วันนี้ในอดีต

19 ส.ค.2550 อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

12 ปีที่แล้ว ทำไมบรรยากาศไม่เปลี่ยน

 

หา! อะไรนะ12 ปีหรือ 1 รอบมาแล้วหรือนี่ ที่คนไทยได้มีการออกเสียงลงประชามติครั้งแรก

 

หา! อะไรนะ เราเพิ่งมีการลงประชามติเมื่อ 12 ปีที่แล้วเองหรือ

 

คนไทยหลายคนพอได้ยินว่าวันนี้เป็นวันครบ 1 รอบของการลงประชามติ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 อาจจะคิดแบบนี้เหมือนกัน เพราะทางหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ มีบทบัญญัติรับรอง เรื่อง การออกเสียงประชามติไว้อยู่ก่อนแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่เคยจัดให้มีการออกเสียงประชามติในระดับชาติเลยสักครั้ง

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

 

จึงอาจกล่าวได้ว่า การออกเสียงประชามติตามมาตรา 29 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 เป็นการออกเสียงประชามติระดับชาติครั้งแรกของประเทศไทย

 

และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ออกมารองรับในการจัดทำออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 

 

และต่อไปนี้คือเรื่องราวของการออกเสียงประชามติครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนั้นของคนไทย

 

 

ออกเสียงทำไม

 

สำหรับวัตถุประสงค์ในการทำประชามติครั้งนั้น เราคงยังไม่ลืมว่า คือการให้ประชาชนออกเสียงเห็นชอบ-หรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

 

ทั้งนี้ ภายหลังที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้นำการออกเสียงประชามติมาใช้ ดังปรากฏในมาตรา 165 โดยการจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในสองกรณี คือ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

มาสคอต "มนุษย์ไฟเขียว" สนับสนุนการรับร่างรัฐธรรมนูญ

 

 

และในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ โดยรัฐต้องดำเนินการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ

 

 

 

ความสำคัญประชามติ

 

การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 ครั้งนั้น ปรากฏว่าตั้งแต่เช้า 08.00 น.ถึง 16.00 น. คนไทยได้เข้าคูหา กากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง

 

โดยถ้าผลออกมา “เห็นชอบ” มากกว่า ก็ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

ธงไชย แมคอินไตย์ไปลงประชามติที่ซอยสุขุมวิท 101 (ภาพจากวิกิพีเดีย)

 

 

แต่ที่ “ไม่เห็นชอบ” มากกว่า ก็ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

ศกลรัตน์ วรอุไรไปลงประชามติที่แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

(ภาพจากวิกิพีเดีย)

 

 

ได้มีการกล่าวไว้ว่าถ้าประชาชนส่วนมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเลือกตั้งครั้งต่อไปยังคงมีอยู่ภายในปี 2550 โดยจะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 บางส่วนมาดัดแปลงแก้ไข

 

แต่ตอนนั้นหากจำกันได้ ก็ยังมีกระแสข่าวลือว่า ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นปัญหาที่วุ่นวายต่อเนื่องไม่จบง่ายๆ

 

 

รณรงค์ “ไม่รับ”

 

ปรากฏว่า ด้วยสภาพการณ์ทางการเมือง ที่มีกลุ่มคนไม่เห็นด้วบกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทั้งเนื้อหาและที่มา จึงมีการออกมาทำรณรงค์ไม่รับร่าง แม้ว่าจะผิดกฎหมาย พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ที่ระบุว่าห้ามการรณรงค์ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

หนึ่งในตัวอย่างโฆษณาที่รณรงค์ให้ปฏิเสธการรับร่างรัฐธรรมนูญ

 

 

แน่นอน การห้ามดังกล่าวถูกต่อต้านจาก องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ Asian Human Rights Commission (AHRC)

 

โดย AHRC ได้กล่าวว่า “กฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะ ข่มขู่และปิดปากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของรัฐบาล ถึงจะถูกดัดแปลงแก้ไขให้สามารถรณรงค์ แบบกล่าวแต่เพียงข้อเท็จจริงก็ตาม”

 

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ได้ระบุว่าความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี สำหรับผู้ที่กระทำการในหลายๆ ลักษณะที่มีผลให้เกิดการลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เช่น สติกเกอร์รณรงค์ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญบนรถแท็กซี่ ก็ผิดกฎหมาย

 

แถมสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยังลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์มติชน นับตั้งแต่วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2550 ด้วยข้อความที่ว่า “รวมพลังลงประชามติ เห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ ให้เมืองไทยมีการเลือกตั้ง” ทำให้เกิดกระแสความไม่เห็นด้วยกับประโยคเจ้าปัญหาดังกล่าว

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

 

 

ช่วงนั้นมีการกล่าวหาว่าอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ได้ทำการซื้อเสียงเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิออกเสียงในประชามติ เลือก “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม คำกล่าวข้างต้นไม่ได้มีการนำหลักฐานมารองรับการกล่าวหา และไม่ได้แจ้งความผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าซื้อเสียง

 

 

ผลการออกเสียง

 

ที่สุดตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 นับว่าเป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

 

 

ผลปรากฏว่า จากมีผู้มีสิทธิทั้งหมด 45,092,955 คน มีผู้ออกมาใช้สิทธิ 25,978,954 คน หรือคิดเป็น 57.61%

 

จำแนกเป็นบัตรที่เป็นบัตรดี 25,474,747 เสียง (98.06%) และเป็นบัตรเสีย 504,207 เสียง (1.94%) ผลคะแนนออกมา มีผู้เห็นชอบ 14,727,306 เสียง คิดเป็นร้อยละ 57.81% ขณะที่มีเสียงไม่เห็นชอบ 10,747,441 เสียง หรือ 42.19%

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

 

ที่สุด ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย

 

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แตกต่างจากฉบับ พ.ศ. 2540 อยู่หลายประการ เช่น มีการถอดรื้อโครงสร้าง เช่น สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ องค์กรอิสระ อำนาจตุลาการ การเงินการคลังงบประมาณ ฯลฯ

 

 

19 ส.ค.2550  อั๊ยย่ะ! ประชามติครั้งแรก

 

*******************///********************

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ