ชีวิตดีสังคมดี

ยา โอเซลทามิเวียร์ ขาดแคลนไทยเผชิญ 'ไข้หวัดใหญ่' ระบาดหนักรอบหลายปี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

น่ากังวล ยา โอเซลทามิเวียร์ เริ่มคาดแคลนหลังไทยเผชิญ 'ไข้หวัดใหญ่' ระบาดหนักในรอบหลายปี จับตาแผนกระจายยาเยื้อชีวิตประชาชนให้รอดตาย

ปลายฝนต้นหนาวฤดูที่นำพาโรค "ไข้หวัดใหญ่" โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ที่ทำให้ขณะนี้คนไทยทั่วประเทศป่วยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ภาพโรงพยาบาลที่มีคนไข้ติดเชื้อ "ไข้หวัดใหญ่" ต้องรอคิวเข้ารับการรักษาแบบล้นโรงพยาบาล 

อัตราการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแทบทุปกปี ที่สำคัญคือป่วยแล้วอาการหนัก แต่สิ่งเป็นปลกระทบตามมาคือระบบรองรับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ระบบสาธารณสุข ยารักษา ไข้หวัดใหญ่ ตัวสำหรับอย่าง ยาโอเซลทามิเวียร์ มีเพียงพอหรือไม่ 

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้เห็นเพจหมอออกมาโพสต์ถึงกรณีขนาดแคลนยา โอเซลทามิเวียร์ อย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็น พจ สมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป โพสต์ข้อความถึงสถานการณ์นี้ว่า “ไข้หวัดใหญ่ระบาด ยา oseltamivir หมดหลาย รพ. รอฟื้นมาตรการ DMHT ลุ้นเปิดเทอมผู้ป่วยลดลง”

 

 

หรือ แฟนเพจ สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ที่โพสต์ไว้ก่อนหน้าว่า “โรงพยาบาลของคุณ ยังมี oseltamivir เหลือไหม (หลาย รพ.เกลี้ยงแล้ว)” 

 

ข้อความเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อมของระบบการสาธารณสุข ระบบหการผลิตและแจกจ่ายยาของหน่วยงานที่รับปผิดชอบ หรือเพราะคนป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยต่อไปแบบคาดไม่ถึงกันแน่ 

 

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. -7 ต.ค. 2566 มีรายงานผู้ป่วย 279,098 ราย อัตราป่วย 421.78 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 13 ราย ในจังหวัดนครราชสีมา 6 ราย จังหวัดสงขลา ตาก พิษณุโลก ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ ราชบุรี และกรุงเทพมหานคร จังหวัดละ 1 ราย สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A โดยรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง

 

 

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค "ไข้หวัดใหญ่" พบในกลุ่มอายุ 5-14 ปี เท่ากับ 1,616.10 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 0-4 ปี และกลุ่มอายุ 15-24 ปี 

ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ ภาคกลาง เท่ากับ 501.97 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

 

 

จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 10 อันดับแรก ได้แก่ ระยอง อัตราป่วย 1,243.80 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี ยโสธร นครปฐม (680.26 ) ลำพูน หนองคาย และฉะเชิงเทรา 

 

 

สถานการณ์การระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มที่จะมีประชาชนติดเชื้อมากขึ้นต่อเนื่อง ท่ามกลางการระบาดในครั้งนี้ส่งผลให้ ต้องเร่งผลิตยาเพื่อให้ทันต่อความต้องการ และเเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดอย่างหนัก จนนำมาซึ่งการเสียชีวิต อเพื่อการแก้ปัญหายาขาดแคลน องค์การเภสัชกรรมได้ปรับแผนการผลิตยาใหม่ทั้งหมด 

 

 

 

พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการผลิตยา โอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ยารักษาไข้หวัดใหญ่ และการกระจายยาไปยังสถานพยาบาลต่างๆ ว่า เพื่อให้ยาทันต่อความต้องการของผู้ป่วย องค์การฯได้มีการเพิ่มกำลังการผลิต โดยมีการจัดสรรกำลังคนทั้งที่โรงงานผลิตยารังสิต 1 และโรงงานผลิตยาที่ พระราม6 โดยใช้คนทั้งสองโรงงานช่วยกัน รวมทั้งปรับแผนการทำงานแต่ละกระบวนการให้ทำงานแบบคู่ขนาน มีการเพิ่มสายการผลิตในขั้นตอนการบรรจุผงยาลงแคปซูล และการตรวจเช็คน้ำหนักของยาในแต่ละแคปซูล ทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 4 เท่า  และได้ให้ความสำคัญกับการผลิตยาสำหรับใช้ในเด็กเป็นหลักก่อน ขณะนี้ได้เริ่มทยอยส่งมอบยาไปแล้ว 

 

 

สำหรับยาของผู้ใหญ่ ขนาด 75 มิลลิกรัม นั้น ปัจจุบันได้มีการเฉลี่ยส่งหรือส่งมอบบางส่วนในแต่ละคำสั่งซื้อ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการได้ประมาณ 80 %  และ องค์การฯ สามารถผลิตขึ้นคลังได้ 1,800 กล่อง (450,000 แคปซูล) เพื่อจัดส่งได้ทุก 2 - 3 วัน ทั้งนี้หลังจากที่หน่วยผลิตได้นำยาขึ้นคลังแล้วจะจัดส่งยาแบบยาด่วน ได้ภายใน 1 วัน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภายใน 3 วันในพื้นที่ต่างจังหวัด คาดว่าจะส่งยาได้ทั้งหมดภายในวันที่ 24 ต.ค. 2566  ในส่วนของยาที่มีการสั่งเข้ามาเมื่อต้นเดือนต.ค. 2566 ก็สามารถทยอยส่งเร่งด่วนได้ตามที่องค์การฯวางแผนไว้เช่นกัน

 

    “องค์การเภสัชกรรม มีวัตถุดิบในการผลิตยา Oseltamivir เหลืออยู่ทั้งหมด 2,032 กิโลกรัม จะสามารถผลิตยา Oseltamivir ทั้ง 3 ขนาด รวมกันได้ถึง 24,561,000 แคปซูล ซึ่งเพียงพอกับสถานการณ์การระบาดไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้น” ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว

 

 

สำหรับยา โอเซลทามิเวียร์ จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ สามารถใช้เฉพาะสถานพยาบาลเท่านั้น ผู้ป่วยควรได้รับการวินิจฉัยและตรวจรักษาจากแพทย์เพื่อรับยา โอเซลทามิเวียร์ตามแพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาด้วยตนเองตามร้านขายยาหรือช่องทางอื่น ๆ เพราะอาจได้รับยาที่ไม่ปลอดภัย 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ