Lifestyle

นครพนม - บึงกาฬ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สักการะพระธาตุพนม ชมตะวันยอดภูลังกา แก่งอาฮงสะดือลำน้ำโขง

จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) จนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แยกขวา เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จนถึงอำเภอบ้านไผ่ แยกขวาเข้าสู่ทางหลวง หมายเลข 23 ไปจนถึงจังหวัดมหาสารคาม แล้วแยกใช้ทางหลวงหมายเลข 213 ผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึง จังหวัดสกลนคร แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 22 ต่อไปจนถึงจังหวัดนครพนม รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร


1. พระธาตุประสิทธิ์ จ.นครพนม

นครพนม  - บึงกาฬ

สภานที่ : หมู่ 13 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม 48180

เบอร์โทร : 042-550-194

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


2. วัดโอกาสศรีบัวบาน จ.นครพนม

นครพนม  - บึงกาฬ

วัดโอกาสหรือวัดโอกาสศรีบัวบาน เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองนครพนมและเป็นที่ประดิษฐานพระติ้วและพระเทียมพระพุทธรูปแฝดอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมมาแต่โบราณ นอก จากนี้ภายในโบสถ์ยังมีภาพจิตรกรรมที่สวยงามน่าชมด้วย

สิ่งน่าสนใจภายในวัด ได้แก่พระติ้วและพระเทียม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสององค์ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกันทุกประการ แกะสลักจากไม้ตะเคียน ขนาดหน้าตักกว้าง 39 ซม. สูง 60 ซม. ประดิษฐานในบุษบกทรงปราสาทที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานในโบสถ์ พระเทียมอยู่ทางขวามือของพระประธาน ส่วนพระติ้วอยู่ทางซ้ายพระติ้วและพระเทียมมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีมาแต่ครั้งอาณาจักรศรีโคตรบูรกำลังรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง พระองค์ทรงให้ขุดเรือโกลนเพื่อใช้เป็นเรือพระที่นั่ง เมื่อขุดเรือสำเร็จแล้ว จึงเคลื่อนเรือ ลงสู่แม่น้ำโขง โดยใช้เครื่องทุ่นแรงที่เป็นไม้หมอนกลมเล็กจำนวนหลายท่อนวางเป็นแนวใต้ท้องเรือ เพื่อช่วยชักลากเรือให้เคลื่อนไปสะดวกยิ่งขึ้น แต่ขณะเรือเคลื่อนมาถึงไม้หมอนท่อนหนึ่งซึ่งเป็นไม้ติ้วก็ไม่สามารถเคลื่อนต่อไปได้ ทั้งไม้หมอนนั้นก็กระเด็นออกไป การชักลากเรือต้องใช้ความพยายามอยู่นานจึงนำเรือลงสู่แม่น้ำได้สำเร็จ เชื่อกันว่า หมอนไม้ติ้วนั้นเป็นพญาไม้ซึ่งมีเทวดาสิงสถิตอยู่ พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงจึงโปรดให้นำไปแกะสลักเป็นพระติ้ว เมื่อวันอังคาร เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีกุน ตรงกับ พ.ศ. 1327 แล้วจัดพิธีสมโภชเป็นพระมิ่งเมืองนครศรีโคตรบูรต่อมาในสมัยพระเจ้าขัติยวงศาบุตรามหาราชกษัตริย์องค์ต่อมา ได้เกิดไฟไหม้ในหอพระติ้ว ชาวบ้านไม่สามารถนำพระติ้วออกมาได้ จึงคิดกันว่าพระติ้วคงจะไหม้ไปในกองเพลิง พระเจ้าขัติยวงศาฯ จึงโปรดให้นำไม้มงคลมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปขึ้นแทนพระติ้ว พระพุทธรูปองค์ใหม่นี้เหมือนพระติ้วองค์เดิมไม่ผิด เพี้ยน ในเวลาต่อมาได้พบพระติ้วองค์เดิมในลำน้ำโขง พระเจ้าขัติยวงศาฯ จึงทรงอัญเชิญมาประดิษฐานคู่กับพระติ้วองค์ใหม่ซึ่งมีพระนามใหม่ว่าพระเทียมนับแต่นั้นมา

และภาพจิตรกรรม ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังอันงดงาม เช่น ที่ผนังแต่ละด้านเขียนเรื่องราวในชาดกตอนต่าง ๆ ที่ไม้คอสองซึ่งเป็นแผ่นกระดานเชื่อมหัวเสาแต่ละต้นเขียนเป็นรูปเทพและเทวดาในซุ้มเรือนแก้ว ที่เพดานเขียนเป็นดวงดาวสีทองบนพื้นแดง ส่วนเสาแต่ละต้นเขียนลายกระจังสีสันสดใส

สภานที่ : ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 48000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


3. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม

นครพนม  - บึงกาฬ

พระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 12001400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น วรมหาวิหาร

พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนมเท่านั้น พระธาตุพนมยังเป็นที่เคารพของชาวไทยภาคอื่น ๆ และชาวลาวอีกด้วย ว่ากันว่าถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง จะถือว่าเป็น ลูกพระธาตุ เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม 1 ครั้ง ก็ถือเป็นมงคลแก่ชีวิตแล้ว

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกัม ปัจจุบันองค์ พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

สภานที่ : ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 48110

เบอร์โทร : 042 513 490

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


4. พระธาตุเรณูนคร จ.นครพนม

นครพนม  - บึงกาฬ

พระธาตุเรณูนคร ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ. ศ. 2461 โดยพระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน

ประวัติ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 เป็นพระธาตุคู่เมืองของชาวเรณูนคร โดยจำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม คือองค์ก่อนที่จะล้มในปี พ.ศ. 2518 แต่มีขนาดเล็กกว่า สูง 35 เมตร กว้างด้านละ 8.37 เมตร ภายในเจดีย์บรรจุคัมภีร์พระธรรม พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เพชรนิลจินดา หน่องา และของมีค่าที่เจ้าเมืองเรณูนคร กับประชาชนนำมาบริจาค และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2519 มีงานเทศกาลนมัสการพระธาตุเรณูนคร เป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 11 - 15 ค่ำ เดือน 4 รวม 5 วัน 5 คืน

สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป 15 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม มีจำหน่ายที่ศาลาใกล้องค์พระธาตุ และที่ศาลาแห่งนี้ยังมีห้องจำหน่ายวัตถุมงคลอีกด้วย เชื่อกันว่าผู้ที่ได้ไปนมัสการ จะได้อานิสงค์ส่งผลให้มีวรรณะงดงามผุดผ่องดังแสงจันทร์

ภายในโบสถ์ยังประดิษฐานพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคาศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พระคู่บ้านของอำเภอ พระองค์แสนพระพุทธรูปที่ประชาชนเคารพนับถือ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดธาตุเรณูพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง เนื้อทองตันทั้งองค์ หน้าตักกว้างและสูง 50 เซนติเมตร เป็นพระคู่บ้าน คู่เมือง สร้างก่อนที่จะสร้างพระธาตุเรณูในปี พ.ศ. 2460 แผ่นทองที่นำมาหลอมเป็นองค์พระพุทธรูปได้มาจาก การบอกบุญขอบริจาคจากหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วเรณูนคร เมื่อนำมาหล่อรวมนั้น ในครั้งแรก หล่อไม่สำเร็จ ไม่ติดเบ้าพิมพ์ ต้องย้ายที่ไปหล่อใหม่จึงสำเร็จ แล้วอัญเชิญมาไว้ ณ อุโบสถหลังเก่าของวัดกลาง หรือวัดธาตุเรณู ในเวลาต่อมา เมื่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แล้ว ก็อัญเชิญประดิษฐานอยู่ในอุโบสถหลังใหม่ของวัดเรณู อายุพระองค์แสนจึงมีอายุนานกว่า 100 ปีแล้ว

เหตุที่เรียกว่า พระองค์แสน เพราะว่ามีน้ำหนัก 10 หมื่น มาตราชั่งของชาวบ้านกำหนดว่า 12 กิโลกรัม เป็นหนึ่งหมื่น 10 หมื่น จึงเท่ากับหนึ่งแสน เท่ากับ 120 กิโลกรัม เท่ากับน้ำหนักขององค์พระทอง

บริเวณบ้านเรณูนครแห่งนี้แต่เดิมเป็นเรณูนคร ถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียม การต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้า พื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณ วัดพระธาตุเรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร

สภานที่ : บ้านเรณูนคร อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม 48170

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


5. อุทยานแห่งชาติภูลังกา จ.นครพนม

นครพนม  - บึงกาฬ

อุทยานที่คงความสมบูรณ์ทั้งผืนป่าและสัตว์ป่านานาชนิด มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย ได้แก่ น้ำตกตาดขาม น้ำตก 4 ชั้น, น้ำตกตาดโพธิ์ ,เจดีย์กองข้าวศรีบุณเนาว์ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาจากประเทศเนปาล ลานหินไว้สำหรับนั่งเล่นพักผ่อน จุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและตกดินที่สวยงามที่ยอดภูลังกา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 212 เส้นนครพนม-บ้านแพง ระยะทางประมาณ 105 กม. และเลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 220 ห่างจากตัวอำเภอบ้านแพงประมาณ 6 กม.

สภานที่ : ตำบลนางัว อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม 48140

เบอร์โทร : 083 348 2549

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


6. บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

ทะเลสาบขนาดใหญ่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเชิงนิเวศ พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์นก บริเวณบึงยังมีหาดคำสมบูรณ์ หาดทรายทอดยาวในช่วงฤดูหนาว เป็นแหล่งพักผ่อนและชมวิวทิวทัศน์ มองเห็นภูลังกาเป็นฉากหลัง ใช้เส้นทางไปนครพนม ถนนหลวงหมายเลข 212 เลยแยกภูสิงห์ไปเล็กน้อย จะมีทางแยกขวามือเข้าสู่ถนนหลวงหมายเลข 3009 ผ่านน้ำตกหลายแห่งในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูวัว ตรงไปประมาณ 42 กม.

สภานที่ : อำเภอบึงโขงหลง จังวัดบึงกาฬ

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


7. น้ำตกเจ็ดสี จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

น้ำตกเจ็ดสี ตั้งอยู่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา น้ำตกเจ็ดสีเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน น้ำตกเกิดจากธารน้ำของห้วยกะอามไหลมาตามหน้าผาหินทรายสูงและแผ่กว้างเป็นทางยาว ละอองน้ำเมื่อกระทบกับแสงแดดทำให้เกิดเป็นสีรุ้ง จึงเรียกว่า น้ำตกเจ็ดสี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ก่อนถึงบุ่งคล้า ๑๒ กิโลเมตร มีทางแยกขวาที่บ้านชัยพร ผ่านบ้านภูเงิน บ้านดอนเสียดไปถึงน้ำตกเป็นระยะทาง ๒๘ กิโลเมตร หรือหากเดินทางจากภูทอกใช้เส้นทางที่ผ่านบ้านนาต้อง บ้านดอนเสียด รวมระยะทางจากภูทอก ๑๔ กิโลเมตร

สภานที่ : ตั้งอยู่บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 38220

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


8. หนองกุดทิง จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

ห่างจากตัวเมืองบึงกาฬประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พื้นที่เกือบ 20,000 ไร่ มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยสัตว์น้ำกว่า 250 สายพันธุ์ และเป็นที่อาศัยของนกอพยพและนกประจำถิ่นหลายชนิด ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับโลก หรือ แรมซาร์ไซท์ เป็นอันดับที่ 11 ของประเทศไทย

สภานที่ : ตำบลโคกก่อง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


9. วัดโพธาราม จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นวัดที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบึงกาฬ คือ หลวงพ่อพระใหญ่ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 5 ฟุต 4 นิ้ว สูง 7 ฟุต เป็นศิลปะสมัยล้านช้าง จากประวัติตามคำบอกเล่านั้น เมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีก่อน ผู้คนแถบนี้เป็นผู้อพยพย้ายถิ่นมาจากเมืองยศที่ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร มาตั้งถิ่นฐานทำไร่ทำนาบริเวณแถบนี้ ซึ่งตอนนั้นเป็นป่าทึบมีเถาวัลย์ปกคลุม ชาวบ้านจึงช่วยกันถางป่าบริเวณนี้จนพบพระพุทธรูปองค์หนึ่งและตั้งชื่อว่าหลวงพ่อพระใหญ่ตามขนาดที่ใหญ่โตขององค์พระนั่นเอง

งานสักการะหลวงพ่อพระใหญ่ประจำปี

ประชาชนในสมัยก่อนมักจะมาขอพรจากหลวงพ่อ ให้ช่วยเมตตา ปกปักรักษา และ ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดไป และก็ได้สมดังความปรารถนาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีการจัดงานสมโภชประจำปีขึ้น ปีละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของหลวงพ่อได้เมตตากรุณาตลอดมา โดยได้ปฎิบัติสืบต่อกันมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

งานครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 3 จะทำบุญข้าวจี่ พร้อมกับปราสาทผึ้ง 2 หลังเพื่อสักการะหลวงพ่อ

งานครั้งที่ 2 ถือเป็นงานใหญ่ประจำปีและมีพุทธบริษัทจากทั่วทุกสารทิศมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก งานนี้จะจัดขึ้นในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี โดยมีพิธีสรงน้ำหลวงพ่อพระใหญ่ ตามปกติแล้วงานครั้งที่ 2 มักจะจัดหลังวันมหาสงกรานต์ 1 สัปดาห์และมักจะตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์

ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อ

1.เมื่อครั้งมีสงครามอินโดจีน มีแสงสว่างจ้ากว่าแสงตะเกียงเจ้าพายุปรากฏขึ้นและลอยออกจากโบส์วัดบ้านท่าไคร้ข้ามไปยังบ้านปากบึง ฝั่งประเทศลาว จากนั้นก็ข้ามกลับมาที่เดิมและดับลงที่โบสถ์

2.ราวปี พ.ศ. 2490 ได้มีการรื้อซากโบสถ์เก่าเพื่อสร้างใหม่ ช่างและคนงานทั้งหมดล้วนเป็นชาวญวน ระหว่างที่ช่างและคนงานกำลังขุดดินเพื่อลงรากเสาเข็มนั้นก็พบกับพระพุทธรูปองค์เล็กๆจำนวนมากหลายพันองค์ คนงานเหล่านั้นจึงได้หยิบติดตัวไปโดยไม่ได้บอกใครเพราะเห็นว่าเป็นของเก่า ยังไม่ทันพ้นคืนนั้นเอง คนงานเหล่านั้นบ้างก็เสียสติ บ้างก็เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง บ้างก็มีไข้อย่างเฉียบพลัน คนงานเหล่านั้นจึงนำพระพุทธรูปไปคืนไว้ที่เดิมภายในคืนนั้นทันที หลังจากนั้นอาการป่วยก็หายเป็นปลิดทิ้งราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก่อน

3.เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2496-2497 เด็กหญิงชาวบ้านท่าไคร้คนหนึ่งได้ไปอาศัยอยู่กับญาติที่จังหวัดชลบุรี วันหนึ่ง ขณะเธอกำลังขี่จักรยานไปซื้อของ เธอก็ถูกรถสิบล้อชนจนตัวเธอกระเด็นไปตกที่ถนนอีกฝั่งหนึ่ง ส่วนจักรยานของเธอก็แหลกไปทั้งคัน แต่ตัวเด็กหญิงกลับไม่บาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ลุกขึ้นมาปัดฝุ่นแล้วก็เดินต่อได้สบายๆ ส่วนรถสิบล้อคันนั้นกลับไฟลุกไหม้ทั้งคันเสียอย่างนั้น ว่ากันว่าหนูน้อยคนนี้มีเพียงรูปถ่ายของหลวงพ่ออัดกรอบพลาสติกห้อยคออยู่เท่านั้น

4.เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 เด็กสาวบ้านท่าไคร้คนหนึ่งกับน้องสาวเดินทางไปทำธุระที่บ้านดงหมากยางซาก เด็กหญิงทั้งสองถูกโจรจี้เอาสร้อยคอทองคำหนัก 3 บาทไป ทั้งสองจึงวิ่งกระหืดกระหอบกลับบ้านเพื่อเล่าเหตุการณ์ให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่ของเด็กจึงให้เด็กทั้งสองไปขอหลวงพ่อให้ช่วยติดตามสร้อยคืน 3 วันต่อมา ทุกคนในบ้านแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเมื่อเห็นสร้อยคอที่ถูกจี้ไปถูกทิ้งไว้อยู่บนระเบียงหน้าบ้านและสร้อยเส้นนั้นยังอยู่ในสภาพเดิมทุกประการ

5.เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2512-2513 ก่อนที่จะสร้างโบสถ์หลังปัจจุบันเสร็จ จะมีแสงสว่างปรากฏออกมาจากต้นโพธิ์ข้างโบสถ์และข้ามไปยังบ้านปากบึง ฝั่งประเทศลาว โดยแสงสว่างนี้จะปรากฏ 2-3 เดือนต่อครั้งในวันพระและมักจะมีผู้พบเห็นเหตุการณ์เช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง

6.ร้อยเอกคำม้าว จันทวงศ์ ชาวลาว อาศัยอยู่บ้านปากบึงที่อยู่ตรงข้ามหมู่บ้านท่าไคร้ ก่อนไปราชการสงครามทุกครั้ง เขามักมาบนบานกับหลวงพ่อไว้เสมอ โดยเขาประสบอุบัติเหตุทางเครื่องบินถึง 3 ครั้งแต่ก็รอดชีวิตกลับมาทุกครั้งเช่นกัน เขาจึงเกิดศรัทธาในองค์หลวงพ่อจึงได้บริจาคเงินจำนวน 20,000 บาทเพื่อสร้างโบสถ์หลังปัจจุบัน

7.เมื่อปี พ.ศ. 2528 ผู้เขียนได้ประสบกับปาฏิหาริย์จากหลวงพ่อด้วยตนเองหลังจากได้ประชุมกับชาวบ้านและตกลงกันว่าจะจ้างช่างภาพมาถ่ายรูปหลวงพ่อเพื่ออัดกรอบพลาสติกและนำไปให้ผู้มีศรัทธาเช่าไว้บูชา ก่อนที่ช่างภาพจะถ่ายภาพ เขาได้นำขันข้าวตกแต่งด้วยดอกไม้ไปขอขมาต่อหลวงพ่อ หลังจากที่ถ่ายรูปหลวงพ่อไปกว่า 10 อิริยาบถและนำรูปไปล้างนั้น ผลปรากฏว่าไม่มีรูปหลวงพ่อติดเลยแม้แต่น้อย ฟิล์มทั้งหมดก็มืดสนิท ชัตเตอร์ก็ไม่ลั่นเหมือนกับมีอะไรมาขัดไว้

สภานที่ : ตั้งอยู่ที่บ้านท่าไคร้ หมู่ ๕ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 38000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


10. วัดอาฮงศิลาวาส จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

ตั้งอยู่ที่บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ ริมแม่น้ำโขงติดกับแก่งอาฮง ห่างจากตัวอำเภอบึงกาฬ 21 กิโลเมตร บริเวณวัดกว้างขวางและสวยงาม ประดิษฐานพระพุทธคุวานันท์ศาสดา หล่อด้วยทองเหลือง ลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช สถานที่แห่งนี้ซึ่งมีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา และบั้งไฟพญานาค

สภานที่ : บ้านอาฮง ตำบลไคสี อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย 38000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


11. วัดสว่างอารมณ์ จ.บึงกาฬ

นครพนม  - บึงกาฬ

วัดที่มีบรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีลำธารเล็กไหลผ่าน อุโบสถเป็นรูประฆังคว่ำ ตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ เป็นจุดชมทิวทัศน์ความสวยงามของแม่น้ำโขง และที่ใต้ก้อนหินใหญ่เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไสยาสน์ปางปรินิพพานที่ผู้คนต่างเดินทางมาสักการบูชาเป็นจำนวนมาก นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่คุณไม่ควรพลาด

สภานที่ : ต.ปากคาด อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ 38220

เบอร์โทร : 087-824-3883

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


logoline

ข่าวที่น่าสนใจ