ชีวิตดีสังคมดี

โลกร้อนทำ 'เอเวอเรสต์' ปีนยากขึ้น พรากชีวิตนักปีนเขามากเป็นประวัติการณ์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ภาวะโลกร้อน และ Climate Change ทำ 'เอเวอเรสต์' สะเทือน ปีนเขายากขึ้นเพราะธารน้ำแข็งละลาย พรากชีวิตนักปีนเขาเยอะเป็นประวัติการณ์

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้นต่อเนื่อง ไม่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมบริเวณด้านล่างเท่านั้น แต่กลับสร้างผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมการปีนเขาในเส้นทาง "เอเวอเรสต์" เทือกเขาหิมาลัย ให้มีความยาก และมีความเสี่ยงอันตรายมากยิ่งขึ้น 

 

 

 

โดย ผู้เชี่ยวชาญ ระบุ ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้การปีนเขาในบนเส้นทางเทือกเขาหิมาลัยมีความท้าท้ายมากยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่ายอดเขา เอเวอเรสต์ เป็นหนึ่งในเส้นทางปีนเขาที่ยากลำบากมากที่สุด แต่ปัจจุบันภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้นทำให้การปีนเขาในเส้นทางดังกล่าวกลับยากปและท้าทายมากขึ้นกว่าเดิม

 

 

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว ABC ว่า ในการปีนเขานักปีนเขาจะต้องพึ่งพาสภาพอากาศในการคาดเดาระยะเวลาของการเดินทาง แต่ด้วยอุณภูมิที่ร้อนขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยละลาย ซึ่งทำให้การปีนเขาไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาการปีนเขาได้เหมือนที่มา และคาดการณ์ทำได้ยากมากยิ่งขึ้น

 

 

 

ในปี 2023 มีนักปีนเขาที่เสียชีวิตระหว่างไปสู่ยอดเขา "เอเวอเรสต์" มากเป็นประวัติการณ์ เพราะการเปลี่ยนแแปลงสภาพอากาศที่แปรปรวน แม้ว่าว่าการเนปาลจะกล่าวตำหนิการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศแต่ผู้เชี่ยวชาญกับบอกว่า ภาวะโลกร้อนไม่มีส่วนรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการปีนเขาเอเวอเรสต์

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่กการปีนเขาในเทือกเขาฮินดูกูช ซึ่งเป็นเทือกเขาทางตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัย ดังนี้

 

1.ภูมิประเทศเป็นธารน้ำแข็ง และภูเขามีความเสถียรภาพน้อย

 

ผลการวิจัยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยกำลังละลายและหายไปจำนวนมาก โดย รศ. โจเซฟ ซี ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นบริติชโคลัมเบีย ให้ข้อมูลกับสำนักข่าว ABC ว่าในปี 2019 พบว่า  การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศกำลังลุกลามและทำลายเทือกเขาหิมาลัย จนส่งผลให้ธารน้ำแข็งเกิดการหดตัว และชั้นดินที่เยือกแข็งถาวรละลาย

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ยังบอกว่า เส้นทางที่นักปีนเขาให้เป็นเส้นทางเพื่อไต่ขึ้นสู่ยอดเขานั้นขึ้นอยู่กับความเสถียรภาพของธารน้ำแข็ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกคูมบู ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเบสแคมป์เอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นจุดที่ 1 สำหรับการเปิดขึ้นไปในเส้นทาง เอเวอเรสต์  อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้เจาะเข้าไปในธานน้ำแข็งบริเวณคูมบู พบว่ามันเข้าสู่ที่จะหลอมเหลวมากแล้ว แม้ว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นอีกเพียงเล็กน้อยแต่ธารน้ำแข็งบริเวณคูมบูก็พร้อมที่ละลายอย่างรวดเร็วในระยะอีกไม่นาน

 

 

"น้ำตกคูมบู เป็นเส้นทางที่ยากอยู่แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงและไม่เสถียรบ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงทางภวพอากาศทำให้ความน่าเชื่อถือในเส้นทางลดลงอย่างมาก" ผู้เชี่ยวชาญกล่าว

 

 

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศยังก่อให้เกิดความเสี่ยงอื่นๆ ที่รุนแรงตามมากด้วยไม่ว่าจะเป็นเหตุการณหินถล่ม  เพราะส่วนใหญ่จะถูกยึดด้วยธารน้ำแข็ง แต่ในกรณีที่น้ำแข็งเกิดการละลายก็จะส่งผลให้การยึดเกาะของหินลดลงโดยเฉพาะบริเวณเทือกเขาแอลป์ และพื้นที่ที่เกิดการละลายตัวของธารน้ำแข็ง ทั้งนี้นักปีนเขาอาจจะมีความมั่นใจมากขึ้นในการผ่านความอันตรายเหล่านี้ ในช่วงก่อนที่ภูมิภาคนี้อากาศจะอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว  การคาดการณ์การถล่มของหิมะ และหินจากนี้จะทำได้ยากยิ่งขึ้น และจะเห็นถึงความลาดเอียงของพื้นที่มากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าแน่นอนว่าพื้นที่แห่งนี้จะยิ่งอันตรายมากยิ่งขึ้น

 

 

2.จากนี้สภาพอากาศบนเทือกเขาเอเวอร์เรสจะเริ่มคาดเดาได้ยากมากขึ้น

 

แน่นอนว่าสภาพอากาศบริเวณ "เอเวอเรสต์" จะเกิดความไม่แน่นอย่างมาก การวางแผนล่วงหน้าเพียง 2-3 ของนักปีนเขาอาจจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป โดย คริส โทเมอร์ นักอุตุนิยมวิทยาและนักพยากรณ์อากาศในโคโลราโด และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เอเวอเรส ต์ ระบุว่า ปกติในช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีความเร็วผ่านเข้ามาในช่องเขาประมาณ 30 กม./ ชม. โดยจะเกิดขึ้นช่วงกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป  ช่องลมมีแนวโน้มที่จะปรากฏขึ้นในฤดูมรสุมโดยจะมีผลทำให้ลมบริเวณนั้นลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการปีนเขา เพราะโดยปกติแล้วหากมีลมที่ความเร็วเกิน 30 กม./ ชม.จะไม่เหมาะสมกับการปีนเขา และนักปีนเขาเลือกที่จะไม่ปีนในช่วงเวลาดังกล่าวเพราะมีความเสี่ยงและอันตรายจนเกินไป แต่สิ่งที่เราพบหลังจากเกิดภาวะโลกร้อนคือ สภาพอากาศคาดเดาได้ยากมากขึ้นและเอาแน่เอานอนไม่ได้

 

 

ในปี 2019 มีเพียง 3 วันเท่านั้น ต่างจากปกติที่มี 11 ถึง 14 วัน ที่ลมเหมาะสมสำหรับการปีนเขาได้ ตามที่ อาร์เน็ตกล่าวไว้ แต่ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022 เกือบทั้งเดือนมีเงื่อนไขลมที่เอื้อต่อการปีนเขา เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้

"นั่นแสดงให้เห็นถึงขนาดของสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น"  ยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรในอนาคตเมื่อพูดถึงตำแหน่งของจีตสตรีมและเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของลม แม้ทำนายระยะยาวสำหรับหน้าต่างเวลาที่เหมาะสมอาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต การทำนายระยะสั้นจะยังคงแม่นยำ

 

 

 

ควินซีย์ นักวิจัยและผุ้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขาเอเวอเรสต์ ระบุว่า เทือกเขาหิมาลัยเป็นตัวแปรที่สำคัญสำหรับการบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ลดลงอย่าง ระดับของกายวิภาคของธานน้ำแข็งจะยังคงลดลง และถอนกลับอย่างมหันต์

 

 

 

"นี่คือสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ชัดเจนมาก และโมเดลที่เราใช้เพื่อศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นในอนาคตทำนายสิ่งเดียวกันเช่นการลดลงขนาดของธารน้ำแข็ง"

 

 

ควินซีย์ นักวิจัยและผุ้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขาเอเวอเรสต์ กล่าวว่า สำหรับการศึกษาความเปลี่ยนแปลงมานานหลายปี แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่เทือกเขาหิมาลัยเกิดที่ราบมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ที่มีน้ำอยู่บนน้ำแข็งที่ยังไม่ละลาย  ทั้งนี้เป็นเรื่องยากมากที่เราจะไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าสภาพอากาศบนเบือกเขาหิมาลัยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

 

 

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอาจจะมีผลต่อความอันตรายและการเสียชีวิตของนักปีนเขาบ้าง โดยที่พบว่าพบว่ามีนักปีนเขา 17 เสียชชีวิตระหวางปีนเขา "เอเวอเรสต์" นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควรหากเปรียบเทียบกับอัตราการเสียชีวิตจากปกติที่เกิดขึ้นประมาณ 4-6 คนต่อปี

 

 

ในขณะที่รัฐบาลเนปาล กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตใน "เอเวอเรสต์" ป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักปีนที่ไม่มีประสบการณ์หรือไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมหรือไม่มีความรู้ความสามารถที่เพียงพอ น่าจะเป็นต้นเหตุของส่วนใหญ่ของการเสียชีวิต  ขณะที่ 11 จาก 17 ที่เสียชีวิตนั้นบางรายถูกกล่าวว่าเป็นการเสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ เพราะแน่นอนว่าการปีนเขาเอเวอร์เรตมีกจะมีปริมาณอ็อกซิเจนต่ำ รวมทั้งความพยายามที่ร่างกายต้องทำเพื่อปีนในระดับสูงนั้นเป็นการทำให้ร่างกายเครียด ตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการปีนเขาเอเวอเรสต์ กล่าว

 

 

 

 

ที่มา: ACB NEWS:  Climate change is making climbing in the Himalayas more challenging

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ