ข่าว

สัมภาษณ์พิเศษ 12 ธ.ค.OK

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สัมภาษณ์พิเศษ 12 ธ.ค.OK จิตสาธารณะทำเพื่อสังคม องค์การเภสัชกรรมยุคใหม่ 000000 "ผมบริหารองค์การเภสัชได้ 1 ปีเศษ คิดว่าได้เรียนรู้งานได้ระดับหนึ่งแล้ว จากนี้ไปจะพยายามปลูกฝังให้บุคลากรที่มีอยู่ประมาณ 2,300 คนให้มีจิตสาธารณะ ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรและทำกิจกรรมเพื่อสังคมให้มากที่สุด โดยเน้นให้ออกไปบำเพ็ญกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในวันหยุด เช่น เป็นอาสาสมัครช่วยงานในสถานพยาบาล หรือออกไปให้บริการเภสัชกรสัญจรในชุมชน ซึ่งในปีงบประมาณ 52 จะผลักดันเรื่องจิตสาธารณะให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น" นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) วัย 53 ปี ให้คำมั่น นพ.วิทิต ยืนยันว่าเขาจะพยายามนำรูปแบบงานจิตอาสา ที่เคยดำเนินการจนประสบผลสำเร็จเมื่อครั้งที่บริหาร รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และรูปแบบที่ได้ไปศึกษาดูงานที่มูลนิธิฉือจี้ ที่ไต้หวัน มาปรับใช้ที่องค์การเภสัชกรรม เช่น การเอาใจใส่เอื้ออาทรซึ่งกันและกันระหว่างพนักงาน ใครมีงานบุญ งานศพ งานมงคล ก็มีการลงขันให้ความช่วยเหลือ ในอนาคตจะตั้งเป็นสวัสดิการขึ้นมาดูแลพนักงาน ส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ได้ด้วย แต่ต้องเริ่มการมีจิตสาธารณะภายในองค์กรให้เป็นรูปธรรมเสียก่อน ที่จะขยายผลไปสู่องค์กรภายนอก "จิตอาสาง่ายๆ ที่ทำได้เลยก็คือการไปเป็นอาสาสมัครตามโรงพยาบาล ซึ่งเป็นนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่ส่งเสริมงานอาสาสมัครในสถานพยาบาล เพื่อช่วยลดภาระการดูแลคนไข้ช่วยแพทย์ พยาบาล ซึ่งบุคลากรขององค์การเภสัชกรรมทุกคนมีความรู้ความสามารถทำได้อยู่แล้ว และผมในฐานะผู้นำองค์กรก็ทำเป็นประจำ โดยทุกวันหยุด ที่ไม่ติดภารกิจงานราชการ จะไปช่วยวัดความดันให้แก่ผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ โดยจากนี้ไปจะพยายามทำเป็นตารางงานประจำทุกวันหยุด" ผอ.องค์การเภสัชกรรมกล่าว โดยกำหนดกิจกรรมเพื่อสังคมไว้ในยุทธศาสตร์การสื่อสารสาธารณะและซีเอสอาร์ (การทำประโยชน์เพื่อสังคม) เป็นแผนพัฒนาระบบสื่อสารสาธารณะ สร้างเครื่อข่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเชิงสังคมตามพันธกิจของซีเอสอาร์ โดยเฉพาะการให้ความรู้ความเข้าใจด้านยาและเวชภัณฑ์แก่ประชาชน ด้วยการสร้างสรรค์จิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมแก่บุคลากรขององค์กร ภารกิจหลักที่ นพ.วิทิต จะต้องพยายามทำให้เป็นจริงในฐานะที่เป็น ผอ.องค์การเภสัชกรรมก็คือ การสร้างความเป็นธรรมและการเข้าถึงยาของประชาชนให้มากที่สุด จึงได้พยายามจัดหายากำพร้าและปรับลดราคายาที่จำเป็นต่องานด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยลดผลิตภัณฑ์ยาต้านไวรัสเอดส์ลง 10% จำนวน 8 รายการ ยาเบาหวานลดลง 13-17% จำนวน 2 รายการ ยาโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลง 40% จำนวน 4 รายการ ยากลุ่มเพนิซิลินลดลง 7-20% จำนวน 3 รายการ และตั้งเป้าในปี 2552 จะปรับลดราคายารักษาโรคอีก 21 รายการ โดยลดลงประมาณ 10-50% คิดเป็นเงิน 150 ล้านบาท รวมทั้งการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา (ซีแอล) จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์ ได้แก่ ยา Efavirenz ชนิดเม็ดและแคปซูล ยา Lopinavir/Ritonavir 2.กลุ่มยารักษาโรคหัวใจ Clopidogrel และ 3.ยาฉีดรักษาโรคมะเร็ง Docetaxel ที่สำคัญต้องผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจำนวน 17 รายการ ประกอบด้วยกลุ่มยาต้านไวรัสเอดส์ 1 รายการ ได้แก่ Nevirapine Oral Suspension 10 mg/5ml กลุ่มยารักษาโรคทั่วไป 10 รายการ ได้แก่ 1.Hydrochlorothiazide 25 mg Tab. 2.Deferiprone 500 mg Cap.3.Clindamycin 150 mg Cap.4.Clindamycin 300 mg Cap. 5.Morphine Oral Solution 10 mg/5 ml 6.Omeprazole 20 mg Cap. 7.Levofloxacin 500 mg FCT 8.Glimepiride 2 mg Tab. 9.Glimepiride 3 mg Tab. 10.Simvastatin 80 mg Tab.กลุ่มTest Kit & Natural Product ได้แก่ 1.สารสกัดปัญจขันธ์ 2.GPO Meth Strip 3.สารสกัดเห็ดหลินจือ 4.สารสกัดพลูคาว 5.เห็ดหลินจือแคปซูล และ 6.ปัญจขันธ์แคปซูล นอกจากนี้ยังมีงานตามนโยบายที่ ผอ.องค์การเภสัชกรรมต้องผลักดันให้เป็นไปตามแผนคือ การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จำนวน 1,411.7 ล้านบาท ดำเนินการ 4 ปี กำลังการผลิต 2 ล้านโด๊สต่อปีและขยายได้ถึง 10 ล้านโด๊สต่อปี หากมีการระบาดใหญ่สามารถขยายได้ 60 ล้านโด๊สต่อปี รวมทั้งก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี มูลค่า 950 ล้านบาท ประกอบด้วยส่วนผลิตยา ได้แก่ ผงเคมีผสม ตอกเม็ด เคลือบยา การประกันคุณภาพ, คลังเก็บยาเม็ดที่ผลิตเสร็จแล้ว, พื้นที่เก็บวัตถุดิบผลิตยา และพื้นที่ซ่อมบำรุง มีกำลังการผลิตสูงถึง 1,700-2,000 ล้านเม็ดต่อปี ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดเม็ด แคปซูล และยาอื่น รวม 36 รายการ ผลิตได้ 1,735 ล้านเม็ดต่อปี และขยายกำลังการผลิตในกรณีทำงาน 2 กะ ได้ประมาณ 3,470 ล้านเม็ดต่อปี 0 หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ 0 รูปชื่อ vitit1-2 หารูปยาต่างๆ ประกอบให้ด้วย
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ