ชีวิตดีสังคมดี

'กิ้งกือ' มีไซยาไนด์ สัมผัสโดยตรงผิวหนังไหม้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หน้าฝนระวัง "กิ้งกือ" ไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัดแต่มีพิษ "ไซยาไนด์" ฆ่ามด ฆ่าสัตว์เล็กๆ ได้ ถ้าส้มผัสผิวคนจะระคายเคือง ผิวไหม้ได้

"นพ.ไพโรจน์ สุรัตนวนิช" รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ความรู้เรื่องกิ้งกือว่า ในช่วงฤดูฝน เป็นช่วงที่อาจจะพบกิ้งกือได้บ่อย "กิ้งกือ" ไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่ถ้าสัมผัสถูกตัว อาจจะสัมผัสสารพิษของกิ้งกือซึ่งจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว สารพิษเหล่านี้มีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เล็กๆ ประเภทมด หรือแมลง แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังของมนุษย์ได้เมื่อสัมผัสโดยตรง 

'กิ้งกือ' มีไซยาไนด์  สัมผัสโดยตรงผิวหนังไหม้

 

 

พิษของ "กิ้งกือ" มีสารกลุ่มไฮโดนเจนไซยาไนด์ หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดทันที สามารถทายาแก้อักเสบ และให้การรักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปอาการมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการรุนแรงให้รีบมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

ทั้งนี้ พิษของ "กิ้งกือ" จะออกมาตามลำตัวทั้ง 2 ข้าง หากพบเห็นต้องใช้ไม้เขี่ยให้กิ้งกือหดลำตัวก่อน แล้วค่อยนำไปทิ้ง ระหว่างที่กิ้งกือหดตัวสามารถสัมผัสได้ และพยายามเก็บกวาดใบไม้ที่หล่นตามพื้น เพราะมันคือแหล่งอาหารของกิ้งกือ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ