ชีวิตดีสังคมดี

'Easy E-Receipt' เริ่มลดหย่อนได้ 1 ม.ค. 67 เช็กใครบ้างใช้สิทธิลด 50,000 ไม่ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มาตรการ 'Easy E-Receipt' เริ่มลดหย่อนได้ 1 ม.ค. 2567 ใครบ้างใช้สิทธิลดหย่อน 50,000 ไม่ได้ ตรวจสอบหลักฐานที่ต้องใช้ที่นี่

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มาตรการ "Easy E-Receipt" เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี การใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนการบริโภคในประเทศในช่วงต้นปี 2567

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการ "Easy E-Receipt" เพื่อให้ผู้มีเงินได้ ซึ่ง 1 ม.ค. 2567 - วันที่ 15 ก.พ. 2567 มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่  ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

 

 

ผู้ใช้สิทธิ์ที่ได้ "Easy E-Receipt" เฉพาะผู้ที่มีหลักฐานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์  (e-Receipt) เท่านั้น

โดยให้ผู้ซื้อสินค้าสังเกตร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ "Easy E-Receipt"ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังนี้

 

กรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) พร้อมต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย  โดยค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จะได้รับสิทธิฯ ไม่รวมถึง 1.ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์ 2.ค่าซื้อยาสูบ 3. ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ 4. ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ 5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต 6. ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2567 และ (7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

 

2. กรณีการซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) พร้อมต้องระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วย เฉพาะค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ 1. ค่าซื้อหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร 2.ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ 3.ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว   

   

 

“รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยมาตรการ "Easy E-Receipt" ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากครอบคลุมตั้งแต่เทศกาลปีใหม่ไปจนถึงตรุษจีน จะเป็นแรงส่งสนับสนุนให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ ให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง ทั้งนี้คาดว่าจะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ล้านบาท และกระตุ้น GDP ปี 2567 ให้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.18%”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ