ข่าว

พระองค์ภาฯ ทรงหนุนหลักนิติธรรม เป็นพื้นฐานพัฒนาสังคม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โครงการพระราชดำริก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างให้เกิดความเคารพในหลักนิติธรรมได้

พระองค์ภาฯ ทรงหนุนหลักนิติธรรม เป็นพื้นฐานพัฒนาสังคม

         วันนี้เวลา 10.17 น. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปยังห้องประชุม 2 ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถ.ราชดำเนินนอก ทรงร่วมการประชุมเวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ ทีไอเจ จัดขึ้น ในโอกาสเปิดโครงการ RoLD Program (โรลด์ โปรแกรม) เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

         การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่างๆ กว่า 200 คน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมหลักสูตรอบรม RoLD Executive Program ระหว่างพิธีเปิด ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทีไอเจ กราบทูลรายงานวัตถุประสงค์และความสำคัญของการจัดงาน จากนั้น นายลุค สตีเว่นส์ ผู้ประสานงานสหประชาชาติและผู้แทนสำนักโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย และนายเจเรมี ดักลาส ผู้แทนสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวปาถกฐาเกี่ยวกับความสำคัญของหลักนิติธรรมที่มีต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามลำดับ

พระองค์ภาฯ ทรงหนุนหลักนิติธรรม เป็นพื้นฐานพัฒนาสังคม

         ในการนี้ทรงประทานพระดำรัสปาฐกถาพิเศษ อันเป็นภาระกิจแรกในฐานะ ทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามคำกราบทูลเชิญของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เพื่อทรงสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค เสริมสร้างหลักนิติธรรมและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา ใจความว่า

          "โลกได้เรียนรู้บทเรียนที่ดีที่มากมายในการแสวงหาหนทาง ในการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เป็นกรอบแนวทางที่มีพลังอย่างยิ่งในประชาคมระดับประเทศ ที่กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ที่จะเป็นแนวทางในการชี้นำในการขจัดปัญหาความยากจน ความหิวโหย และโรคภัยต่างๆ เป้าหมายของ “เอ็มดีจี” หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ มีความสำเร็จในหลายๆ ด้านแต่ก็ยังมีภาวะถดถอยในบางเรื่อง น่าจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้หากเราให้ความสำคัญกับเรื่องบางเรื่อง เช่น ความยุติธรรมและหลักนิติธรรม นอกจากเรื่องเหล่านี้ยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ขณะนี้ประชาคมโลกได้เห็นพ้องต้องกันในการทำสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม ในเรื่องของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เราตระหนักดีกว่าหลักนิติธรรม ความสันติภาพ ความยุติธรรม และความมั่นคงเป็นส่วนหนึ่งของงานของเรา ที่จะทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้

พระองค์ภาฯ ทรงหนุนหลักนิติธรรม เป็นพื้นฐานพัฒนาสังคม

          หลักนิติธรรมจึงเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างหนึ่งในการกำหนดทิศทาง ในการที่เราจะเปลี่ยนแปลงโลกที่เราอาศัยอยู่ ท่านอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าหลักนิติธรรม ไม่เป็นเพียงเป้าประสงค์ของมันเอง และเพื่อตัวของมันเองเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ด้วย หลักนิติธรรมที่มีประสิทธิผลจะทำให้เรามีสังคมที่มีความมั่นใจ และมีความชัดเจนถึงการใช้อำนาจ และการใช้อำนาจของรัฐบาลที่ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ จะไปเป็นเพื่อประโยชน์ของทุกๆ คน

          สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ในหน้าที่ที่ต้องรักษากฏหมายก็ได้พบกับเรื่องราวของคนที่ต้องมาเกี่ยวข้องกับระบบนิติธรรม เรื่องราวๆ ต่างมีลักษณะเฉพาะแต่ก็แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายเป็นสิ่งที่สำคัญแต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ทัศนคติและการตระหนักรู้ของผู้คนว่าเราควรจะต้องเคารพกฏหมาย

           ข้าพเจ้าเชื่อว่า ทุกคนควรจะมีความคิดเห็นร่วมกันว่าคนควรที่จะเคารพกฏหมายซึ่งจะเป็นข้อกำหนดให้มีหลักนิติธรรมและการพัฒนา ทัศนคติดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย อาจจะใช้หลายชั่วอายุคน อาจจะใช้ความพยายามร่วมกัน ที่จะทำให้มีทัศนคติดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ในเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง ในการสร้างวัฒนธรรมของการปฏิบัติตามกฏหมาย รวมทั้งการพัฒนาทางเลือก เรื่องนี้ได้รับการส่งเสริมจากคนจำนวนมากรวมทั้งในหลวงรัชกาล ที่ 9 สำหรับข้าพเจ้าแล้วมันเป็นเรื่องที่ว่าหลักนิติธรรมมีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เห็นว่าเกิดจากความชัดเจนของโครงการพัฒนาที่ยั่งยืน ทำสามารถค่อยๆ สร้างชุมชนขึ้นมาใหม่ และเสริมสร้างหลักนิติธรรมขึ้นมาได้ จากการที่บังคับใช้กฏหมาย ถ้าสมมุติว่ามาดูถึงเรื่องชาวเขาเหล่านี้ซึ่งทำมาหากินด้วยการปลูกพืชที่ผิดกฏหมาย และขาดสิ่งที่เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน

          สิ่งที่สำคัญก็คือเราคงจะต้องยอมรับว่าถ้าเกิดว่าเราเรียกร้องให้มีการปฏิบัติตามกฏระเบียบเดิมๆ นั้น คงจะไม่เป็นประโยชน์จากบุคคลเหล่านี้ เนื่องจากเขานั้นยังขาดปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพ เมื่อเราได้ให้ปัจจัยพื้นฐานแก่เขาแล้ว ก็จะเป็นเวลาที่ให้เขาได้เคารพกฏหมาย ในการที่เราเน้นให้บุคคลเหล่านี้สามารถ เลี้ยงชีพได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายต่อไปนั้น โครงการพระราชดำริก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างให้เกิดความเคารพในหลักนิติธรรมได้ ข้าพเจ้าเองก็ได้ไปหมู่บ้านเหล่านี้มาแล้ว ซึ่งความก้าวหน้านั้นอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินไป แต่สิ่งนี้ได้หยั่งรากลึกลงในชุมชม

          เมื่อข้าพเจ้าได้ไปพูดคุยกับชุมชน ผู้นำหมู่บ้านและเยาวชนในหมู่บ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นว่าเขามีความภาคภูมิใจ เมื่อได้รับฟังคำพูดของเขานั้นข้าพเจ้า ตระหนักว่าเขาได้ไปเผยแพร่วัฒนธรรมของการเคารพกฏหมาย ในหมู่พวกเขาด้วยกันแล้ว เขาไม่ต้องรอให้มีการบังคับใช้กฏหมายแต่ว่าใช้พลังแห่งประเพณีของเขาในการที่จะทำให้แน่ใจว่ามีความเคารพกฏหมาย จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า หลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นเเราสามารถดำเนินการได้ในทุกๆ ระดับ

         ในฐานะที่เป็นทูตสันถวไมตรีนั้นข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะทำงานร่วมกับยูเอ็นดีซี และตระหนักถึงการทำงานของสำนักงานของยูเอ็นดีซี เพื่อสิ่งนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความร่วมมือระหว่างเรานั้นได้มีการเสริมสร้างในภาคส่วนต่างๆ เนื่องจากมีความพยายามในการที่จะสร้างประชาคมอาเซียนซึ่งมีความสามารถในการที่จะรับกับความท้าทายต่างๆ ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าเรามีศักยภาพและโอกาสมากมายร่วมกันในอนาคตนั้น ข้าพเจ้าอยากจะสรุปบทเรียนที่ได้จากตัวอย่างที่ได้เล่าให้ท่านฟัง ในเรื่องของการพัฒนาทางเลือก

         หลักนิติธรรมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในชีวิตของผู้คนที่จะรู้สึกและเกิดขึ้นได้ของคนในพื้นท่ีที่อยู่ห่างไกลไม่ว่าสถานะของพวกเขาจะเป็นเช่นใด ในเรื่องของการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจ เรื่องของบริการภาครัฐและเรื่องของอัตลักษณ์ทางกฏหมาย ความเชื่อมโยงระหว่างหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นอาจจะซับซ้อนหรือว่ามีความเชื่อมโยงอยู่ได้ในวิถีการต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญของพวกเราที่จะทำความเข้าใจ ถึงผลกระทบซึ่งกันและกัน ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่วันนี้เราจะได้มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุมิเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน จากมุมมองของท่านเหล่านั้น

          ตั้งแต่เรื่องการพัฒนาระหว่างประเทศไปจนถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาชุมชน ข้าพเจ้าหวังว่าการอภิปรายเชิงสาธารณะอภิปรายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นดังกล่าวจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เราสร้างองค์ความรู้ที่สำคัญจากมุมมองที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางภายใต้หลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็ยังคงมีประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ซึ่งเราสามารถอภิปรายกันได้ เป็นต้นว่า การต่อสู้กับการทุจริต การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

         การอภิปรายอย่างกว้างขวางในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคนี้จะช่วยให้เราสามารถวางยุทธศาสตร์ สำหรับแผนของเราในการที่จะชนะปัญหาความท้าทายต่างๆ เพื่อจะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ประการที่สองจากการที่หลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะของการรวมที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วน มีการสร้างเครือข่ายและเครือข่ายเช่นนี้จะช่วยในการสร้างแนวคิดเพื่อนำมาเป็นแนวปฏิบัติ ข้าพเจ้ามุ่งหมายที่จะเห็นเครือข่ายของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น มาร่วมทำงานกันมากขึ้น ท้ายที่สุดนี้ในฐานะปัจเจกบุคคลข้าพเจ้ามีความเชื่อในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในหลักนิติธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเราจะต้องให้ความสำคัญในความพยายามที่จะให้ถึงบริบทในสถาการณ์ต่างๆ ความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกัน ก็จะนำไปสู่มุมมองต่างๆ กัน ในส่วนของข้าพเจ้าจะอยู่ในเรื่องของงความยุติธรรมทางอาญาและคนอื่นๆ ก็อาจจะค้นพบว่าเขา สามารถที่จะทำประโยชน์มากด้าน เช่น สุขอนามัย การต่อต้านการทุจริต การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือการลดความยากจน แม้ว่ามุมมองของเราจะแตกต่างกัน แต่ก็เชื่อว่าพวกเราทุกคนมีค่านิยมร่วมกัน ทุกคนทราบดีว่าหลักนิติธรรมเป็นเรื่องของการเคารพกฏหมาย ความยุติธรรม

พระองค์ภาฯ ทรงหนุนหลักนิติธรรม เป็นพื้นฐานพัฒนาสังคม

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ