Lifestyle

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เยือนเมืองประสาทหิน ท่องถิ่นภูเขาไฟ ชมผ้าไหมงามบ้านจันรม

จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรีเลี้ยวขวาเข้า ทางหลวงหมายเลข 2 แยกขวา เข้าทางหลวงหมายเลข 224 และทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง รวมระยะทางประมาณ 410 กิโลเมตร

@ บุรีรัมย์

- ศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ในอ.เมืองบุรีรัมย์ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์อย่างชัดเจน เสาหลักเมืองบุรีรัมย์แห่งนี้มีปรากฏ อยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัดบุรีรัมย์

- สนามฟุตบอลไอ-โมบาย สเตเดียม สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ขนาดกว้างใหญ่มากสามารถจุได้ถึง 32,600 ที่นั่ง ร่วมเชียร์ฟุตบอล สมผัสความยิ่งใหญ่ของสนาม และของที่ระลึกทีมฟุตบอลในดวงใจ

- ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทหินเก่าแก่ศิลปะขอมโบราณอายุร่วมพันปี จากการรังสรรค์ด้วยภูมิปัญญาอันแยบยลของคนโบราณ ที่ถ่ายทอดความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กม. ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง)

- ปราสาทเมืองต่ำ เป็นศาสนสถานประจำเมืองที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานกันว่าสร้าง เพื่อถวายพระศิวะ ภายในบริเวณพบกับมีโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชุมชนโบราณที่ขุดพบ ตั้งอยู่ ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย ห่างจากปราสาทพนมรุ้งมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 8 กม.

- เขาอังคาร ชมร่องรอยภูเขาไฟยุคควอเทอร์นารีที่ดับสนิทแล้ว อายุราว 700,000 ปี ไหว้พระบนยอดเขาที่มีสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานสวยงามแปลกตา ที่สำคัญคือมีโบราณวัตถุ “ใบเสมาหินบะซอล์ท” สมัยทวาราวดี ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตั้งอยู่รอบอุโบสถ อยู่ตรงข้ามทางด้านทิศตะวันตกของเขาพนมรุ้งประมาณ 15 กม.จาก อ.ประโคนชัย ไปทางทิศตะวันตก ตามถนนสายโชคชัย-เดชอุดมจนถึงถนนเจริญสุข เส้นทางนี้สะดวกเหมาะสำหรับสัญจรในทุกฤดูกาล

- ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข ตั้งอยู่ ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติชุมชนเกษตรกรรมที่ดินที่แร่ธาตุดีจากภูไฟมาใช้ในการเพาะปลูก ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้านจึงพัฒนานำผ้ามาย้อมด้วยดินดังกล่าว “ผ้าภูเขาไฟ” ที่มีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์ ได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบลดีเด่น

- วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน (วัดระหาน) อยู่ที่ ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก

@ สุรินทร์

- วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย แหล่งธรรมชาติ ผสมผสานกับโบราณสถานวัดพนมศิลา และศาลเจ้าแม่กวนอิม บันไดที่ทอดตัวยาวสูงขึ้นไปบนเขา สองข้างของราวบันไดที่เต็มไปด้วยระฆังจำนวนมากมายราว 1,080 ใบ ตั้งอยู่ที่ต.นาบัว อ.เมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 22 กม. ใช้เส้นทางสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ระยะทาง 14 กม. แล้วเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กม.

- ศูนย์คชศึกษาสุรินทร์ หรือ หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ได้ด้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก สัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ชื่นชมกับการแสดงของช้างแสนรู้น่ารัก ซึ่งเปิดการแสดงทุกวันวันละ2 รอบ คือ 10.30 น. และ 14.30 น. ใช้เส้นทางหมายเลข 2 หรือถ.มิตรภาพ แยกเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 206 เส้นทาง ไป อ.พิมายแยกซ้ายเข้าทางหมายเลข 2175 ผ่านอ.แคนดง-สตึก-ชุมพลบุรี ตรงไปยัง อ.ท่าตูม ทางหมายเลข 2018 ประมาณ 12 กม. จะมีทางเลี้ยวขวาลัดไปยังหมู่บ้านช้างบริเวณบ้านกระสัง ไปบ้านยางบภิรมย์ แล้วตรงไปอีกประมาณ 10 กม. ก็จะถึงหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง

- ปราสาทศีขรภูมิ หรือจะเรียกว่า ปราสาทระแงง ปราสาทหินที่ล้อมด้วยคูน้ำ บนฐานศิลาแลงสูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างขอมแบบบาปวนกับแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อบูชาพระศิวะของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายตาม ตั้งอยู่ที่ต.ระแงง อำเภอศีขรภูมิ ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 226 โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปอีก 1 กม.

- กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง ชื่อ“ตาเมือน” คือพรานป่าชาวไทยผู้ค้นพบกลุ่มปราสาทแห่งนี้ ประกอบไปด้วยปราสาทหิน 3 หลังอยู่ห่างกันเล็กน้อย ได้แก่ ปราสาทตาเมือนธม มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และ ปราสาทตาเมือน ปราสาทศิลาแลงที่มีขนาดเล็กสุดในกลุ่ม ใช้ทางหลวงหมายเลข 214 ผ่านอ.ปราสาท แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 2121 ที่จะไปอ.บ้านกรวดประมาณ 25 กม. มีทางแยกที่บ้านตาเมียง ไปอีกประมาณ 13 กม.

- ปราสาทเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ ประกอบด้วยปรางค์ 5 องค์ ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันหักพังเหลือเพียง 3 องค์ ตั้งอยู่ ต. เมืองที ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 16 กม. ตามเส้นทางสุรินทร์-ศรีขรภูมิ เส้นทางหลวงหมายเลข 226 เลี้ยวขวาเข้าไปในซอยประมาณ 0.5 กม.

- หมู่บ้านจักสานบุทม บ้านจันรม หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ"เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ การทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ ลวดลายงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ตั้งอยู่ที่ ต. เมืองที อ.เมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 (สุรินทร์-ศรีขรภูมิ) ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 14-15

- ปราสาทภูมิโปน โบราณสถาน 4 หลัง คือ ปราสาทก่ออิฐ 3 หลัง และก่อศิลาแลง 1 หลัง มีอายุการก่อสร้างอย่างน้อยสองสมัย ปราสาทก่ออิฐหลังใหญ่และหลังทางทิศเหนือสุด นับเป็นปราสาทแบบศิลปะเขมรที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือราวพุทธศตวรรษที่ 13 การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขะ) ระยะทาง 49 กม. จากแยกอำเภอสังขะเข้าทางหลวงหมายเลข 2124 (สังขะ- บัวเชด) จนถึงบ้านภูมิโปนอีก 10 กม. จะเห็นปราสาทอยู่ริมถนนด้านซ้ายมือ


1. ปราสาทเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดปราสาทบูรพาราม ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย เป็นศาสนสถานที่สร้างตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ ลักษณะเด่นคือ ปราสาทก่ออิฐ 5 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน มีระเบียงคดล้อมรอบสองชั้น เปิดบริการเวลา 06.00-18.00 ค่าเข้าชมคนไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 30 บาท

สภานที่ : ต.จรเข้มาก อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ 31140

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


2. สนามฟุตบอล ไอ-โมบาย สเตเดียม จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ขนาดกว้างใหญ่มากสามารถจุได้ถึง 32,600 ที่นั่ง ร่วมเชียร์ฟุตบอล สมผัสความยิ่งใหญ่ของสนาม และของที่ระลึกทีมฟุตบอลในดวงใจ

สภานที่ : อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ 31000

เบอร์โทร : 091-716-3355

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


3. ศาลหลักเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ตั้งอยู่ใน อ.เมืองบุรีรัมย์ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง ที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นบุรีรัมย์อย่างชัดเจน เสาหลักเมืองบุรีรัมย์แห่งนี้มีปรากฏ อยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็นจังหวัดบุรีรัมย์

สภานที่ : ถนน หลักเมือง ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บุรีรัมย์ 31000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


4. วัดระหาน (เกาะแก้วธุดงคสถาน) จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

อยู่ที่ ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ ภายในวัดประดิษฐานพระมหาธาตุรัตนเจดีย์ เพื่อเป็นปูชนียสถานระลึกถึงองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสถานที่สงบร่มรื่น และมีนกยูงอาศัยอยู่จำนวนมาก

สภานที่ : ต.บ้านด่าน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ 31000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


5. ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

เป็นปราสาทหินเก่าแก่ศิลปะขอมโบราณอายุร่วมพันปี จากการรังสรรค์ด้วยภูมิปัญญาอันแยบยลของคนโบราณ ที่ถ่ายทอดความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 (บ้านดอนหนองแหน) ต.ตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ลงมาทางทิศใต้ประมาณ 77 กม. ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง)

สภานที่ : ต.ยายแย้มวัฒนา อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ 31110

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


6. วัดเขาอังคาร จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

วัดเขาอังคาร ตั้งอยู่บนยอดเขาอังคาร ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 320 เมตร อยู่ห่างจากหมู่บ้านเจริญสุข ประมาณ 3 กิโลเมตร ในตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ สันนิษฐานว่าสร้างมาในสมัยเดียวกับปราสาทหินพนมรุ้ง หรือในยุคที่ขอมเรืองอำนาจ เป็นวัดที่มีความสวยงาม ใหญ่โตแห่งหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ มีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อาทิ โบสถ์ 3 ยอด ซึ่งภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และเรื่องราวชาดกเป็นภาษาอังกฤษ ใบเสมาพันปี พระพิฆเนศงาเดียว พระพุทธ 109 องค์ พระตำหนักศักดิ์สิทธิ์ เทวรูปเจ้าเมืองขอม ฯลฯ

เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บริเวณที่ตั้งวัด เป็นปากปล่องภูเขาไฟ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่ตั้งโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะพบเสมาหินแกะสลักเป็นจำนวนมาก เขาอังคาร มองจากที่สูงเป็นรูปคล้ายพญาครุฑกำลังกระพือปีกหรือคว่ำหน้า โดยหันหัวไปทางใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านถาวร ส่วนลำตัวต้นปีกซ้าย เป็นโบราณวัตถุและพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้า ปีกซ้ายเนินเขายื่นไปทางทิศตะวันออก เป็นหมู่บ้านเจริญสุข ส่วนหางไปทางทิศเหนือ คือ บ้านสวายสอ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขาอังคารครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 90 ตารางกิโลเมตร

สภานที่ : ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ 31170

เบอร์โทร : 084-660-7329

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


7. ศูนย์สาธิตผ้าภูเขาไฟ ชุมชนบ้านเจริญสุข จ.บุรีรัมย์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ตั้งอยู่ ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติชุมชนเกษตรกรรมที่ดินที่แร่ธาตุดีจากภูไฟมาใช้ในการเพาะปลูก ด้วยภูมิปัญญาของชาวบ้านจึงพัฒนานำผ้ามาย้อมด้วยดินดังกล่าว “ผ้าภูเขาไฟ” ที่มีสีสวยงามอย่างมีเอกลักษณ์ ได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ประจำตำบลดีเด่น

สภานที่ : ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ 31110

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


8. วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

แหล่งธรรมชาติ ผสมผสานกับโบราณสถานวัดพนมศิลา และศาลเจ้าแม่กวนอิม บันไดที่ทอดตัวยาวสูงขึ้นไปบนเขา สองข้างของราวบันไดที่เต็มไปด้วยระฆังจำนวนมากมายราว 1,080 ใบ ตั้งอยู่ที่ต.นาบัว อ.เมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 22 กม. ใช้เส้นทางสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ระยะทาง 14 กม. แล้วเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กม.

สภานที่ : ตำบล สวาย อำเภอเมืองสุรินทร์

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


9. ศูนย์คชศึกษาสุรินทร์ จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง ได้ด้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก สัมผัสกับวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ชื่นชมกับการแสดงของช้างแสนรู้น่ารัก ซึ่งเปิดการแสดงทุกวันวันละ2 รอบ คือ 10.30 น. และ 14.30 น. ใช้เส้นทางหมายเลข 2 หรือถ.มิตรภาพ แยกเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 206 เส้นทาง ไป อ.พิมายแยกซ้ายเข้าทางหมายเลข 2175 ผ่านอ.แคนดง-สตึก-ชุมพลบุรี ตรงไปยัง อ.ท่าตูม ทางหมายเลข 2018 ประมาณ 12 กม. จะมีทางเลี้ยวขวาลัดไปยังหมู่บ้านช้างบริเวณบ้านกระสัง ไปบ้านยางบภิรมย์ แล้วตรงไปอีกประมาณ 10 กม. ก็จะถึงหมู่บ้านช้างบ้านตากลาง

สภานที่ : ตำบล กระโพ อำเภอ ท่าตูม

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


10. ปราสาทศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ

จากลักษณะทางศิลปกรรม สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย และในพุทธศตวรรษที่ 22 มีการบูรณะเพิ่มเติมที่องค์ปราสาทแถวหลังฝั่งทิศใต้ เป็นแบบศิลปะล้านช้าง และยังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้

ปี พ.ศ. 2531 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงนำนักเรียนนายร้อย จปร. มาศึกษาที่โบราณสถานแห่งนี้ และก็ได้มีการบูรณะปราสาทศีขรภูมิ ให้ดูงามเด่นเป็นสง่าน่าภาคภูมิใจแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาเยือนเมืองปราสาทหินโบราณแห่งนี้

ปราสาทศีขรภูมิ มีลักษณะเป็นปรางค์หมู่ 5 องค์ เป็นปราสาทก่ออิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน โดยตัวฐานก่อด้วยศอลาแลงกว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร โดยมีคูน้ำกว้าง 125 เมตร ล้อมรอบสามด้าน โดยเว้นด้านตะวันออกอันเป็นทางเข้าไว้

ปรางค์ประธานสูงประมาณ 32 เมตร ทับหลังเป็นภาพพระศิวนาฏราชสิบกร ทรงฟ้อนรำอยู่เหนือเกียรติมุข ภายใต้วงโค้งลายท่อนมาลัย ซึ่งสลักเป็นภาพพระคเณศ พระพรหม พระวิษณุ และพระอุมาโดยทับหลังชิ้นนับเป็นทับหลังที่มีความสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดชิ้นหนึ่งของเมืองไทย บริเวณเสากรอบประตูสลักเป็นรูปนางอัปสรถือดอกบัว และทวารบาลยืนกุมกระบอง ซึ่งนางอัปสราที่ปราสาทศีขรภูมินี้มีลักษณะคล้ายกับนางอัปสราที่ปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ซึ่งไม่พบที่ปราสาทศิลปะเขมรโบราณแห่งใดอีกเลยในประเทศไทย พบที่ปราสาทศีขรภูมิเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

สภานที่ : วัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

เบอร์โทร : 094-870-6448

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


11. กลุ่มปราสาทตาเมือน จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ปราสาทตาเมือนธม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม

ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้

ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ

ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมรมากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก

ปราสาทตาเมือนโต๊ด อยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม ประมาณ 750 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ โดยเชื่อว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยาศาล รักษาพยาบาลของชุมชนหรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ปราสาทตาเมือน(บายกรีม)อย่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ด ประมาณ 390 เมตร เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด ก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นห้องยาว เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา คือที่พักสำหรับคนเดินทาง

กลุ่มปราสาทตาเมือนนี้นับได้ว่าเป็นกลุ่มปราสาทที่มีความสมบูรณ์ในด้านของการอำนวยประโยชน์ แก่ผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านช่องเขา ซึ่งไม่ปรากฏในถิ่นอื่น การที่มีกลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในบริเวณนี้เป็นประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตเส้นทางช่องเขาตาเมือนนี้คงจะมีชุมชนหรือเป็นเส้นทางผ่านช่องเขาสำคัญของภูมิภาค

สภานที่ : ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


12. ปราสาทเมืองที จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองที ภายในบริเวณวัดจอมสุทธาวาส ปราสาทเมืองทีเป็นปราสาทแบบเขมรที่ได้รับการดัดแปลงในสมัยหลังเช่นเดียวกับปราสาทศีขรภูมิ ปราสาทก่อด้วยอิฐฉาบปูน มี 5 หลัง สร้างรวมกันเป็นหมู่บนฐานเดียวกันหลังหนึ่งอยู่ตรงกลาง และอีก 4 หลังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 หลังซึ่งมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง หลังกลางมีขนาดใหญ่สุด มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ตัวเรือนธาตุตันทึบไม่มีประตูเนื่องจากการดัดแปลง ส่วนหลังคาทำเป็นชั้นมี 3 ชั้นเลียนแบบตัวเรือนธาตุ ส่วนยอดบนหักหาย นับเป็นโบราณสถานเขมรอีกแบบหนึ่งที่นิยมสร้าง คือ มีปราสาทหลังกลางเทียบเท่าเขาพระสุเมรุ และมีปรางค์มุมทั้งสี่ตามความเชื่อในลัทธิศาสนาพราหมณ์ แต่ไม่พบจารึกหรือลวดลายทางศิลปะที่สามารถบอกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด

ปราสาทเมืองที ประกอบด้วยปรางค์ 5 องค์ ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันหักพังเหลือเพียง 3 องค์ คือ องค์กลาง องค์มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และองค์ด้านตะวันตกเฉียงใต้ องค์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากการดัดแปลงในสมัยต่อๆ มา ส่วนยอดทำเป็นแบบตัวเรือนธาตุซ้อนกัน 3 ชั้น ส่วนบนหัก ที่เหลืออีก 2 องค์มีขนาดและลักษณะคล้ายคลึงกัน

จากแผนผังและลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปรางค์ที่มีลักษณะผอมเรียว ปราสาทเมืองทีจัดเป็นโบราณสถานศิลปะลาว ที่มีการสร้างขึ้นโดยคนในชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 23 24

อายุสมัย นักวิชาการได้สันนิษฐานอายุสมัยของโบราณสถานแห่งนี้ 2 ประการ คือ

1. พิจารณาจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปราสาทที่มีลักษณะผอมเรียวและจากประวัติศาสตร์เมืองทีเมื่อสมัยอยุธยาตอนปลาย ปราสาทเมืองทีน่าจะสร้างและต่อเติมจากกลุ่มขอมและกูยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้เมื่อปลายสมัยอยุธยา และได้พยายามพลิกฟื้นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรขอมในอดีต

2. โบราณสถานแห่งนี้แต่เดิมเคยเป็นศาสนสถานของวัฒนธรรมขอมโบราณมาก่อน ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ถูกต่อเติมโดยกลุ่มขอมและกูยที่เข้ามาตั้งถิ่นฐาน

การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร ตามเส้นทางสุรินทร์-ศีขรภูมิ ทางหลวงหมายเลข 226 จนถึงบ้านโคกลำดวน เลี้ยวซ้ายเข้าวัดจอมสุทธาวาส

สภานที่ : ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


13. หมู่บ้านจักสานบุทม บ้านจันรม จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

หมู่บ้านที่ได้รับการยกย่องว่า"ทอผ้าไหมหนึ่งพันสี่ร้อยสิบหกตะกอ"เมื่อครั้งทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ การทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ ลวดลายงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ตั้งอยู่ที่ ต. เมืองที อ.เมือง การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 226 (สุรินทร์-ศรีขรภูมิ) ตรงบริเวณหลักกม.ที่ 14-15

สภานที่ : ตำบล เมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ สุรินทร์ 32000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


14. ปราสาทภูมิโปน จ.สุรินทร์

บุรีรัมย์ – สุรินทร์

ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีก 1 หลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ ปราสาทอิฐองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน มีเสาประดับกรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปมีลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างปราสาทประธานเทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ 1 และเมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง ได้พบจารึกภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งถือเป็นจารึกรุ่นแรก ๆ (ส่วนจารึกที่ระบุศักราชชัดเจนเท่าที่พบในประเทศไทยที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด คือ จารึกเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1180 และจารึกเขาวัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1182)

ส่วนปราสาทอิฐหลังเล็ก ที่ตั้งตรงกลาง และปราสาทที่มีฐานศิลาแลง ด้านทิศใต้นั้น สร้างขึ้นในสมัย หลังปราสาทภูมิโปน คงจะสร้างขึ้น เป็นศาสนสถาน ในศาสนาฮินดู ไศวนิกาย เช่นเดียวกับศาสนสถานอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แม้จะไม่พบ รูปเคารพ ซึ่งควรจะเป็นศิวลึงค์ อยู่ภายในองค์ปรางค์ แต่ที่ปรางค์องค์ใหญ่ยังมี ท่อโสมสูตร คือ ท่อน้ำมนต์ ที่ต่อออกมา จากแท่นฐานรูปเคารพ ในห้องกลาง ติดอยู่ที่ผนังในระดับพื้นห้อง

สอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาทนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่พบศิลาจารึกอักษรปัลลวะ-สันสกฤต ส่วนฐานปราสาทศิลาแลงและปราสาทหลังที่ 2 เป็นการสร้างในสมัยต่อมา ไม่อาจกำหนดอายุได้ชัดเจน

ปราสาทแห่งนี้มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง คือ ตำนาน เนียงด็อฮทม ซึ่งเป็นราชธิดาขอมผู้ปกครองเมืองภูมิโปนองค์สุดท้าย กล่าวไว้ในส่วนของตำนานและนิทานเมืองสุรินทร์

การเดินทางจากจังหวัดสุรินทร์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2077 (สายสุรินทร์-สังขละบุรี)

สภานที่ : ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


logoline

ข่าวที่น่าสนใจ