ชีวิตดีสังคมดี

6 แนวทางปฎิบัติ ทำให้ 'ผู้สูงวัย' มี 'ความสุข'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สังคม 'ผู้สูงวัย' ต้องปฏิบัติตาม Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต ช่วยให้คนวัยเกษียณมี 'สุขภาพ' ที่ดี และ 'มีความสุข'

ขณะที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด  ในปี 2574  นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย แนะนำให้ผู้ที่จะเกษียณอายุและผู้สูงวัย สร้างแรงบันดาลใจในการจัดการสุขภาพตนเองตามแนวทาง Lifestyle Medicine หรือเวชศาสตร์วิถีชีวิต 6 องค์แนวทาง เพื่อมีขีวิตอย่างมีความสุข

  • การกิน เน้นกินข้าวกล้อง และปลาเป็นหลัก กินตับ กินผัก ผลไม้เป็นประจำ ลด หวาน มัน เค็ม ให้เป็นนิสัยและไม่ลืมดื่มน้ำ ดื่มนมให้เพียงพอ กินอาหารสดใหม่สะอาด ปลอดภัย และกินอย่างมีความสุข

 

  • มีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในความเหนื่อยระดับปานกลางสะสมให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน ควบคู่กับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ การเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ การทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม ผู้สูงวัยควรอบอุ่นร่างกาย และคลายอุ่นร่างกาย ก่อนและหลังการออกกำลังกาย ประมาณ 5-10 นาที

 

  • การนอนหลับมีความสำคัญต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุ จะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมากหากพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • การควบคุมความเครียด และจัดการด้านอารมณ์ ในสังคมยุคปัจจุบันเราต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อาจทำให้เกิดสภาวะเครียดและวิตกกังวล ซึ่งสิ่งที่ผู้สูงวัยต้องทำให้ได้ คือ การมีสติรับมือกับความเครียด และความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น

 

  • หลีกเลี่ยงสารหรือวัตถุที่เป็นอันตราย เพราะในชีวิตประจำวันของเรามีสารเสพติดที่ทำลายสุขภาพปริมาณเล็กน้อย เช่น บุหรี่ สุรา เป้นต้น

 

  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หรือการเชื่อมโยงกับสังคม นับเป็นหัวใจสำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุบางคนไม่มีทักษะการเรียนรู้ในสังคม แต่บางคนมีการปรับตัวได้ดี โดยสามารถทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า ด้วยการเป็นจิตอาสา

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ