ชีวิตดีสังคมดี

สัญญา 900 วัน สร้าง 'ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง' ถล่มก่อนเปิดใช้แค่ 1 เดือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สรุป 'ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง' ถล่ม สัญญาก่อสร้าง 900 วัน โดนเร่งรัดให้รีบทำงาน พังถล่มก่อนเปิดใช้งานแค่ 1 เดือน

เหตุการณ์ สะพานถล่มลาดกระบัง ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ที่เกิดขึ้นในช่วงค่ำวานนี้ (10 ก.ค. 2566) สร้างความแตกตื่นในคนที่สัญจรไปมา และประชาชนในย่านลาดกระบังอย่างมาก เพราะ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" มีการเริ่มก่อสร้างไปแล้วเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา และมีกำหนดจะเปิดให้ประชาชนสัญจรได้ในช่วงเดือน ส.ค. 2566 ซึ่งเหลือเวลาการก่อสร้างอีก 1 เดือนเท่านั้น

 

 

อีกทั้งการก่อสร้างสะพานข้ามแยก หรือทางยกระดับในกรุงเทพมหานคร ตลอดระยะเวลาหลายปีไม่ได้มีข่าวการถล่มพังจนคร่าชีวิตคนงาน และทำให้มีผู้บาดเจ็บหลานคนเช่นนี้มาก่อน การก่อสร้าง "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" แล้วถล่มลงมาในครั้งนี้จึงถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความกังวลแก่ผู้ที่จะต้องขับผ่านเส้นทางดังกล่าว หากมีการเปิดใช้งานแล้วเป็นอย่าง สำหรับ โครงการก่อสร้างทางบกระดับลาดกระบังอ่อนนุช มีที่ไปที่มาดังนี้

  • เปิดสัญญาจ้างก่อสร้าง 1,600 กว่าล้าน "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง"

โครงการก่อสร้างทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มูลค่าโครงการ 1,938.3 ล้านบาท แบ่งเป็นของสำนักงานกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน กทม.) 1,664.5 ล้านบาท และงานของการไฟฟ้านครหลวง 273.75 ล้านบาท  เจ้าของโครงการ คือ สำนักการโยธา กทม.ผู้สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธา กทม. เป็นผู้ออกแบบ

  • สัญญา 900 วันสร้างไม่เสร็จถล่มก่อน

ตามสัญญาจ้างงานโครงการของ สำนักงาน กทม. ระบุให้เริ่มก่อสร้างวันที่ 23 ก.พ. 2564 ไปจนถึงวันที่ 11 ส.ค. 2566 ระยะเวลา 900 วัน แต่ล่าสุดคาดว่าจะเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 ซึ่งหากผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญา จะต้องจ่ายค่าปรับแก่ผู้ว่าจ้างราว 4.1 ล้านบาทต่อวัน

 

 

ลักษณะการก่อสร้างเป็นทางยกระดับคอนกรีตเสริมเหล็กความยาว 2,200 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ สร้างตามแนวเกาะกลางถนนลาดกระบังระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เริ่มจากสะพานข้ามคลองหนองคล้าใกล้ซอยลาดกระบัง 9/7 สิ้นสุดที่หน้าสำนักงาน กปน. สาขาสุวรรณภูมิ รวมถึงสร้างระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบจราจรสงเคราะห์

 

 

  • "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" เคยถูกเร่งรัดใน สภากทม.

ช่วงต้นปีที่ผ่านมาเคยมีการอภิปรายและสอบถามความคืบหน้าในการก่อสร้าง ทางยกระดับลาดกระบังอ่อนนุข โดยนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง ว่ากทม.จะเร่งรัดอย่างไรให้แล้วเสร็จไวขึ้น เพราะทางยกระดับมีระยะทางประมาณ 3 กม. เท่านั้น

 

ในที่ประชุมสภานายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่า ทางกทม. ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับจากแบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment ที่หล่อขั้นรูปมาจากโรงงาน และขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัดงานก่อสร้างให้เร็วขึ้น

 

 

 

  • แนวทางรื้อถอนต้องถูกต้องหวั่นพังถล่มซ้ำ

หลังจากเกิดเหตุ "ทางยกระดับอ่อนนุชลาดกระบัง" ถล่มจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ นายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ได้เดินทางลงพื้นที่ พร้อมกับสั่งการให้ตรวจสอบโครงสร้าง ทางยกระดับที่ถล่มลงมา เพราะเกรงว่าจะเกิดการถล่มซ้ำสอง โดยการการรื้อถอนจะต้องเป็นไปตามหลักวิศวกรรม โดยจะมีวิศวกรเข้ามาดูแลเนื่องจากสภาพโครงสร้างที่ทรุดลงมายังไม่มีความเสถียร อาจเกิดการพังทลายซ้ำ 2 ได้ ทางวิศวกร รวมถึงผู้รับเหมาที่เข้าใจสถานการณ์ และวสท. เข้ามาร่วมดำเนินการด้วย โดยการประเมินพื้นที่จะเริ่มตั้งแต่คืนนี้ เนื่องจากการประเมินพื้นที่จะรวมกับขั้นตอนของการกู้ภัยเข้าไปด้วย ไม่สามารถกู้ภัยโดยไม่มีการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญได้นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งศูนย์บัญชาการ

 

 

  • สรุปผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ

เบื้องต้นมีผู้บาดเจ็บ 8 ราย แบ่งเป็นสาหัส 4 ราย ไม่สาหัส 4 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เป็นวิศวะกร ซึ่งผู้บาดเจ็บ 8 รายยังไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงหากมีญาติตัวเองสูญหาย ขอให้โทรมาแจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เบอร์ 199 เนื่องจากจุดเกิดเหตุเป็นถนนสาธารณะ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ