ชีวิตดีสังคมดี

'กฎหมายตายดี' สิทธิที่ผู้ป่วย(ควร)ได้เลือก คำขอครั้งสุดท้ายก่อนลาโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'กฎหมายตายดี' สิทธิที่ผู้ป่วย(ควร)ได้เลือกจะอยู่หรือจะไปรู้จักการการุณยฆาตจาก 5 ประเทศเปิดกว้างให้สิทธิครั้งสุดท้ายเลือกได้ว่าจะจากไปแบบไม่ทรมาน

"กฎหมายตายดี" หรือ การการุณยฆาต (Mercy killing)) ยังไม่ถูกพูดถึงมากนักในประเทศไทย แม้ว่าที่ผ่านมาจะเคยมีการขับเคลื่อนเข้าสู่สภา เพื่อให้กฎหมายถูกพิจารณาและนำมาใช้ได้จริงในประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายจะยังไม่เห็นชอบมากนักกับ กฎหมายตายดี เพราะบางคนยังกังขาว่า การการุณยฆาต ขัดกับหลักศาสนา ซึ่งถือว่ายังเป็นเรื่องใหม่และยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย 

 

 

กฎมหมายการุณยฆาต หรือ "กฎหมายตายดี" ถูกกลับมาเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยอีกครั้ง หลังจากที่ชายไทยรายหนึ่งซึ่งป่วยเป็นเนื้องอกในสมองมานานกว่า 10 ปี ตัดสินใจเดินทางไปทำการ การุณยฆาตด้วยตนเองที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้การทำการุณยฆาตกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในประเทศไทย  สำหรับ  การุณยฆาตมีที่มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า การทำให้เสียชีวิตอย่างสงบโดยมีมนุษยธรรม ซึ่งการุณยฆาตการยุติชีวิตของผู้ป่วยระยะสุดท้ายตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วย หรือตามคำร้องขอของผู้แทนโดยชอบธรรม

"กฎหมายตายดี" หรือ การการุณยฆาตสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ 

การยินยอมให้แพทย์ หรือผู้อื่นที่ได้รับอนุญาตกระทำการฉีดสารหรือใช้วัตถุยุติชีวิตตามความผู้ป่วย
การยุติชีวิตด้วยตัวผู้ป่วยเอง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยา การฉีดหรือกดปุ่ม โดยมีแพทย์เตรียมอุปกรณ์เเละเครื่องมือให้ซึ่งเป็นวิธีที่สอดคล้องกับศีลธรรมและกฎหมายที่ทำให้ผู้ป่วยได้จบชีวิตด้วยตัวเองอย่างสงบ โดยในประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการออกกฎมหมายดังกล่าว เพื่อให้ผู้ป่วยได้เลือกสิทธิการจากโลกนี้ไปเพื่อให้เกิดทรมานแล้วยหลายประเทศ  โดยมีประเทศตัวอย่างที่น่าสนใน ดังนี้  

 

 

ภาพประกอบบทความ

 

 

สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศที่มีผู้ป่วยต่างประเทศเดินทางไปเข้ารับการทำกรุณยฆาตจำนวนมาก และถือว่าเป็นประเทศเดียวที่อนุญาตให้ชางต่างชาติเดินทางไปทำ การุณยฆาตได้  โดยตั้งแต่ปี 2485 มีสถาบันด้านการทำยุติการรักษาสำหรับผู้ป่วยต่างชาติ ที่เดียวในโลก ที่ผ่านมาการทำ การุณยฆาตในสวิสเซอร์แลนด์ เป็นการฉีดสารโซเดียมเพนโทบาร์บิทอล เข้าร่างกาย โดยในปี 2020  สวิตเซอร์แลนด์มีผู้เข้ารับการการุณยฆาต 1,300 ราย ทำให้รัฐมองหาวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบอละไม่เจ็บปวด จึงได้มีการใช้แคปซูล Sarco จึงเป็นอีกทางเลือกของการทำการุณยฆาตรูปแบบใหม่ เพื่อให้การจากโลกนี้ไปอย่างสงบสุข   

 

 

เบลเยี่ยม ประกาศออก กฎหมายตายดี หรือ กฎหมายการุณยฆาต เมื่อวันที่ 28  พ.ค. 2545 มีผลบังคับใช้วันที่ 23 ก.ย. 2545 อนุญาตเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ และให้มีผลบังคับใช้กับผู้ป่วยเด็กในอีก 2 ปีต่อมาแต่ยังมีข้อโต้แย้งว่า แพทย์จะมีสิทธิที่จะทำการุณยฆาตทารกที่มีอาการสมองตายได้หรือไม่ ในปีพ.ศ. 2548 มีกฎหมายรองรับให้เภสัชกรและแพทย์สามารถจําหน่ายและใช้ อุปกรณ์การทําการุณยฆาตได้ การุณยฆาตสําเร็จรูป ดังกล่าว ซื้อขายกันในสนนราคาประมาณ 2,000 บาท ประกอบด้วย ยากล่อมประสาท เช่น Barbiturate และยาประเภทดมให้หมดสติเป็นต้น

 

 

เนเธอร์แลนด์ ออกกฎหมายรองรับ การุณยฆาต ตั้งแต่ปี 2539 และพบว่าสถิติการตายประมาณ 9.1% ของการตายทั้งหมดต่อปีเกิดจาก การุณยฆาต (2,300 ราย สมัครใจตาย และ 400 ราย ตายเพราะแพทย์ลงมือเอง และ 1,040 ราย ถูกการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนรับรู้หรือให้ความยินยอม) นอกจากนี้กฎหมายยังเปิดกว้างให้ผู้ป่วยอายุ 12-16 ปีมีสิทธิร้องขอ การุณยฆาต ได้โดยพ่อแม่หรือญาติให้คํายินยอม

 

 

ออสเตรเลีย เฉพาะ Northern Territory เท่านั้น ที่มีกฎหมายรองรับให้แพทย์สามารถกระทํา การุณยฆาต ได้ทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยเองและญาติผู้ป่วยร้องขอ (passive euthanasia) หรือกรณีที่แพทย์มีส่วนช่วยเหลือในการเตรียมอุปกรณ์เพื่อปลิดชีพตามความต้องการของผู้ป่วย และกระทําด้วยผู้ป่วยเอง (active euthanasia) แต่ภายหลังที่มีเหตุการณ์ผู้ป่วย 4 ราย ปลิดชีพตนเองด้วยอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยแพทย์ (passive euthanasia) รัฐบาลกลางจึงได้สั่งยกเลิกกฎหมายทันทีในปีพ.ศ. 2540 

 

 

แคนาดา มีการผลักดันร่าง กฎหมายการตายดี โดยผู้ป่วยจะได้รับความช่วยเหลือของทีมแพทย์ด้วยวิธี PAS ภายในรัฐควิเบก ตั้งแต่ปี 2559 อนุญาตให้เฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้ายและไม่มีอาการป่วยทางจิตเท่านั้น โดยมีคำร้องที่เขียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมมีพยานยืนยันอย่างน้อย 2 คน เพื่อป้องกันชาวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาทำการุณยฆาตในประเทศ 

 

 

ภาพประกอบบทความเท่านั้น

 

 

ส่วน "กฎหมายตายดี" ในประเทศไทยนั้นยยังไม่มีการออกฎหมายโดยเฉพาะ  แต่ในพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 12 เป็นกฎหมายที่บัญญัติเพื่อให้บุคคลสามารถแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าเมื่อใดที่วาระสุดท้ายขอชีวิตจะต้องจากไป จากจากไปตามวิถีธรรมชาติโดยไม่ประสงค์จะใช้เครื่องมือต่าง ๆ จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อยืดเวลาการตายออกไปอีก แต่ที่ผ่านมาเกิดการเข้าใจผิดว่าพ.ร.บ.เป็นสิทธิที่จะขอตายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่หากจะพูดให้ถูก  มาตรา 12 คือสิทธิที่จะขอตายตามธรรมชาติ

 


ที่มา: www.parliament.go.th

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ