 207 เปลี่ยนเป็น 3-21, 139 เปลี่ยนเป็น 3-16E) รถทางด่วน ( EXPRESS=E )

 

 

ซึ่งเป็นการเปลี่ยนตามโซนให้บริการ 4 โซน คือ โซนที่ 1 ทิศเหนือ (กรุงเทพฯ โซนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนพหลโยธิน) ขึ้นต้นด้วย 1-เลขสาย โซนที่ 2 ทิศตะวันตก (กรุงเทพฯ ชั้นในและโซนตะวันตกเฉียงเหนือ) ขึ้นต้นด้วย 2–เลขสาย โซนที่ 3 ทิศตะวันออก (กรุงเทพฯ โซนตะวันออกเฉียงใต้ : ถนนสุขุมวิท) ขึ้นต้นด้วย 3-เลขสาย และโซนที่ 4 ทิศใต้ (กรุงเทพฯ โซนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ถนนเพชรเกษม) ขึ้นต้นด้วย 4-เลขสาย (4-1 ถึง 4-71)

 

 

แนวคิดการเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" สร้างความสับสนมาอย่างต่อเนื่องจนกระทรวงล่าสุดที่เรียกว่าทำให้เกิดความสับสน และกระดราม่าในโลกออนไลน์อย่างมาก เนื่องจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรื่องกิจ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคม ได้มีคำสั่งให้เอาขีดกั้นกลางตัวเลขออก เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำของประชาชน แต่กระแสกลับไม่ง่ายอย่างเหมือนแนวคิด เพราะชาวเน็ตได้แสดงความคิดไปในแนวทางเดียวกันว่า วิธีแก้ที่ถูกที่สุดคือไม่ต้องแก้ ป้ายบอกเลขสายรถเมล์ไว้หมดแล้ว เปลี่ยนสายใหม่ก็ต้องทำใหม่อีก ขณะที่บางคนแนะนำว่าควรจะโฟกัสที่การเพิ่มจำนวนรถเมล์ให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ประชาชนต้องรอนาน หรือการปรับปรุงและนำรถเมล์ที่ได้มาตรฐาน โละรถเมล์ร้อนและให้รถเมล์ปรับอากาศแทน

 

ขณะที่กรมการขนส่งทางบก ในฐานะผู้กำกับดูแลและให้สัมปทานการเดินรถเมล์ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล แจงว่า การเปลี่ยน "เลขสายรถเมล์ใหม่" เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำของประชาชน ส่วนตัวอักษรหมายเลขสายรถไม่ได้กำหนดฟอนต์ตัวอักษร แต่ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสมโดยให้ประชาชนสามารถมองเห็นตัวอักษรได้ชัดเจน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ