Lifestyle

สัมภาษณ์ /หน้า 4 อี 2

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สัมภาษณ์ /หน้า 4 อี 2 + อย่าฝากความหวังไว้แต่กับนักการเมือง + นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เปิดใจภายหลังลาออกจากตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม. และพรรคมีมติเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน ย้ำว่า งานของ กทม.นั้นต้องเน้นในเรื่องการมีส่วนร่วมและการให้บริการอย่างมีวิสัยทัศน์ และยืนยันว่า มีส่วนร่วมในการเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นตัวแทนพรรค การเลือกตั้งสมัยที่ 2 เสียงที่ได้มา 991,018 คะแนน มีทั้งที่เป็นฐานเสียงของพรรคและคะแนนนิยมส่วนตัว เลือกตั้งครั้งนี้พรรคมั่นใจแค่ไหนว่าประชาธิปัตย์จะรักษาเก้าอี้ไว้ได้ การตัดสินใจของประชาชนในแต่ละครั้งมันมีองค์ประกอบหลายเรื่องที่ต่างกัน บางทีก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบในเวลานั้น บางทีก็ขึ้นอยู่กับคู่แข่งที่ลงสมัครในเวลานั้น แต่ก่อนอื่น อยากเห็นประชาชนมาใช้สิทธิมากกว่าเดิม 5 ตุลาคม ถือว่ามาน้อย เทียบกับปี 2547 น้อย 54% ถ้ามามากกว่านี้จะเป็นการแสดงประชามติหรือเจตนารมณ์ในการเลือกคนที่จะมาเป็น ผู้ว่าฯ กทม. ขัดใจไหมที่ได้รับเลือกให้เข้าไปเป็น ผู้ว่าฯ กทม.สมัยที่ 2 มีเรื่องที่รับปากประชาชนไว้มากมาย แต่ไม่ได้เข้าไปทำงาน ช่วงที่ผมทำงาน โดยส่วนตัวพยายามวางระบบไว้ไม่ให้ยึดติดกับตัวบุคคลเป็นหลัก ซึ่งเข้าใจว่าในการทำงานในระบบการเมืองไทยบางทีค่อนข้างยึดติดตัวบุคคล เคยพูดเสมอกับเพื่อนข้าราชการและผู้บริหารด้วยกันเองว่า กทม.เองต้องมีการวางระบบที่ดี ที่สามารถมีกลไกที่ขับเคลื่อนมีระบบการตรวจสอบ มีระบบการรับเรื่องราว คนกรุงเทพฯ ต้องมองในหลักการว่า ในหลักการแล้วควรจะบริหารเมืองแบบไหน ที่จริงแล้วก็มีตัวอย่างในต่างประเทศที่เป็นเมืองที่เจริญแล้ว อย่างนี้จะเป็นประโยชน์ ผู้บริหารท้องถิ่นหรือระดับเมือง ระดับมหานครใหญ่ๆ ทั่วโลก ไม่ว่านิวยอร์ก ลอนดอน ปารีส ปักกิ่ง โตเกียว โซล ซิดนีย์ ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหลวงเมืองขนาดใหญ่ ผู้ว่าฯ หรือนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่จะมีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่ค่อนข้างครอบคลุมในปัญหาทุกข์สุขของคนในเมืองนั้นๆ การแก้ไขปัญหาการจราจรก็ดี การวางระบบผังเมือง การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม การดูแลในเรื่องของความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้คิดว่าคนกรุงเทพฯ น่าจะเป็นผู้ที่ช่วยกันผลักดันด้วยซ้ำไป อย่าไปฝากความหวังไว้แต่กับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว วาระที่ 2 ของการเป็น ผู้ว่าฯ กทม.ดูเหมือนให้ความสำคัญกับนโยบายการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมองว่าอาจเกิดได้ยาก ผมได้นำเสนอเรื่องนี้กับพรรคและเป็นนโยบายหลัก หรือยุทธศาสตร์หลักที่พรรคได้ผลักดันมาในระดับประเทศด้วย เพราะการทำงานใน กทม.ที่เป็นเมืองใหญ่ มีความซับซ้อนของปัญหาและมีประชากรที่มีความหลากหลาย 10 กว่าล้านคน ทั้งคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ และทั้งที่มาจากต่างจังหวัด มีชาวต่างประเทศ มีทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยวและมาลงทุนอยู่ในนี้ด้วย ฉะนั้น การทำงานที่จะยึดติดในกรอบราชการอย่างเดียวในแบบเดิมจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามความคาดหวังกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างรวดเร็ว คือประเด็นแรกที่ต้องทำ ประเด็นที่ 2 คือ จริงๆ แล้วมีการเคลื่อนไหวอยู่แล้วในภาคประชาสังคมก็มีอยู่ เพียงแต่ว่า ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน กับความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบยังน้อยอยู่ แล้วทัศนคติหรือมุมมองในกลุ่มคนที่ทำงานในภาคประชาสังคมก็อาจมีมุมมองกับ กทม.หรือพูดง่ายๆ กับส่วนราชการที่อาจจะรู้สึกว่าไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ฉะนั้น วิธีการจึงยังขาดพลัง ขาดความร่วมมืออย่างแท้จริง ก็จะเป็นมุมมองในเชิงของการวิพากษ์วิจารณ์ หรือแม้แต่การเสนอแนะบางครั้งก็ขาดความรู้ความเข้าใจหรือการตอบรับด้วยซ้ำไป ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าจะเป็นมิติใหม่ส่วนหนึ่งที่ได้นำเสนอไว้ในคราวที่แล้ว หรือแม้แต่นอกเหนือภาคประชาสังคม ก็จะมีส่วนของภาคเอกชน ซึ่งจะเห็นว่าภาคเอกชนในช่วงหลังมีแนวนโยบายที่ส่งเสริมสังคม ที่เรียกว่า Corporate Social Responsibility หรือ CSR มากขึ้น ถ้าเราดึงเรื่องเหล่านี้มาเชื่อมโยงกัน และมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนากรุงเทพฯ ผมคิดว่าตรงนี้จะเป็นกำลังที่สำคัญ ไม่เฉพาะในเรื่องของงบประมาณ ของเครือข่าย แต่ว่าในเรื่องของการที่จะเชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นระบบ วันที่ตัดสินใจลาออกมีคนมองทั้งบวกและลบ ด้านบวกบอกว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ ผมได้คุยกับทุกคน ทั้งในส่วนที่เป็นเพื่อนร่วมงานผู้บริหารในชุดที่แล้วที่ได้ทำงานร่วมกันว่าแต่ละท่านคิดอย่างไร สองได้ปรึกษากับเพื่อนสมาชิกพรรค ผู้บริหารพรรคทั้งในส่วนของท่านหัวหน้า เลขาธิการพรรค หรือแม้แต่ท่านผู้อาวุโสหลายท่าน ก็ให้คำแนะนำด้วยเหตุและผล แต่พูดตรงๆ ก็มองเป็น 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ อยากให้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ คือการยุติการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งก็มีผลดีในลักษณะที่ว่า หนึ่งเรื่องของการรักษาการทำงานก็ยังทำงานต่อเนื่องได้เลย ส่วนที่มองว่าควรจะลาออก จริงๆ การลาออกเราอาจจะไปพูดถึงการเมืองใหม่มากไป ที่จริงก็เป็นเรื่องของการแสดงความรับผิดชอบด้วย จริงๆ แล้วจะเป็นมุมนั้นมากกว่า แน่นอนว่าในที่สุดคนให้ความไว้วางใจทางพรรคหรือเลือกผมมา วันหนึ่งก็เกิดเหตุเรื่องการชี้มูลไป ป.ป.ช. ซึ่งแน่นอนว่า ผมเรียนยืนยันมาตลอดตั้งแต่ย้อนไปหลายปี ยืนยันว่าการที่ได้ทำลงไปมีเจตนาที่จะรักษาประโยชน์ให้ กทม. แต่ในสถานการณ์บ้านเมืองหรือการเมืองในปัจจุบันก็มีแรงกดดันเยอะว่า ทุกครั้งที่จะมีการชี้มูลขึ้นมา ถ้าไม่มีชื่อผมจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นการอุ้มกัน ช่วยเหลือกัน ผมคิดว่าก็มีการกดดันทางการเมืองในสถานการณ์วันนี้ เมื่อได้ฟังจากทุกฝ่ายแล้วก็คิดว่าเป็นแนวทางที่น่าจะเป็นผลดีที่สุด
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ