วันนี้ในอดีต

22 เม.ย. 2537 ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

  ปรากฏว่าช่วงเวลาที่นิกสันควรจะเฉลิมฉลองตำแหน่งอีกสมัย ตัวละครที่ถูกเรียกว่า "ดีพ โธรท" ก็ปรากฏตัวขึ้น

          ถ้าพูดถึงหนึ่งในผู้นำสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง และฉาวที่สุดคนหนึ่ง เห็นจะหนีไม่พ้น ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกาไปได้

          ด้านหนึ่ง เขามีชื่อเสียงอย่างทะลุโลกเนื่องจากเป็นที่ยอมรับว่า ในสมัยของเขานั้น ประสบความสำเร็จในด้านการทูต โดยเฉพาะการผ่อนคลายความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียตและประเทศจีนรวมไปถึงการถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม

          หากแต่ในด้านฉาวนั้น ต้องบอกว่าหนักกว่า เพราะเขาเป็นประธานาธิบดี “คนแรกและคนเดียว” ที่ลาออกจากตำแหน่ง สาเหตุที่ลาออกนั้นเกิดจากคดีวอเตอร์เกตอันอื้อฉาวสะเทือนโลก! 

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก    

ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน  

 

         แต่ความเจ็บปวดใดๆ ของเขาก็จบลงเมื่อวันนี้ของ 25 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 22 เมษายน 2537 ริชาร์ด นิกสัน ได้ถึงแก่อนิจกรรม จากอาการป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และจากไปด้วยวัย 81 ปี

          วันนี้ในอดีตนำผู้อ่านเดินทางย้อนไปดูประวัติของเขากันดีกว่า ริชาร์ด มิลเฮาส์ นิกสัน เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2456 พ่อของเขาเป็นเจ้าของไร่มะนาวเทศเล็กๆ ที่เมืองยอร์บา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนีย

          ครอบครัวของนิกสันจัดว่ายากจน แต่นิกสันก็ยังได้ร่ำเรียน และเข้ารับการศึกษาที่วิทยาลัยวิตทีเออ (Whittier College) และจบในปี 2477 หลังจากนั้นเขาจึงตัดสินใจเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke University) ทางด้านกฎหมาย

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

นิกสันขณะเรียนไฮสคูล ช่วงปี 2473 อายุ 17 ปี

 

          เรียนจบมาเขาก็เข้าทำงานในด้านกฎหมาย ราวปี 2480 เขาเข้าทำงานกับสำนักงานคณะกรรมการราคา ที่รัฐวอชิงตัน หลังจากทำงานได้ 5 ปีสงครามโลกครั้งที่สองก็เริ่มขึ้น นิกสันจึงถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเรือสหรัฐอเมริกาโดยได้ยศร้อยโทก่อนจะถูกส่งไปประจำการที่น่านน้ำแปซิฟิก

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

นิกสันขณะเป็นทหารเรือ

 

          2489 หลังจากสงครามโลกจบได้หนึ่งปี นิกสันลาออกจากกองทัพแล้วเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคริพับลิกัน ชีวิตช่วงนั้้นเขาได้เข้าร่วม House of Un-American Activities Committee (HUAC) เพื่อไล่ล่ากลุ่มคอมมิวนิสต์ที่อาศัยอยู่ในอเมริกา ซึ่งมีผลงานที่ดีจนส่งผลให้นิกสันจึงเริ่มเป็นจุดสนใจของสาธารณะมากขึ้น จนทำให้นิกสันได้เก้าอี้รองประธานาธิบดี ทีมเดียวกับ  ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ที่ได้เก้าอี้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 34 ของฝ่ายพรรคพรรคริพับลิกัน 

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

 

          อย่างที่เกริ่นไว้ นิกสันนั้นมีผลงานดีเรื่องลดความตึงเครียดในช่วงสงครามเย็น ทำให้ในปี 2503 เขาได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคริพับลิกันเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งที่ 35 แต่เขาพ่ายให้กับ จอห์น เอฟ. เคนเนดี  (JFK) จากพรรคพรรคเดโมแครต ว่ากันว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นสนุกและลุ้นสุดๆ เพราะ JFK เฉือนเอาชนะ ริชาร์ด นิกสันด้วยคะแนนที่หวุดหวิดที่สุดในประวัติศาสตร์

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

จอห์น เอฟ. เคนเนดี  (JFK)

 

          จะด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่า แน่ล่ะ เพราะเคนเนดี้นั้นหล่อลาก ส่วนนิกสันนั้นจมูกโตไม่น่ารัก แต่ที่สุดนิกสันก็หันหัวกลับไปทำอาชีพทนายความอยู่พักหนึ่ง

          อย่างไรก็ดี ชาวโลกรู้ดีว่า การเมืองมะกันช่วงนั้นร้อนแรงถึงขั้นผู้นำวัยเพียง 43 คนที่ชาวมะกันรักมากที่สุดคนหนึ่งอย่าง JFK ถูกลอบสังหารเสียชีวิต ในปี 2506 หลังบริหารได้เพียงสองปีกว่าๆ จนหลายคนบอกว่า ถ้านิกสันชนะ JFK ก่อนหน้านั้น บางทีอาจเป็นนิกสันเองก็ได้ที่รับกระสุน

          แต่นั้นก็มิได้ทำให้นิกสันกลัว เพราะ 8 ปีต่อมา ในวัย 55 เขาได้ตัดสินใจเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในปี  2511 และครั้งนี้เขาได้ก็ได้รับชัยชนะเป็นประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐอเมริกาต่อจาก ลินดอน บี.จอห์นสัน ที่รับตำแหน่งทันทีหลัง JFK เสียชีวิต เนื่องจากขณะนั้นเขาเป็นรองประธานาธิบดีอยู่

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

ลินดอน บี.จอห์นสัน

 

          นิกสันดำรงตำแหน่งผู้นำมะกันอย่างเป็นทางการวันที่ 20 มกราคม 2512 และแน่นอนงานถนัดของนิกสัน คือ การเชื่อมผสาน เขาได้เดินหน้าการลดความตรึงเครียดกับสหภาพโซเวียตและจีน พยายามปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศที่มุ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลตลอดจนสะสมและสร้างอาวุธนิวเคลียร์มาเป็นการสร้างความสัมพันธ์ฉันมิตรต่อกัน และร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การค้าและวัฒนธรรม

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

 

          ช่วงนั้น บรรยากาศอันตึงเครียดของสงครามเย็น ในทวีปยุโรป และดินแดนส่วนอื่นๆ ของโลกจึงผ่อนคลายลง

          ที่ยังคงเป็นหน้าประวัติศาสตร์ยากจะลืมคือ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2515 นิกสันได้ตัดสินใจเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก และนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เยือนประเทศจีนในยุคคอมมิวนิสต์

          นิกสันเข้าพบกับประธาน เหมา เจ๋อตง ผู้นำประเทศจีนในขณะนั้น และนี่ก็ถือว่าเป็นก้าวแรกในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง

          อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่กับประเทศคู่แค้นอย่างเวียดนาม กลับไม่ลงเอยด้วยดีเท่าไหร่ เพราะหลังการเจรจากับเวียดนามเหนือที่กรุงปารีสเพื่อหยุดสงครามไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ถึงสถานะของเวียดนามเหนือหลังการหยุดยิง เวียดนามใต้เองก็ไม่ยอมรับเงื่อนไขของเวียดนามเหนือ

          เป็นเหตุให้ในที่ 18 ธันวาคม ปีเดียวกัน รัฐบาล ริชาร์ด นิกสัน ได้สั่งบอมบ์เวียดนาม ทั้งที่ กรุงฮานอย และวางทุ่นระเบิดปิดอ่าวเมืองท่าไฮฟอง ปฏิบัติการครั้งนี้ถูกเรียกว่า Operation Linebacker II และนับว่ารุนแรงที่สุดในสงครามเวียดนาม และยังคงทิ้งระเบิดเรื่อยมาจนถึงช่วงคริสต์มาส จนเรียกปฏิบัติการครั้งนี้ว่า "การทิ้งระเบิดปูพรมวันคริสต์มาส”

          อย่างไรก็ดี ระหว่างที่ฝุ่นควันระเบิดเวียดนามยังดำเนินไปนั้น นิกสัน ต้องมาเจอกับชะตากรรมชนิดพลิกคว่ำคะมำหงาย กับคดีวอเตอร์เกต

          สืบเนื่องจากวันที่ 17 มิถุนายน 2515 ที่โรงแรมวอเตอร์เกต ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ระดับชาติของพรรคเดโมแครต ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี คืนนั้นเจ้าหน้าที่โรงแรมได้สังเกตเห็นสิงผิดปกติในที่ทำการพรรคเดโมแครตจึงโทรเรียกตำรวจ ส่งผลสามารถจับกุมผู้ต้องหา 5 คนได้พร้อมของกลาง

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

กลุ่มสำนักงานวอเตอร์เกต จุดกำเนิดของเรื่องอื้อฉาว

 

          ผู้ต้องหาเหล่านี้ประกอบด้วย เบอร์นาร์ด บาร์เกอร์, เวอร์จิลิโอ กอนซาเลซ, ยูจินิโอ มาร์ติเนซ, เจม แม็คคอร์ด และแฟรงค์ สเตอร์กิส โดยก่อนหน้านี้กลุ่มคนร้ายเคยแอบเข้าในออฟฟิศแห่งนี้แล้วเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อนถูกจับ เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดต่อมา ตำรวจจึงพบว่าแต่ละคนต่างทำงานให้แก่สำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐอเมริกา (ซีไอเอ)

          ทั้ง 5 ได้รับคำสั่งให้บุกเข้าไปขโมยข้อมูลที่พรรคเดโมแครต ซึ่งเตรียมไว้เพื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่แข่งกับ ริชาร์ด นิกสัน ที่ยังนั่งเก้าอี้ผู้นำอยู่

          เมื่อถูกจับได้ เจ้าหน้าที่ค้นตัวผู้ต้องหา และพบเบอร์โทรศัพท์ของที่ปรึกษาประจำทำเนียบขาว และในบัญชีของผู้ต้องหาอีกคนหนึ่ง มีเงิน 25,000 เหรียญสหรัฐที่ขึ้นด้วยแคชเชียร์เช็คประทับตรา นอกจากนั้นเอฟบีไอยังเจอบันทึกมีชื่อย่อซึ่งอาจหมายถึงทำเนียบขาวก็ได้ เช่น W.House และ W.H (White House)

          ต่อมาจึงมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนคดีวอเตอร์เกตขึ้นมาและพบว่าในสมุดโน้ตของ เจม แม็คคอร์ด มีเบอร์โทรของ โฮเวิร์ด ฮันต์ อดีตเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวคนหนึ่ง แถมเจ้าตัวยังสารภาพกับศาลด้วยว่าเขาเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ซีไอเอปลดเกษียณ

          แต่ระหว่างที่เอฟบีไอสืบสวนเรื่องนี้อยู่ ท่ามกลางการดึงเรื่องและขัดขวางจากซีไอเอ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งที่ 38 ก็ยังคงเดินหน้าต่อไป และปรากฏว่า นิกสันชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปีนั้นเอง (2515) ด้วยคะแนนท่วมท้น

          ปรากฏว่าช่วงเวลาที่นิกสันควรจะเฉลิมฉลองตำแหน่งอีกสมัย ตัวละครที่ถูกเรียกว่า “ดีพ โธรท” (ซึ่งเป็นนามแฝงของ มาร์ค เฟลท์) ก็ปรากฏตัวขึ้น และได้ทำลายความฝันของเขาทุกอย่าง

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

มาร์ค เฟลท์

 

          ดีฟ โธรท อ้างตนเป็นแหล่งข่าวลับที่จะเดินหน้าแฉคดีนี้ โดยมี บ็อบ วู้ดเวิร์ด และ คาร์ล เบิร์นสไตน์ สองนักข่าวประจำหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ เป็นผู้เดินหน้าขุดคุ้ยคู่ขนานกันไปในหน้านสพ.

          ปรากฏว่า ระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทำเนียบขาวต้องลาออกหลายคน และว่ากันว่านิกสันยังไล่ที่ปรึกษาจอห์น ดีน ออกด้วย

          ยังผลให้ จอห์น ดีน ตัดสินใจขึ้นให้การต่อสภาคองเกรส กล่าวหาว่าประธานาธิบดีนิกสันพยายามวิ่งเต้นบิดเบือนคดีและในทำเนียบขาวเองก็มีการติดตั้งเครื่องดักฟังอยู่ซึ่งข้อความต่างๆ แต่นิกสันปฏิเสธโดยอ้างสิทธิพิเศษของผู้บริหารที่ไม่อาจเปิดเผยข้อความที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

 

          เมื่อการเดินหน้าโดยเจ้าหน้าที่ไม่ประสพผล ปรากฏว่ามวลชนคนมะกันเริ่มออกมาแสดงออก ด้วยทนไม่ไหวกับเรื่องอื้อฉาวที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศขนาดนี้ (แน่นอนมันอาจเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือจากการจัดตั้งของกลุ่มการเมืองขั้วตรงข้ามก็ตามแต่) 

          แต่ที่สุด ประชาชนพากันส่งจดหมายกว่า 450,000 ฉบับมาต่อว่า และวิทยาลัยกฎหมายกว่า 17 แห่ง ก็เรียกร้องให้นำนิกสันขึ้นพิจารณาคดี จนนิกสันต้องยินยอมส่งเทปบันทึกเสียงให้ฝ่ายสืบสวนไปในที่สุด

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

 

          ที่สุด หลักฐานต่างๆ ก็ทยอยเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ จนรัฐสภามีมติให้นำตัวนิกสันขึ้นพิจารณาคดี และเตรียมถอดถอน

          แต่ก่อนที่กระบวนการพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้น ในวันที่ 9 สิงหาคม 2517 ริชาร์ด นิกสัน ตัดสินใจลาออก และกลายเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกาที่ต้องลงเอยด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมแล้วนั่งอยู่บนเก้าอี้ผู้นำ 5 ปี 201 วัน

          แน่นอน ประธานาธิบดีคนต่อมา เจอรัลด์ ฟอร์ด ได้ทำการนิรโทษกรรมให้แก่นิกสันในเวลาต่อมา แต่คนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 คน กลับถูกตัดสินจำคุก ซึ่งมีตั้งแต่รอลงอาญา 1 เดือนจนถึงจำคุก 52 เดือน

 

22 เม.ย. 2537  ปิดฉากชีวิตผู้นำฉาวโลก

 เจอรัลด์ ฟอร์ด 

 

          อย่างที่รู้ คดีวอเตอร์เกตเป็นที่สะเทือนศรัทธาชาวอเมริกันต่อประธานาธิบดีมากที่สุด เพราะมันทำลายภาพทุกอย่างสหรัฐพยายามสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะภาพลักษณ์ของบทบาทตำรวจโลก เสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ตลอดจนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเข้มข้น แต่ ริชาร์ด นิกสัน กลับใช้วิธีสกปรกเพื่อให้ตนเองชนะเลือกตั้ง ทั้งละเมิดสิทธิเสรีภาพ บิดเบือนซุกซ่อนข้อมูล และใส่ร้ายป้ายสี

          ทั้งหมดนี้เป็นแผลในใจชาวอเมริกันอย่างยากจะลบเลือน เช่นเดียวกับ นิกสัน ที่ชีวิตของเขาหลังจากนั้น ก็คงไม่รื่นรมย์มากนักหลังลงจากตำแหน่ง

          จนกระทั่ง 20 ปีหลังจากนั้น เขาล้มป่วยหลอดเลือดสมอง ในวันที่ 18 เมษายน 2537 และเสียชีวิตในวันที่ 22 เดือนเดียวกันด้วยวัย 81 ปี หลัง เธลม่า แคทเทอรีน "แพต" รียาน นิกสัน ภรรยาของเขา จากไปก่อนหน้านั้น 1 ปี 

////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://en.wikipedia.org/wiki/Richard_Nixon

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ