ประชาสัมพันธ์

"สปสช"จัด"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

"สปสช"จัด"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

12 ก.ค. 2564

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง ยอดผู้ติดเชื้อใหม่สูงเกินหลักครึ่งหมื่นรายต่อวัน ย่อมส่งผลต่อบริการโรงพยาบาล จนเกินศักยภาพจำนวนเตียงที่จำกัด และบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล เฉพาะข้อมูลสายด่วน สปสช. 1330 ล่าสุดมีผู้ป่วยรอเตียงสะสมกว่า 2,000 คน

จากข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 100 คน 80% เป็นผู้ป่วยมีอาการไม่มากเป็นกลุ่มสีเขียว 15% มีอาการป่วยเป็นกลุ่มสีเหลือง และร้อยละ 5 มีอาการหนักเป็นกลุ่มสีแดง นำมาสู่การจัดระบบบริการใหม่ ทั้งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน (Home Isolation) และการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน (Community Isolation) เพื่อทำให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือและสีแดงเข้าถึงบริการที่โรงพยาบาลโดยเร็ว

\"สปสช\"จัด\"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน\"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

 

 

 

 

 

ระบบดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่บ้าน กรมการแพทย์ มีมาตรการชัดเจน โดยผู้ป่วยต้องลงทะเบียนกับ รพ. เพื่อดูแลและติดตามโดยตรง เน้นผู้ป่วยที่มีศักยภาพกักตัวที่บ้านได้ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่รอเตียงและไม่มีศักยภาพกักตัวที่บ้าน การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในชุมชน (Community Isolation) จึงเป็นทางออก โดย 23 ชุมชน เชื่อมโยงระบบบริการกับโรงพยาบาลปิยะเวช ความร่วมมือองค์กรเครือข่ายภาคประชาชน และการสนับสนุนของ สปสช. นำร่อง Community Isolation ที่เป็นต้นแบบ

 

“พญ.นิตยา ภานุภาค” ผู้อำนวยการบริหารสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเอชไอวี (IHRI)เล่าที่มาว่า เดือน เม.ย. ที่ผ่านมา เรามีการจัดตั้งทีม Community Support Workforce โดยทีมงานจาก IHRI และเครือข่ายภาคประชาชน เช่น มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทำหน้าที่รับเคสโควิดในชุมชน ช่วยประเมินเบื้องต้น ประสานหาที่ตรวจคัดกรองและหาเตียง เห็นแนวโน้มจำนวนเคสที่เพิ่มมากขึ้น รพ. ไม่น่ารับไหว เราจึงทำระบบดูแลผู้ป่วยโดยชุมชนด้วยกันเอง และสำรองเตียงใน รพ. ให้ผู้ป่วยอาการปานกลางและหนัก

\"สปสช\"จัด\"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน\"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

 

ขณะเดียวกัน ได้ประสานชุมชนที่มีโควิดระบาดเพื่อขยายแนวทาง โดยอบรมแกนนำชุมชน 23 แห่ง เกี่ยวกับความรู้ดูแลผู้ป่วยโควิดเบื้องต้น พร้อมจัดตั้ง “ทีมคอมโควิดชุมชน” ทำงานร่วมกับ “ทีมคอมโควิดIHRI” ทันทีพบผู้ป่วยใหม่ จะมีการส่งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิ วัดออกซิเจนให้ พร้อมมอนิเตอร์วันละ 2 ครั้งระหว่างรอเตียง

 

 

 

 


 

การที่กรมการแพทย์เดินหน้าระบบ Home Isolation และ Community Isolation เป็นสิ่งที่ตรงกับแนวทางที่เราทำอยู่ ซึ่งมีชุมชนที่พร้อมทำอยู่แล้ว และตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งค่าอาหาร 3 มื้อ จะทำให้เกิดการดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชนอย่างเต็มที่ นำมาสู่การจัดระบบ Community Isolation ใน 23 ชุมชน โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลปิยะเวทในการดูแล

\"สปสช\"จัด\"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน\"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

 

 


“สิ่งที่ต้องเน้นย้ำ คือมาตรการการดูแลต้องไม่ต่ำกว่า Hospital เพื่อสร้างความมั่นใจต่อระบบให้กับประชาชน ทันทีที่ผู้ป่วยที่ดูแลในชุมชนขยับไปสีเหลือ ต้องได้รับการส่งต่อที่รวดเร็ว รวมถึงต้องมีการคัดกรองที่มั่นใจในระดับอาการผู้ป่วย เช่น การเอกซเรย์ปอด การวัดค่าออกซิเจน เป็นต้น”

 

“นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี” เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สปสช. พร้อมสนับสนุนการจัดระบบ Home Isolation และ Community Isolation อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโควิดได้รับการดูแลโดยเร็ว ซึ่งขณะนี้ยังมีผู้ป่วยที่รอคิวเตียงอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมานอกจากการเพิ่มรายการบริการเพื่อสนับสนุนแล้ว ยังได้เร่งประสานแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข กทม. และเครือข่ายประชาชน ในการขยายจัดตั้ง Community Isolation การประสานความร่วมมือกับฟู้ด เดลิเวอรี่ เพื่อส่งอาหารให้ผู้ป่วยโควิด

\"สปสช\"จัด\"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน\"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม

 


“สิ่งสำคัญที่สุด การทำระบบนี้ได้ต้องเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนด้วยกัน เท่าที่ทราบมีหลายชุมชนที่สนใจร่วมจัดตั้ง ส่วนงบประมาณในบัตรทองไม่เป็นปัญหา เรายินดีสนับสนุน เพื่อให้เกิดการใช้ทุกกลไกที่มีอยู่ขณะนี้ มาสนับสนุนให้ประเทศผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

 

\"สปสช\"จัด\"ระบบดูแลผู้ป่วยโควิดในชุมชน\"ทางออกวิกฤต รพ. เตียงเต็ม