ข่าว

OK.ลีด/คณิต-วิทย์/11ธ.ค.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

OK.ลีด/คณิต-วิทย์/11ธ.ค. คณิต-วิทย์เด็กไทยรั้งอันดับ29-21 คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ-อ้างปัญหาขาดครู สสวท.เผยผลประเมินคณิต-วิทย์เด็กไทย รั้งอันดับ 29 และ 21 ชี้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ ขณะที่ ไต้หวัน-เกาหลีใต้มีคะแนนสูงทั้ง 2 วิชา แซงสิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น คาดเกิดจากปัญหาขาดครู น.ส.นารี วงศ์สีโรจน์กุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร รองผู้อำนวยการ สสวท. และ ดร.ปรีชาญ เดชศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. แถลงผลประเมินการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ในโครงการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร่วมกับนานาชาติ พ.ศ.2550 โดยดำเนินการประเมินผลนักเรียนระดับ ม.2 ใน 2 วิชาดังกล่าว จำนวน 5,412 คน จาก 150 โรงเรียน ระหว่าง พ.ศ. 2547-2551 มี 59 ประเทศ และ 8 รัฐเข้าร่วมประเมินทุก 4 ปี ดร.ปรีชาญ กล่าวว่า กลุ่มประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด 5 ประเทศ อยู่ในทวีปเอเชียทั้งหมดได้แก่ สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ส่วนประเทศไทยได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (500 คะแนน) และอยู่ในกลุ่มที่ 3 ของคะแนนรวม และผลประเมินทั้ง 2 วิชาของเด็กไทยมีคะแนนลดลงกว่าปี 2542 ซึ่งพบว่า โรงเรียนสาธิต มีคะแนนมากกว่าโรงเรียนเอกชน มากกว่าโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น (สศท.) และโรงเรียนกทม. และที่น้อยที่สุดคือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยโรงเรียนขนาดใหญ่มีคะแนนสูงที่สุด และโรงเรียนขนาดเล็กมีคะแนนต่ำสุด ซึ่งมีกว่า 4,000 แห่ง ดร.ปรีชาญ กล่าวต่อว่า ปัจจัยที่ทำให้ผลประเมินเด็กไทยลดลง คาดว่าเพราะปัญหาการขาดแคลนครู จากการเออร์ลี่รีไทร์ครูดีๆ ออกจากระบบ รวมถึงมีโรงเรียนมัธยมมากขึ้นทำให้ฐานที่นำมาประเมินกว้างคะแนนจึงลดลง "ข้อเสนอต้องเร่งพัฒนาครู และอำนาจการบริหารจัดการการศึกษาควรแยกออกจากการบริหารของรัฐบาล เพราะนโยบายการศึกษาจะได้มีแผนการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย เห็นได้ว่า ไต้หวันและเกาหลีใต้ ไต่ระดับได้คะแนนสูงทั้ง 2 วิชา แทนสิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น เพราะทั้ง 2 ประเทศมีเป้าหมายชัดเจน และพบว่าการเรียนภาษาแม่และภาษาที่สองให้ดี จะส่งผลต่อการเรียนทั้ง 2 วิชานี้ด้วย เพราะทำให้มีจินตนาการ สามารถแก้โจทย์เชิงประยุกต์ได้ ด้าน ดร.พรพรรณ กล่าวว่า ผลประเมินพบว่า เด็กไทยเรียนทั้ง 2 วิชา 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกานา แต่เมื่อเทียบจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปี ประเทศที่มีคะแนนประเมินสูง มีชั่วโมงเรียนต่อปีมากกว่า อาจเป็นเพราะหลักสูตรการศึกษาไทยมีกิจกรรมมาก และปิดเทอมนาน สำหรับผลประเมินวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศไทย ได้คะแนนเป็นอันดับที่ 29 ขณะที่ประเทศมาเลเซียอยู่ที่อันดับที่ 20 ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศไทยมีคะแนนเท่ากับประเทศมาเลเซีย อยู่ในอันดับที่ 21
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ