วันนี้ในอดีต

26 ก.ค.2451  กำเนิดเอฟบีไอ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อ 111 ปีก่อน

 

คอการเมืองอาจรออ่านเรื่องราวของ อดีตนายกฯ รัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ผู้ซึ่งมีวันคล้ายวันเกิดตรงกับวันนี้

 

แต่วันนี้ขอนำเสนอเรื่องต่างแดนกันบ้าง ที่จะว่าไปก็ไกลตัวคนไทยอยู่พอได้ แต่จะว่าไปก็ไม่ไกลเลยเพราะเวลาเราดูหนังฝรั่ง โดยเฉพาะหนังสืบสวนสอบสวน อาชญากรรม ฆาตกรรม จะต้องมีองค์กรนี้โผล่มาทุกที

 

ก็ “เอฟบีไอ” สุดเท่ห์ของใครๆ หลายๆ คนยังไงล่ะ และวันนี้เมื่อ 111 ปีก่อน คือวันที่องค์กรอันใหญ่โตคับโลกแห่งนี้กำเนิดเกิดขึ้นมา

 

 

จุดตั้งต้น

 

เอฟบีไอ หรือชื่อเต็มว่า "สำนักงานสอบสวนกลาง" หรือ  "Federal Bureau of Investigation เรียกสั้นๆ ว่า FBI ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 กรกฎาคม 2451 ในชื่อ สำนักงานสอบสวนกลาง (Bureau of Investigation) ของกระทรวงยุติธรรม หรือ บีไอ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ใน ค.. 1935 สำนักงานใหญ่เอฟบีไออยู่ที่อาคารเจ. เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ในวอชิงตัน ดี.ซี.

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

ตราของสำนักงาน

 

 

เอฟบีไอเป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ

 

อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

ตราโล่เจ้าหน้าที่พิเศษสำนักงาน

 

 

แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้น เทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย

 

แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

ธงของสำนักงาน

 

 

แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก

 

สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน

 

อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน

 

 

ที่ว่าเจ๋ง

 

เคยมีผู้รวบรวม 5 คดี ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นสุดยอดผลงานของเอฟบีไอ คือ

 

1. คดี อัล คาโปน

 

ที่เราจะคุ้ยเคยกันดีจากภาพยนตร์ The Untouchables (1987) แต่ อัล คาโปน หรือ "แอลฟอนซ์ แกเบรียล คาโปน" มีตัวตนอยู่จริง  เป็นมาเฟียระดับมหากาฬ พูดง่ายๆ ว่าจอมวายร้าย ทั้งค้าสุราเถื่อน รวมถึงกิจกรรมนอกรีต ทั้งค้าประเวณี อยู่ในเมืองชิคาโกระหว่างต้นทศวรรษที่ 1920 ถึงปี 1931

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

 

รายนี้ขึ้นทำเนียบที่ FBI ขีดตัวแดงว่าต้องกำราบให้ได้ และก็จับไม่ได้มาหลายครั้งหลายครั้ง ด้วยความฉลาดเอาตัวรอดเก่ง จึงลอยนวลเดินถนนไม่ได้เกรงกลัวกฎหมาย

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

อัล คาโปน ตัวจริงในอดีต

 

 

แถมยังทำให้ชาวบ้านรักด้วยการทำบุญคนยากจน จนผู้คนเรียกเขาว่า “โรบิน ฮูด ยุคใหม่”

 

จนกระทั่งมาตายน้ำตื้นจากข้อหาที่เจ้าหน้าที่ที่ยัดความผิดข้อหาเดียวคือ “หลีกเลี่ยงภาษี” แถมยังถูกส่งตัวไปยังคุกอัลคาทราซ  คุกสุดโหดแห่งซานฟรานซิสโก อยู่จนพ้นโทษในปี 2482 และตายหลังจากนั้นปี 8 ปี

 

 

2.จอห์น ดิลลิงเจอร์ หรือ จอห์น เฮอร์เบิร์ต ดิลลิงเจอร์ จูเนียร์

 

รายนี้สื่อให้ฉายาเขาว่า “สุภาพบุรษจอมโจร” สร้างชื่อเสียงด้วยการปล้นธนาคารใหญ่ ๆ ถึง 11 ครั้ง ได้ยอดเงินรวม 3 แสนดอลลาร์สหรัฐมีเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนทั่วไปเสียชีวิตถึง 15 ราย และบาดเจ็บ 17 คน สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วประเทศ

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

จอห์น ดิลลิงเจอร์ ตัวจริง

 

 

ถึงขนาดที่เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ตอนนั้นเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของเอฟบีไอ ประกาศผ่านทางวิทยุกระจายเสียงว่า เป็น“ศัตรูของรัฐอันดับหนึ่ง”

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

 

ในที่สุด เขาก็ถูกวิสามัญฆาตกรรมที่หน้าโรงหนัง ในวัย 31 ปี หลังดูหนังเสร็จกับสาวถึงสองคนที่เป็นนางนกต่อของเอฟบีไอ คนไทยอาจไม่คุ้ยเท่าไหร่

 

แต่เรื่องราวของเขาถูกสร้างเป็นหนังเรื่อง Public Enemies แต่เรื่องราวของเขาก็เคยสร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว คือ Dillinger ปี 1973)

 

 

3. บอนนีและไคลด์

 

หรือ บอนนี เอลิซาเบธ พาร์คเกอร์ และ ไคลด์ เชสนัต บาร์โรว์ เป็นโจรชิงทรัพย์ชาวอเมริกันจากพื้นที่ดัลลัส และท่องสหรัฐอเมริกาตอนกลางพร้อมแก๊งระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

 

ทั้งคู่ได้สร้างความหวาดกลัวแก่ประชาชนในช่วง 4 ปีสุดท้าย สังหารผู้คนไปถึง 12 คน ปล้นทั้งธนาคารและปั้มน้ำมัน โดยบาร์โรว์ อายุ 25 และพาร์คเกอร์อายุ 23 ปี

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

 

แต่แล้วทั้งคู่ก็โดนวิสามัญเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2477 โดยขับรถเข้าไปติดกับดักที่ตำรวจเตรียมไว้และถูกยิงเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่จากรัฐเท็กซัสและหลุยเซียนา

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

 

แน่นอน เรื่องราวของบอนนีแอนด์ไคลด์ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน  Bonnie and Clyde (1967)

 

 

4. เพร็ทตี บอย ฟลอยด์ หรือ  ชาร์ลส์ อาร์เธอร์ ฟรอยด์

 

เขาคือจอมอาชญากรที่ก่อคดีมากมายคนหนึ่ง แถมยังเคยก่อเหตุยิง 1 ใน เจ้าหน้าที่ 3 คน คือ สารวัตรสืบสวนตำรวจโอคลาโฮมา 1 นาย ที่ถูกฆาตกรรมกลางแจ้งขณะควบคุมจอมอาชญากรที่ก่อคดีมากมายคนหนึ่งกลับสู่เรือนจำ หลังจากหลบหนีมานานถึง 3 ปี

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

คดีนี้ช็อกคนทั่วแคนซัส ซิตีทั้งเมืองเพราะมันเกิดขึ้นกลางเมืองต่อหน้าสาธารณชนมากมาย ทำให้นำไปสู่การจับตายเขาในที่สุด

 

เรื่องราวของเขาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ เช่น Meet  Pretty Boy Floyd (1960), A Bullet for Pretty Boy (1970) 

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ     26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ    

 

 

 

5.คดีลักพาตัวหนูน้อย ลินด์เบิร์ก 

 

เหตุเกิดเมื่อ 2475 ที่บ้านของ ชาร์ลส์ ออกุสตุส ลินด์เบิร์ก นักบินชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง เขาถูกบุกรุกโดยคนแปลกหน้า และำเ้ลักพาตัวหนูน้อย ชาร์ลส์ เอ. ลินด์เบริร์ก จูเนียร์ วัย 1 ขวบ ไปโดยที่ทุกคนในบ้านไม่รู้ตัว พร้อมมีจดหมายเรียกค่าไถ่เงินนับล้านดอลลาร์ เพื่อแลกกับชีวิตเด็ก

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ  

 

 

แนนอนตำรวจทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแลกตัวหนูน้อย และบรรดาสื่อยังเรียกเรือ่งนี้ว่าเป็น “อาชญากรรมแห่งศตวรรษ” แต่น่าเศร้าที่มีคนพบศพเด็กหลังจากหายไปกว่า 2 เดือน ว่ากันว่าลูกชายของเขาเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ลักพาตัวแล้ว

 

และเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กและครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ในยุโรป และก็ไม่รู้ว่า คดีนี่เอฟบีไอจะภูมิใจได้อย่าง เพราะคำเฉลยไม่เคลียร์มาจนทุกวันนี้

 

โดยแม้ว่าทางการจะสามารรถจับกุมคนร้ายได้คือช่างไม้คนหนึ่ง ที่มีคนค้นพบเงินซุกซ่อนอยู่ในบ้านของเขา เขาจึงถูกตั้งข้อหาลักพาตัวและฆาตกรรม จนนำไปสู่การตัดสินประหารชีวิต

 

แต่เขายังคงปฏิเสธมาตลอด จนเคยมีผู้ตั้งข้อสงสัยประมาณว่า บางทีอาจเป็นพ่อหรือแม่ของเด็กเองที่พลั้งมือทำให้ลูกเสียชีวิต เลยจัดฉากการถูกลักพาตัวขึ้นมาและวางแผนให้มีแพะสักคน แต่นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ไม่มีใครหาความจริงต่อ ก็เท่านั้น

 

 

26 ก.ค.2451   กำเนิดเอฟบีไอ

 

 

เรื่องนี้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ ชื่อ Crime of the Century (1996)

 

*******************//*********************

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ