ชีวิตดีสังคมดี

'หมอชลน่าน' เดินเครื่องแก้หมอขาดแคลน ดัน บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

'หมอชลน่าน' เดินเครื่องแก้หมอขาดแคลนเป็นนโยบายเบอร์ต้น พร้อมดัน บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ทั่วประเทศ ทำหลักประกันสุขภาพให้ถ้วนหน้าแบบแท้จริง

จะเรียกว่าเป็นช่วงที่ระบบสาธารณสุขของไทยกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้อยู่ในร่องในรอยมากขึ้นก็คงจะไม่แปลก เพราะที่ผ่านมาดูเหมือนว่ารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขจะผิดฝาผิดคนไปบ้าง แต่หลังจากที่ประเทศไทยผ่านการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเหารเขย่าเจ้ากระทรวงกันหลายรบอจนท้ายที่สุด กระทรวงสาธารสุขก็ได้รัฐบาลเป็นคุณหมอ อย่าง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หรือ "หมอชลน่าน" เข้ามานั่งบริหารและขับเคลื่อนงานด้านระบบสุขภาพของคนไทย

 

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

แน่นอนว่าหลังจากที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณประชาชนก็ได้แต่ฝากความหวังว่าคนเป็นหมอจะเข้าใจในระบบสาธารณสุข คิดและทำเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีประสิทธิภาพ ไม่เหลื่อมล้ำ วันนี้ คมชัดลึก ด้มีโอกาสสัมภาษณ์ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.)  หรือ "หมอชลน่าน" ถึงแนวทาง นโยบาย การสร้างระบบสาธารณสุขที่ดีผ่านหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมทั้งการแก้ปัญหาขาดแคลนหมอ ที่เป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนานและไม่สามารถแก้ไขได้จนท้ายที่สุดทำให้หมอหลายคนต้องตัดสินลาวงการแพทย์ไป

เริ่มต้นบทสัมภาษณ์ "หมอชลน่าน" ในประเด็นการวางระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้แก่คนไทย โดย นพ.ชลน่าน ได้อธิบายถึงแนวทาง และนโยบายเอาไว้ว่า  หลังจากนั้นมีการเลือกตั้งก็รัฐบาลมันก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลนั้นๆ  แต่สิ่งหนึ่งที่มันคงอยู่ก็คือเรื่องของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นนโยบายที่ลดความเหลื่อมล้ำ ลดค่าใช้จ่าย  ขณะนี้มีการวิเคราะห์ว่าประชากรในโลก 1 พันล้านคนกำลังเผชิญกับสภาวะวิกฤต และค่าใช้จ่ายในการเจ็บป่วยที่จะทำให้ล้มละลาย  รัฐบาลช่วงนั้นก็พยายามขับเคลื่อนให้เป็นไปตามวาระของโลก

 

 

สิ่งหนึ่งที่เราเห็นคือ 20 ปีที่ผ่านมา การวางระบบระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ พอมีโอกาสเข้ามาต้องขับเคลื่อนตามนโยบาย ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค คือการเข้ามาดูแลสุขภาพให้ทั่วถึงเท่าเทียมได้มาตรฐาน

 

 

หลายคนอาจจะยังส้งสัยว่าการยกระดับ สธ. จะทำอย่างไร นพ.ชลน่าน กล่าวว่า  แน่นอนว่ายกระดับคือต้องการให้ปัจเจกชนมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดี และจิตวิญญาณ สุขภาพทางปัญหา มิติเชิงสังคมต้องดีด้วย  เพราะด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ  เหล่านี้ เป็นตัวกำหนดด้านสุขภาพทั้งสิ้น เราต้องตอบโจทย์ด้วยการยกระดับในทุกๆ มิติของการบริการ ยกระดับป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อที่กลายเป็นโรคที่ทำให้ป่วยมากกว่าโรคติดต่อ 80% ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง ความดัน เบาหวาน  หัวใจ จากพฤติกรรมของคนทั่วไป

 

 

หนึ่งในนั้นคือการรักษาพยาบาลแบบ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ซึ่งมีการวางโครงสร้างระดับปฐมภูมิ ให้ประชาชนเข้าถึงได้สะดวก จุดไหนยังไม่มีแพทย์สธ.ก็ทำแพทย์ทางไกล มอบหมายให้ อสม. เข้าไปช่วย นอกจากนี้ยังเน้นสุดๆ ด้านการสืบสวน ป้องกัน การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งเราเริ่มประกาศนำร่องไปแล้วอย่างไรก็ตามมีการตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ทั่วประเทศ  โดยจะมีการต้องวางข้อมูลด้านสุขภาพ มีมติที่เชื่อมโยงกันผ่านข้อมูลกลาง ต่อไปการรักษาข้ามเจตข้ามโรงพยาบาลไม่ต้องมีใบส่งตัวแล้ว ใช้แค่บัตรประชาชนเพียง 1 ใบ ก็จะสามารถรักษาได้ทันที

 

 

 

รมว.สธ. อธิบายต่อไปถึงการยกระดับสิทธิประโยชน์บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค  ว่า จะต้องทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิประโยชน์อย่างเท่าเทียมเป็นธรรม แต่สิ่งที่หลายคนยังสงสัยและแคลงใจอยู่คือ การดูแลผู้ป่วยในแต่ละกองทุนที่อาจจะยังไม่มีความเสมอภาคกันจะทำอย่างนั้น ตนต้องแจงว่า การดูแลคนไทย 67 ล้านคน มีกองทุนหลัก 3 กองทุน หลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการ ดังนั้นต่อไปนี้จะแก้ไขปัญหาโดยมีคณะกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพแห่งชาติ มาพูดคุยถึงการจัดบริการของแต่กระทรวงเป็นนโยบายเดียวกันทั้งหมด

 

 

 

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

 

ท้ายที่สุดหากระบบบริการสุขภาพดีแต่ยังขาดแคลนบุคคลากร ก็อาจจะทำให้ระบบสาธารณสุขไม่สามารถเดินหน้า 100% ดั้งนั้นการแก้ปัญหาการขาดแคลนหมอจึงเป็นสิ่งแรกที่ รมว.สธ. คนล่าสุดอย่าง นพ.ชลน่าน จะต้องดำเนินการแบบทันที

 

 

โดย นพ.ชลน่าน ได้บอกเอาไว้ว่า การแก้ปัญหาหมอขาดแคลน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เป็นนโยบาย 1ใน13 เรื่อง เบื้องต้นเราพบปัญหาคนที่อยู่ในระบบ ลาออกอยู่ไม่ได้ เหตุผลที่อยู่ไม่ได้ ค่าตอบแทน สวัสดิภาพ สวัสดิการความเป็นภาระหน้าที่ สิทธิประโยชน์ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน  ที่ผ่านเราพบว่าภาระงานที่มากเกินไปโดยเฉพาะแพทย์ในต่างจังหวัดทำให้หลายคนถอดใจ นอกจากนี้ยังต้องดูแลไปถึง เรื่องครอบครัว  เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเราน่าจะมีหน่วยงานที่เข้าดูแลบุคลากร ทั้งนี้มีการตั้งเป้าไว้ว่ามีจะมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ ผ่านการทำงานของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของกระทรวง เหมือน กค. กห. ปัจจุบันเราอยู่กับข้าราชการพลเรือน ถ้าแยกออกมาได้จะได้มีการสอดคล้องกับภาระงานของบุคคลากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น

logoline