Lifestyle

นอนไม่หลับ นอนกรน หายใจผิดปกติ สาเหตุที่เกิดโรคสมอง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดูแลสุขภาพ : นอนไม่หลับ นอนกรน หายใจผิดปกติ สาเหตุที่เกิดโรคสมอง

               เนื่องจากปัจจุบันพบตัวเลขในการตรวจเรื่องการนอนหลับไม่สนิท นอนกรน การหายใจผิดปกติขณะนอนหลับ ภาวะวูบหลับโดยไม่รู้สาเหตุ เพิ่มมากขึ้น ใน 1 ปี พบผู้ป่วยที่มาปรึกษาแพทย์จำนวน 400-500 คน การนอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ง่วงนอนมากผิดปกติ และผู้ป่วยโรคลมชัก รวมทั้งความเครียด ล้วนแต่เป็นโรคที่เกิดทางสมองและความจำถดถอย ทั้งสิ้น
               จำนวนผู้ป่วยที่พบความผิดปกติทางสมองที่เพิ่มมากขึ้น โรคที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรน หายใจผิดปกติ หลับลึก หลับมากเกินไป หรือหลับทั้งกลางวันและกลางคืน หลับนาน 3-4 วัน จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ทำให้ร่างกายรู้สึกไม่สดชื่น เพราะการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ความผิดปกติทางสมองที่พบได้บ่อยคือ โรคลมชัก จะแสดงอาการออกมาในรูปแบบของการชักเกร็ง กระตุก เหม่อลอย มีการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่รู้ตัว ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในขณะหลับและตื่น เนื่องจากสมองจะสร้างคลื่นไฟฟ้ารบกวนการทำงานของสมองโดยรวม
               โดยสาเหตุเกิดจากตัวสมองเอง เช่น สมองผิดปกติตั้งแต่กำเนิด มีอุบัติเหตุทางสมองหรือได้รับบาดเจ็บจากการเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ หรือสาเหตุการทำงานผิดปกติของสมองนั้น อาจไม่พบรอยโรค แต่เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรม จึงจำเป็นต้องหาสาเหตุเพื่อรับการรักษาได้อย่างตรงจุดก็จะช่วยแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะลมชักที่มีอาการชักบ่อยๆ จะมีผลให้ประสิทธิภาพความคิด สติปัญญา ความจำลดลง ความสามารถในการเรียนรู้ลดลง ปัจจุบันพบผู้ป่วยเป็นโรคลมชักแฝงจำนวนมากที่ต้องสูญเสียความจำไปชั่วขณะ เพราะไม่แสดงอาการให้เห็นจะพบได้มากในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน และอายุที่มากขึ้น มีความผิดปกติทางสมองตั้งแต่เกิด สมองฝ่อ
               ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซึมลง สับสน เหม่อลอย ซึ่งการรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยฟื้นฟูความทรงจำของผู้ป่วยให้กลับคืนมาได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่สมองอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากเกิดการชักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ขั้นตอนการรักษาจึงต้องเริ่มจากหาจุดกำเนิดการชักในสมอง (Epileptogenic Zone) และสาเหตุของจุดกำเนิดการชักนั้น เพื่อรักษาอย่างถูกต้อง เช่น รับประทานยากันชัก การผ่าตัด หรือ ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีบางอย่างเพื่อลดโอกาสชัก เนื่องจากอาการชักที่ต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้การทำงานของสมองโดยรวมถูกรบกวน จนทำงานผิดปกติไป
               การรักษาจะต้องตรวจวินิจฉัยหาตำแหน่งของสมองที่เกิดลมชักด้วย การตรวจการทำงานของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง Routein EEG หรือ ประกอบภาพวีดิทัศน์ Video-EEG monitoring เอกซเรย์สมอง ดูโครงสร้างสมองด้วย MRI/CT เอกซเรย์ดูการทำงานของสมองว่าผิดปกติอย่างไรด้วย PET SCAN, SPECTs และการตรวจโดยการใช้เทคโนโลยี เช่น การนำเครื่อง EEG และ fMRI มารวมกัน เพื่อหาตำแหน่งที่ทำให้เกิดการชักทำให้หาจุดกำเนิดที่ก่อให้เกิดการชักได้มากขึ้น ช่วยให้การผ่าตัดรักษาความผิดปกติทางสมองทำได้ผลสำเร็จสูงขึ้น ซึ่งการตรวจด้วยเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย สามารถตรวจหารอยโรคที่ก่อให้เกิดอาการชักได้ตรงจุดปัจจุบัน ศูนย์ตรวจการนอนหลับและศูนย์ลมชักกรุงเทพ บริการสำหรับผู้ป่วยทั้ง 2 ด้าน แบ่งเป็นตรวจการนอนหลับ 4 ห้อง ตรวจลมชัก 4 ห้อง พร้อมห้องคอนโทรลรูม และเจ้าหน้าที่เทคนิคการนอนเพื่อดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง
               โดยศูนย์ตรวจการนอนหลับ เน้นการให้บริการตรวจสุขภาพการนอนหลับ เพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ และกล้ามเนื้อ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะหลับ การตรวจนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการนอนผิดปกติ นอนกรน นอนมากผิดปกติ การหายใจผิดปกติ และมีภาวะผิดปกติในการนอนร่วมด้วย เช่น นอนละเมอ หรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายในขณะนอนหลับ ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการตาเหลือก กัดฟัน ใบหน้ากระตุก มีอาการเกร็งระหว่างนอนหลับ ฯลฯ
               เรามีบริการตรวจการนอนหลับ Sleep lab สำหรับการนอนหลับในตอนกลางคืน (Night Sleep Lab) และการตรวจในห้องมืดช่วงกลางวัน (Day time sleep lab) มีเจ้าหน้าที่เทคนิคการนอนเพื่อดูแลผู้ป่วยและปรับระดับความดันของเครื่อง CPAP ขณะการตรวจรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ฯลฯ มีการตรวจประเมินช่วงหลับและช่วงตื่นโดยการวัดหาค่าจากกราฟ Actigraphy เป็นอุปกรณ์พิเศษคล้ายนาฬิกาที่ใส่ติดตัวไว้กับข้อมือของผู้ป่วย ทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมการนอนหลับของผู้ป่วยได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืนได้ แล้วนำมาอ่านผลโดยแพทย์ทางด้านการนอนหลับ

ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์

แพทย์ด้านระบบประสาทวิทยา

โรคลมชัก การนอนหลับผิดปกติ

และโรคความจำถดถอย

ศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ

โรงพยาบาลกรุงเทพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ