วันนี้ในอดีต

29 เม.ย.2531 สุดจัด สวัสดี 1 นายกฯ ยุบ 3 รอบ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เรื่องยุบสภาไม่ใช่เกมมือถือที่จะตั้งยุบ ยุบตั้ง กันได้ง่ายๆ มันต้องมีสาเหตุ!

          พูดก็พูดไป นายกรัฐมนตรีที่สามารถยุบสภาได้สามครั้ง แปลว่านายกฯ ท่านนั้นต้องได้เป็นนายกฯ ถ้าไม่เพราะได้นั่งเก้าอี้นายกฯ หลายครั้ง ก็แปลว่านั่งเก้าอี้นายกฯ ยาวนานพอที่จะทำได้ สุดจัดกว่านี้มีอีกมั้ย

          และอดีตนายกฯ ไทยที่สามารถทำทริปเปิ้ล หรือแฮทริกซ์แล้วแต่จะเรียก ไม่มีอีกแล้วจะเป็นใครไปได้นอกจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์     

 

29 เม.ย.2531  สุดจัด สวัสดี  1 นายกฯ ยุบ 3 รอบ      

          และวันนี้เมื่อ 31 ปีก่อน หรือตรงกับว่าที่  29 เมษายน พ.ศ. 2531 เป็นวันที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ยุบสภาอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มีบันทึกไว้ว่า นับเป็นครั้งที่ 3 ในชีวิตการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ที่เป็นหัวหน้ารัฐบาลอยู่อย่างต่อเนื่องกันนานถึง 8 ปี ถือว่าได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่ยุบสภามากที่สุดตั้งแต่มีนายกรัฐมนตรีมา

          สำหรับข้อมูลจาก “สถาบันพระปกเกล้า” ได้ไล่เรียงความเป็นมาก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้ เพื่อให้เห็นบริบท ว่าเหตุใดทำไม เพราะเรื่องยุบสภาไม่ใช่เกมมือถือที่จะตั้งยุบ ยุบตั้ง กันได้ง่ายๆ มันต้องมีสาเหตุ!

          เรื่องของเรื่องมีว่าหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พรรคการเมืองที่ลงสู่สนามเลือกตั้งได้เสียงมาแต่ละพรรคไม่มากพอที่จะตั้งรัฐบาลพรรคเดียว

 

29 เม.ย.2531  สุดจัด สวัสดี  1 นายกฯ ยุบ 3 รอบ

 

          ครั้นจะให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลและได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป พรรคการเมืองอื่นๆ ก็ไม่เต็มใจรับ ประกอบกับผู้นำทหารบางคนก็เข้ามาจัดการที่จะหาคนกลางคือไม่สังกัดพรรคการเมืองใดมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล

          ผลจึงทำให้พรรคการเมืองสำคัญๆ ได้เสนอชื่อ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปอีกต่อประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นประธานรัฐสภาตามกติกาที่เป็นอยู่ในตอนนั้น

          ครั้นพอนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตั้งรัฐบาล แบ่งจำนวนตำแหน่งรัฐมนตรีไปให้พรรคการเมืองต่างๆ เสร็จ บริหารประเทศไปได้ไม่นาน ก็มีความไม่พอใจเกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล เพราะว่าการหารือนั้น นายกรัฐมนตรีก็ทำกันกับหัวหน้าพรรคการเมืองเท่านั้น ความไม่พอใจอันเนื่องมาจากแบ่งปันตำแหน่งรัฐมนตรีในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นได้ทำให้มีกลุ่มขึ้นมาในพรรคนี้เรียกว่า “กลุ่ม 10 มกรา” ทั้งนี้เป็นชื่อที่ได้มาในวันและเดือนที่มีการรวมตัวกันแสดงเจตนาคัดค้านผู้นำพรรคและค้านมติบางอย่างของพรรค         

         การขัดแย้งภายในพรรคประชาธิปัตย์ได้ลามมาถึงรัฐบาลในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2531 ซึ่งเป็นวันที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ และรัฐบาลชนะ แต่เป็นการชนะที่มีเสียงสนับสนุน 183 เสียงต่อ 134 เสียง และในเสียงที่ค้าน 134 เสียงนี้ มีเสียงของสมาชิกสภาที่สังกัดพรรคประชาธิปัตย์รวมอยู่ด้วยถึง 32 เสียง ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นของพวก “กลุ่ม 10 มกรา”

 

29 เม.ย.2531  สุดจัด สวัสดี  1 นายกฯ ยุบ 3 รอบ

          ในภาวะเช่นนี้ ทางผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้แสดงความรับผิดชอบ โดยให้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมดจำนวน 16 คน ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในวันรุ่งขึ้นทันที

          ด้วยเหตุนี้โดยแท้ นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จึงได้เลือกการยุบสภาเป็นทางออกของปัญหาการเมืองนี้ มากกว่าการปรับคณะรัฐมนตรีหรือการลาออกของรัฐบาล ดังมีความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาว่า

          ปรากฏว่าพรรคการเมืองต่างๆ หลายพรรคไม่สามารถจะดำเนินการในระบบพรรคการเมืองได้อย่างมีเอกภาพ สมาชิกสภาผู้แทนฯ ในสังกัดพรรคการเมืองยังไม่ยอมรับรู้ความคิดเห็นหรือมติของสมาชิกฝ่ายข้างมากในพรรคของตน อันเป็นการขัดต่อวิถีทางการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินและการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก”

          การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ก็ตามมาคือการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 อันเป็นการเลือกตั้งที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ไม่ได้ลงเลือกตั้งด้วย

 

29 เม.ย.2531  สุดจัด สวัสดี  1 นายกฯ ยุบ 3 รอบ

http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/335921

 

    หลายคนอาจจำได้ว่าวันนั้นคือวันที่มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 17 ของประเทศไทย จากเพลงรณรงค์เลือกตั้ง ครั้งที่ทำให้ลูกเล็กเด็กแดงได้ยินได้ฟังและอาจจดจำท่อนสร้อยของเพลงได้ดีมาจนถึงทุกวันนี้ คือ

          "...24 กรกฎา ชาวประชาต้องไปเลือกตั้ง  24 กรกฎา ชาวประชาต้องไปเลือกตั้ง..."

          และภายหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้จะมีการมองไปที่ท่านว่าจะกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก แต่ท่านเองได้เป็นผู้ประกาศวางมือจากตำแหน่งทางการเมือง ปล่อยให้พรรคการเมืองไปจัดการกันเอง จบปิ้ง!

///////////////////

ขอบคุณข้อมูลจาก

สถาบันพระปกเกล้า เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ