Lifestyle

ซีสในเต้านม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดูแลสุขภาพ : ซีสในเต้านม รักษาได้ด้วยเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้โรคหาย

               สถิติโรคซีสต์พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบมากในมดลูก รังไข่ และเต้านม ซึ่งตามหลักศาสตร์แพทย์แผนจีนโรคซีสต์เกิดจากภาวะความเครียดสะสม หงุดหงิด ไม่สบายใจ ทำให้เส้นประสาทลมปราณมีปัญหา หรือเรียกอาการนี้ว่า “จิตอุดตัน” สามารถรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้โรคหายได้ ควบคู่กับการออกกำลังกายที่ไม่หนักเกิดไปจนทำให้สูญเสียพลัง
               ซีสต์พบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะในมดลูก รังไข่และเต้านม ซึ่งสาเหตุตามศาสตร์แพทย์แผนจีนมาจากการเกิดภาวะ “จิตอุดตัน” มีอารมณ์เครียดสะสม หงุดหงิดใจ ไม่สบายใจ เป็นเวลานานจิตไม่สามารถผ่อนคลายได้ทำให้เส้นประสาทลมปราณติดขัดเกิดเรียกว่า “ถาน” หรือ “เสมหะ” เพราะธาตุหยางในกระเพาะพร่องก่อเกิดของเสียตกค้าง แปรสภาพกลายเป็นเสมหะ เมื่อเสมหะสะสมมากขึ้นก็เริ่มเคลื่อนไหวไปอุดตันในอวัยวะต่างๆ กลายเป็นโรคซีสต์ในที่สุด
               อาการของซีสต์เริ่มต้นจะตรวจไม่พบด้วยเครื่องมือแพทย์ จะพบว่าเป็นซีสต์ต่อเมื่อเป็นก้อนใหญ่แล้ว ตามศาสตร์แพทย์แผนจีนถือว่าพบช้าไป ทำให้ทางเลือกของผู้ป่วยมีน้อยจำเป็นต้องผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออก ซึ่งมีผลเสียทำให้ผู้ป่วยเจ็บตัว และการผ่าตัดออกก็ไม่ได้รับประกันว่าซีสต์จะไม่กลับมาอีกเพราะอาจจะไปเป็นที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ที่คอ หรือต่อมน้ำเหลืองในระยะเวลา 1-2 ปี หรือถ้าอาการเป็นหนักอาจจะทำให้เป็นโรคมะเร็งในระยะเวลา 4-5 ปี
               การรักษาโรคซีสต์ตามหลักศาสตร์แพทย์แผนจีนให้รักษาที่ต้นเหตุก่อนที่ผลของโรคจะเกิดขึ้น คือรักษาที่จิตที่มีความอุดตัน อาจจะให้ผู้ป่วยทำสมาธิเพื่อให้ผ่อนคลาย ออกกำลังกายที่ไม่หักโหม หรือทำให้สูญเสียพลัง ทั้งนี้ผู้ป่วยในต่างประเทศเมื่อพบว่ามีอาการทางจิตมักจะไปพบจิตแพทย์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยส่วนใหญ่ในประเทศไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเรื่องจิตเท่าไร ไม่เข้าใจว่าทำไมจิตถึงต้องอุดตัน มีอาการเก็บกดไว้รอให้เป็นมากๆ ค่อยรักษา
               วิธีสังเกตอาการจิตอุดตันผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ตึงๆ มีลมข้างในเยอะ ตัวเย็นเกินไป รู้สึกไม่สบายตัว มีเสมหะเหนืยวๆ วนเวียนอยู่ในร่างกาย และหากตกค้างไว้นานจะทำให้เป็นซีสต์ได้ ซึ่งศาสตร์แพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้แต่เนิ่นๆ ด้วยการรับประทานยาสมุนไพร กัวซา หรือฝังเข็มติดต่อกัน 12 ครั้ง เพื่อบรรเทาอาการทำให้เลือดลมหมุนเวียนคล่อง อาการปวดก็จะค่อยๆ หายไป รวมทั้งผู้ป่วยต้องดูแลตัวเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สังเกตลิ้นตัวเอง ถ้าปกติลิ้นจะเป็นสีชมพู ถ้าลิ้นเป็นจุดสีดำ หรือใต้ลิ้นเป็นสีดำให้รีบรักษา หรือไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยอาการทิ้งไว้ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมและเรื่องการรับประทานอาหารก็สำคัญด้วย ไม่รับประทานเค้ก หรือไอศกรีม มากเกินไป ควรรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายอุ่นเมื่ออากาศเปลี่ยน เช่น น้ำขิงอุ่น เป็นต้น
               ทั้งนี้หลักแพทย์แผนจีนให้ความสำคัญกับ “ระบบตับ” รวมถึงเส้นลมปราณตับก็เป็นเส้นลมปราณสำคัญในการรักษาโรคทางนรีเวช เพราะหาก “ระบบตับ” เกิดความผิดปกติจะส่งผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิด โกรธง่าย และเกิดความเครียด อีกทั้งใบหน้าเศร้าหมอง ขณะเดียวกันหากการไหลเวียนลมปราณ (เลือดลม หรือชี่) ในเส้นลมปราณตับติดขัดจะทำให้การไหลเวียนเลือดติดขัดเช่นกัน ในสตรีจะเกิดอาการปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา หรือเกิดเนื้องอกได้ มีอาการเลือดจะคั่งค้างในมดลูก และอาจเกิดเป็นซีสต์หรือเนื้องอกในมดลูก รวมถึงเกิดอาการเจ็บอก ปวดคัดเต้านม และอาจเป็นซีสต์หรือเนื้องอกในเต้านมได้เช่นกัน ระบบเส้นลมปราณตับยังเกี่ยวพันกับใบหน้า ปัญหาฝ้า หากไม่ใช่เกิดจากพันธุกรรม ส่วนหนึ่งมักเกิดจากระบบตับเสียสมดุล รวมถึงการไหลเวียนของลมปราณตับติดขัด ดังนั้นผู้หญิงอายุ 30-50 ปี ใบหน้าจะเริ่มมีฝ้าเนื่องจากความเสื่อมถอยของ “ระบบตับ” การขาดการบำรุงและการดูแลที่ถูกต้อง การรักษาโรคจึงต้องมาดูที่ต้นเหตุ คือมาดูแลระบบตับ

อาจารย์หยาง เผยเซิน 

แพทย์จีนประจำคณาเวช

คลินิกการแพทย์แผนไทย

 

-------------------


รู้จักมะเร็ง...ก่อนที่มะเร็งจะรู้จักเรา

               ศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลธนบุรี เล็งเห็นถึงอันตรายของมะเร็งปากมดลูก และเห็นควรที่จะรณรงค์กระตุ้นให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเบื้องต้นกับผู้หญิงทุกราย ด้วย โปรโมชั่นทุกวันอังคาร ประกอบด้วย โปรโมชั่น 1 ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด (Vaginal Ultrasound) ราคา 2,400 บาท โปรโมชั่น 2 ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด (Vaginal Ultrasound) และตรวจเต้านม (Digital Mammogram & Breast Ultrasound) ราคา 5,400 บาท เริ่มตั้งแต่วันนี้-31 มีนาคม

               เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกปี จากสถิติผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงสุด 7 คนต่อวัน เป็น 14 คนต่อวัน ซึ่งคิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นถึง 100% ดังนั้นผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดก็ควรฉีดวัคซีนร่วมด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพโทร.1645 หรือ www.thonburihospital.com และ https://www.facebook.com/thonburihospitalclub

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ