ข่าว

หน้าเกษตร/พฤหัสฯ 11 ธ.ค.51/เลี้ยงด้วง - แล้ว

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หน้าเกษตร/พฤหัสฯ 11 ธ.ค.51/เลี้ยงด้วง - แล้ว เรื่อง - เพาะเลี้ยง"ด้วงงวงมะพร้าว" ราคาดี-ตลาดรองรับไม่อั้น โดย -ไพศาล รัตนะ รูป - (ใน agro dont delete) ช่วยคัทสักภาพเพื่อความเหมาะสมจ้ะ daung1 = ป้าละอองตรวจความเรียบร้อยด้วงที่เลี้ยง daung2 = เตรียมจำหน่าย daung3 = ท่อนพันธุ์ที่ใช้เพาะเลี้ยง ยุคสมัยที่สินค้าแทบทุกชนิดถีบราคาสูงขึ้น ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจการเงินกลับมีแนวโน้มดิ่งเหวอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้จ่ายเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมนูอาหารเเต่ละมื้อ ที่นอกจากมากด้วยคุณค่าแล้ว ยังต้องประหยัดเม็ดเงิน เหตุนี้ทำให้เมนู "แมลง" เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีโปรตีนสูง และหนึ่งในจำนวนนั้นคือ "ด้วงงวงมะพร้าว" เมนูเด็ดบนโต๊ะอาหารของหลายๆ ร้านขณะนี้ กระแสนิยมบริโภคตัวด้วงขยายวงกว้างแบบเงียบๆ กระทั่งปัจจุบันนี้ คณะวิจัยเรื่องการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงเศรษฐกิจ โดย ดร.สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ อาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พบว่ามีการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว (Rhynchophorus ferrugineus Oliver) ใน จ.สงขลา 31 แห่ง และใน จ.พัทลุง มีเกษตรกรเลี้ยง 20 แห่ง โดยเป็นการศึกษาระหว่างตุลาคม 2550-เมษายน 2551 ดร.สุปาณี หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า ในประเทศไทยพบด้วงนี้ได้บริเวณที่มีต้นมะพร้าว ต้นลาน ต้นตาล หรือต้นสาคู โดยด้วงมักวางไข่ตามรอยแผลที่เกิดขึ้นบนลำต้น หรือจากรอยเจาะที่เกิดจากด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinocerosLinn.) หรืออาจอาศัยและกินต้นที่ล้มตายแล้ว ดังนั้นการนำหนอนด้วงงวงมะพร้าวมาบริโภคนับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนไทย โดยใช้ประโยชน์ทดแทนจากสิ่งที่จะต้องทำลาย และไม่ต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช นักวิชาการรายนี้บอกว่า จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้วงงวงมะพร้าว พบว่างานวิจัยยังมีน้อยมาก ทำให้ขาดความรู้ที่จะนำมาใช้พัฒนาการเลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นนักวิชาการจึงควรหันมาให้ความสนใจศึกษาการพัฒนาสายพันธุ์ การขยายพันธุ์ แหล่งอาหารใหม่ คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อนำมาใช้สนับสนุนการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศต่อไป ป้าละออง นิ่มเนียม วัย 60 ปีเศษ เกษตรกรหมู่ 3 ต.ระวะ อ.ระโนด จ.สงขลา ที่หันมาเลี้ยงด้วงชนิดนี้นานกว่า 4 ปี บอกว่า เลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในสวนผสมประมาณ 300 ท่อน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้วัน 4-5 กิโลกรัม โดยมีพ่อค้าจากร้านอาหาร และพ่อค้าในท้องตลาดมารับซื้อถึงที่ สนนราคากิโลกรัมละ 150 บาท ส่วนราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 200-300 บาท ป้าละอองระบุว่า การเลี้ยงด้วงทั้งของสงขลาและพัทลุงจะคล้ายกัน คือจะนำท่อนไม้ตั้งเรียงเป็นแถวคู่ ปิดทับด้านบนด้วยพดมะพร้าวที่แช่น้ำ ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 2-5 ตัวลงบนพดมะพร้าว นำฝาปิดที่เป็นแผ่นไม้ หรือแผ่นคอนกรีตมาวางทับบนพดมะพร้าว รดน้ำวันละครั้ง ในช่วงเดือนแรก ต่อมารดน้ำ 3-4 วันครั้ง หลังจากหนึ่งเดือนแรกก็สามารถเก็บหนอนด้วงได้ทุกวัน จากนั้นนำหนอนด้วงที่เก็บได้ใส่ในภาชนะที่มีพดมะพร้าวห่อหุ้ม หรือใส่ถุงเก็บในที่มีอุณหภูมิต่ำหรือแช่ตู้เย็น อย่างไรก็ตาม ทั้งสองจังหวัดประสบภาวะขาดแคลนท่อนไม้ หรือท่อนอาหารเหมือนกัน จึงควรส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ต้นลานและต้นสาคูอย่างเร่งด่วน ผู้เลี้ยงควรรวมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ จัดหาท่อนอาหาร และกำหนดราคาขายที่แน่นอน "กำลังเป็นที่นิยมมาก ร้านอาหารจองสินค้าล่วงหน้าหลายราย จนบางช่วงเราผลิตให้ไม่ทัน ขณะที่แนวโน้มตลาดผู้บริโภคเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น ไม่เพียงแค่คนไทย ต่างประเทศก็นิยมไม่น้อย ถือเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้งดงามเลยทีเดียว" ป้าละอองกล่าวทิ้งท้าย --------
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ