วันนี้ในอดีต

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้ในอดีต

 

***********************

 

วันนี้เมื่อ 115 ปีก่อน คือวันประสูติของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา หรือ พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

 

ในด้านหนึ่ง พระองค์ยังทรงเป็นหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอีกด้วย

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

 

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

 

 

วันนี้ในอดีตขอรำลึกถึงพระองค์ด้วยการอันเชิญพระประวัติมานำเสนอดังต่อไปนี้

 

ช่วงพระชนชีพ

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ประสูติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 เป็นพระโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่ประสูติแต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

พระราชบิดาและพระราชมารดาของหม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

 

 

มีพระนามแรกประสูติว่า หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา มีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าเกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพตักษัยในวันเดียวกัน ประมาณปี พ.ศ. 2446

 

พลอากาศโท หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ประสูติเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 สิ้นชีพตักษัย 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508

 

มุมหนึ่งแห่งชีวิตที่น่าเศร้า คือ หลังวันคล้ายวันประสูติเพียงสองวัน ในขณะที่พระองค์มีพระชนมายุได้เพียง 4 พรรษา พระมารดาทรงน้อยพระทัยพระบิดา ได้ตัดสินพระทัยปลงชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451

 

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงรับพระองค์ไปเลี้ยงดู ทรงเอ็นดูเป็นพิเศษและโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452

 

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ จึงมีการเปลี่ยนแปลงคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ตามรัชกาล ดังนั้น พระองค์จึงมีพระอิสริยยศที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

 

ต่อมาในวัย 25 พรรษา พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อภิเษกสมรสกับ หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา นางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2472 ไม่ทรงมีทายาทสืบสกุล

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา

 

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคมะเร็ง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2489 สิริพระชนมายุ 42 พรรษา

 

มีมุมที่น่าประหลาดใจว่า พระองค์สิ้นพระชนม์ในพระชันษาที่เท่ากันกับพระราชบิดา หรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้น 23 ปี จากทรงพระประชวรด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ ในพระชนมายุ 42 พรรษา เช่นเดียวกัน

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

องค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา กับ หม่อมกอบแก้ว อาภากร ณ อยุธยา

คู้รักที่จากไปในวันเดียวกัน ห่างกัน 62 ปี

 

 

และวันที่ 19 พฤษภาคม ยังเป็นวันเสียชีวิตของพระชายาของพระองค์เองด้วย โดยหม่อมกอบแก้วเสียชีวิตในวันที่ 19 พฤษภาคม 2551

 

สำหรับพระอิสริยยศมีดังนี้

 

หม่อมเจ้าอาทิตย์ทิพอาภา อาภากร (24 กรกฎาคม 2447-28 พฤศจิกายน 2452)

พระหลานเธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (28 พฤศจิกายน 2452-30 ตุลาคม 2453)

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (30 ตุลาคม 2453-16 พฤศจิกายน 2481)

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา (16 พฤศจิกายน 2481-19 พฤษภาคม 2489)

 

 

 

ผู้สำเร็จราชการ

 

ช่วงมีนาคม ปี 2477 พระกิจหนึ่งที่นับว่าสำคัญยิ่งคือ พระองค์ทรงทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ร่วมกับบุคคลสำคัญต่างๆ ดังนี้

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์ อดีตองคมนตรี และราชเลขานุการใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

 

เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการเสนาบดีกระทรวงนครบาลทั้งยังเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง การประปานครหลวง การไฟฟ้ามหานคร ถนนและสะพานในกรุงเทพมหานคร

 

พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

 

และ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน และอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8 พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

 

 

อย่างไรก็ดี ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ทรงลาออกเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2487 หรือทรงดำรงตำแหน่งอยู่นานถึง 10 ปี 

 

โดยในระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

 

อนึ่ง ในส่วนของตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้น ภาระหน้าที่โดยย่อคือ เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินในพระปรมาภิไธยหรือพระนามาภิไธยพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะก็ดี ทรงพระประชวรก็ดี ทรงไม่อาจบริหารพระราชกิจได้ก็ดี หรือไม่ทรงอยู่ในประเทศก็ดี

 

ในสมัยราชวงศ์จักรีเริ่มมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เนื่องจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์

 

จากข้างต้น คนไทยจึงพอจะเข้าใจว่า เหตุใดเวลานั้น จึงต้องมี ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เป็นวันที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

ภาพจาก ผู้ใช้ทวิตเตอร์ Axdaman

 

 

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลที่มีพระชันษาเพียง 8 ปี ซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 ขึ้นทรงราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระวรวงศ์เธอ

 

พระองค์เจ้าอานันทมหิดล สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไปตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 และได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2477 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

 

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

 

 

ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมพรรษาเพียง 8 พรรษา และยังทรงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงทำให้ต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ นั้นเอง

 

ทั้งนี้ เบื้องต้นมี  พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) 

 

จากนั้น เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม  2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 

และเมื่อเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร

 

เชื่อว่าคนไทยจำได้ดีว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

ทรงเคยให้สัตย์ปฏิญาณในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภา ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2499 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

 

พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา  ผู้สำเร็จราชการแทนล้นเกล้า ร.8

 

สำหรับ ธงประจำตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กำหนดให้มีขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479 สำหรับใช้เป็นเกียรติยศของผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 

ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีขาว ตรงกลางของผืนธงมีอาร์มสีเหลือง กว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างของผืนธง ภายในอาร์มสีเหลืองมีอาร์มสีธงชาติกว้าง 3 ใน 5 ส่วนของความกว้างของอาร์มสีเหลือง เหนืออาร์มมีครุฑพ่าห์สีแดงขนาดเท่าอาร์มสีเหลือง

 

****************//*******************

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ