ชีวิตดีสังคมดี

ส่อง 'พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ฉบับแรกของไทย ควบคุมอะไรบ้าง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ส่อง 'พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ฉบับแรกของไทย ก่อนแล้วเสร็จประกศาศใช้ปี 2567 ควบคุมใคร และดูแลอะไรเกี่ยวกับโลกร้อนบ้าง

การก้าวเข้าสู่สถานะความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065 กลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก 

 

แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเอาจริงเอาจัง กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศคือการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิ อากาศที่มีความเป็นเอกเทศน์และแยกออกมาเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ และล่าสุดประเทศไทยกำลังและล่าสุดประเทศไทยกำลังจะมีกฎหมายโลกร้อน หรือ "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เป็นฉบับแรกโดยเนื้อหาสาระในกฎหมายคือการควบคุมไม่ให้เกิดกิจกรรมหรือการทำธุรกิจที่สร้างมลภาวะและปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณที่มาก

โดยนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าในการร่าง "พ.ร. บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน ฉบับแรกของประเทศไทยภายหลังการจัดตั้ง กรมโลกร้อน ว่า ที่ผ่านมามีการศึกษายกร่าง "พ.ร. บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่ต้นปี ผ่านมาและได้หรือกับภาครัฐ กฤฎีกา ไปก่อน เนื่องจากเป็น พ.ร.บ.ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการเงิรนด้วย กระทบเป็นวงกว้าง ภาษี การเปิดเผยข้อมูล มาตราต่างๆที่ปรากฎ มีเชิงบริหารไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจกับคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีรายละเอียดที่ต้องทำยุทธศาสตร์แผนงาน การลดก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบ ทางการเงิน 

สำหรับรายละเอียดในร่าง "พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"  รายละเอียดประมาณ 10 กว่ามาตรา เรื่องสำคัญคือเรื่องมาตรการ ภาษีคาร์บอน ตอนนี้จะต้องเก็บข้อมูลก่อน  เบื้องต้นนิติบุคคล และภาครัฐจะต้องรายงานการปล่อยคาร์บอน 

 

หากถามต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะครอบคลุมและบังคับใช้กับใครบ้าง และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 

นายปวิช ระบุว่า กฎหมายจะครอบคลุมไปหมด โดยเฉพาะภาครัฐจะต้องจัดทำรายงาน เพราะแผนลดก๊าซเรือนกระจก จะครอบคลุมภาคการเกษตรโดย กระทบกับภาคเอกชนโดยตรง 

 

สำหรับการออกกฏหมายเกี่ยวกับการลดผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมนั้นอาจจะมีผลต่อผู้ประกอบการรายเล็กอยู่ ผู้ประกอบการรายใหญ่ค่อนข้างพร้อม  แต่เอสเอ็มอียังไม่พร้อมเท่าไหร่ เบื้องต้นจะทำเกี่ยวกับนิติบุคคลก่อน 

 

 

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของร่าง "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ของประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้ว  50% โดยการร่างกฎหมายได้ผ่าน ผู้เชี่ยวชาญและอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งจะต้องดำเนินการ ผู้เชี่ยวชาญและอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งจะต้องดำเนินการในขั้นตอน

 

“พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่มีความกว้างขวางมากกว่า พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฯ โดยเฉพาะในเรื่องของการเงิน โดยเฉพาะ Emission Screem ที่เกินมาจะต้องชดเชยเป็นเงิน และนำไปสนับสนุนรายเล็ก ในการปรับตัวรับมือ และเตรียมความพร้อมทำข้อมูลด้านคาร์บอน” นายปวิช ระบุ

 

รายละเอียดหลักๆใน "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" นั้นจะเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซ และการปรับตัว รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการทางการเงินเพื่อนำเงินที่ได้จากการที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายหรือเงินค่าปรับไปช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้มีความสามารถในการจัดทำรายงานคาร์บอน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ว่าจะสามารถดำเนินการว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ซึ่งในข้อดังกล่าวยังคงมีรายละเอียดค่อนข้างมากที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ

 

 

อย่างไรก็ตามหาก "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ออกมากรมฯ จะต้องเป็นผู้รักษากฎหมายเอง และบังคับใช้เองด้วย เพราะเราเป็นทั้งคนอำนวยความสะดวก ผู้บังคับใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือ กฎหมายเป็นเสมือนเครื่องมือกลไกที่จะบูรณาการภาคเอกชน ภาครัฐเดินตามแผนที่กำหนด  

 

หลังจากนี้จะต้องประชุมเพื่อนำเข้าอนุกรรมการภานใต้กรรมนโยบาย เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจจะต้องมีการปรึกษาในขั้นกฤฎีกา าดว่าต้นปีจะเสนอ ครม.ได้ก่อน  ทั้งนี้หากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็รแล้วเกิดความไม่เป็นธรรมกับภาคเอกชน และสรางภาระกับประชาชนหรือไม่ เช่น เก็บแล้วราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย 

 

 

ท้ายที่สุดจะต้องมีการสื่อสารให้แก่ประชาชนได้รับทราบ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหม่การสร้างความรู้ความเข้าใจก็สร้างความเข้มข้น ทุกวันนี้ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะยังเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้นเพราะเรื่องนี้กลายเป็นเทรนด์โลกไปแล้ว 

 

 

 

‘แม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะยังไม่ออกแต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจการให้ความรู้หรือการควบคุมการปล่อยการปล่อย CO2 ขนาดกันไปกับแผน Road map  โดยมีศูนย์ประสานไปทั่วประเทศ มีศูนย์ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทุกที่  ที่จะต้องสร้างความเข้มแข็ง ดังนั้นต้องทำคู่ขนาดกันไป แม้ว่าจะยังไม่มีกฎหมาย’ รองอธิบดี กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวทิ้งท้าย 

  

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ