วันนี้ในอดีต

8 พ.ย. 2529 รถไฟไทยไม่มีคนขับ  วิ่งไปรับคนหัวลำโพง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บ้างก็ว่า เพราะหัวรถจักรหมายเลข 4410 เคยประสบอุบัติเหตุเบรกไม่อยู่เมื่อปี 2522 ส่งผลให้คนขับเสียชีวิตและผู้โดยสารอีกนับร้อยบาดเจ็บล้มตาย !!

        เชื่อว่ายังมีคนจำได้เยอะ กับเหตุการณ์หัวรถจักรพุ่งชนสถานีกรุงเทพ ชนิดๆ จู่ๆ ก็มาไม่ทันตั้งตัว ก็พุ่งเข้าใส่ฝูงชนที่กำลังรอเดินทาง แต่ไม่ได้รอให้มารับแบบนี้!!!

8 พ.ย. 2529   รถไฟไทยไม่มีคนขับ   วิ่งไปรับคนหัวลำโพง

          เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ของ 32 ปีก่อน ตรงกับ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 โดยช่วงเช้าเวลาประมาณ 08.50 น. อยู่ๆ ขบวนรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรจำนวน 6 คันพ่วงติดกัน ซึ่งได้แก่หมายเลข 4029, 4042, 4044, 4010, 4006, 4043 เกิดพุ่งใส่หัวลำโพงนั้น

         สอบสวนพบว่า หัวรถจักรดังกล่าว อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงเก็บหัวรถจักร สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ โดยพนักงานขับรถไฟ ได้ติดเครื่องยนต์และลงจากรถโดยไม่ดับเครื่อง และทำท่าคันกลับอาการ (เกียร์ของรถไฟ) ไว้ที่ตำแหน่งเดินหน้า แถมยังล็อกคันเร่งไว้ที่สูงสุด และเนื่องจากรถไฟใช้ระบบลมดูด เมื่อติดเครื่องยนต์ไว้สักครู่ ลมจะหมุนเวียนครบวงจร รถไฟจึงวิ่งเข้าสู่รางประธาน

8 พ.ย. 2529   รถไฟไทยไม่มีคนขับ   วิ่งไปรับคนหัวลำโพง

         ปรากฏว่า รถไฟก็วิ่งทะยานไปบนรางอย่างช้าๆ ไต่ความเร็วไปเรื่อยๆ จนไปอยู่ที่ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ผ่านทางแยกตัดกับถนนพระรามที่ 6, ถนนประดิพัทธ์ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน, ถนนนครไชยศรี, ถนนราชวิถี, ถนนศรีอยุธยา และถนนเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเพิ่มไปเป็นความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่มีพนักงานขับรถแต่อย่างใด

         เล่าถึงตรงนี้หลายคนอาจนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Unstoppable ขึ้นมาทันที เมื่อสองพระเอก  คริส ไพน์ และ เดนเซล วอชิงตัน มารับเด่น เมื่อรถไฟบรรทุกสารเคมีอันตรายที่ไร้คนบังคับวิ่งออกไปอย่างควบคุมไม่อยู่ มีเพียงพนักงานขับรถไฟมากประสบการณ์ (รับบทโดย เดนเซล วอชิงตัน) และเจ้าหน้าที่ควบคุมมือใหม่ (รับบทโดย คริส ไพน์) ที่จะหยุดหายนะครั้งนี้ได้

8 พ.ย. 2529   รถไฟไทยไม่มีคนขับ   วิ่งไปรับคนหัวลำโพง   8 พ.ย. 2529   รถไฟไทยไม่มีคนขับ   วิ่งไปรับคนหัวลำโพง

        เรื่องราวดำเนินไป โดยมีชีวิตผู้คนจำนวนมากเป็นเดิมพัน ท่ามกลางการแข่งกับเวลา ผู้ชายธรรมดาสองคนที่ยอมเสี่ยงชีวิตตนเองต้องออกไล่ล่ารถไฟขบวนนี้ให้ทันและหยุดมันให้ได้ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

         ไม่เฉลยว่าตอนจบของภาพยนตร์เป็นยังไง แต่สำหรับเหตุการณ์ของบ้านเรา "หายนะ" กว่านั้นเยอะ!!  เพราะมันคือเรื่องจริง ไม่ใช่หนัง!!

         เพราะปรากฏว่ายังมีรายงานว่า หัวรถจักรขณะวิ่งผ่านผ่านแยกเทิดดำริ ยังได้พุ่งชนแท็กซี่อีกด้วย แต่คนขับแทกซี่คงห้อยพระดี เลยไม่เป็นอะไรมาก

         ไม่กี่นาทีต่อมา เสียงรถจักรจีอีทั้ง 6 คันก็ดังขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดมเป่านกหวีดดังลั่น รถจักรทั้ง 6 คันพุ่งเข้าปะทะแผงกั้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วทะลุเลยเข้าไปในชานชาลาที่ 4  ชนป้ายตารางเวลาเดินรถ ร้านค้า และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์

          จากนั้น พุ่งเลยไปเกือบถึงหน้าถนน ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่ในสถานีก่อนเกิดเหตุ ทางสถานีได้ออกประกาศเตือนผู้โดยสารแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบกระจายเสียง ทำให้เกิดเสียงก้องกังวานและผู้โดยสารจำนวนมากไม่ทราบการแจ้งเตือนล่วงหน้า

          ตอนนั้น เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหว และทุกอย่างที่หัวรถจักรชนนั้น พังพินาศราบเป็นหน้ากลอง แล้วไถลแถกไปล้มในท่าตะแคง หยุดนิ่ง หมดสภาพที่หน้าทางเข้าสถานีรถไฟตอน 8 โมง 50 นาทีเป๊ะ!!       

           เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น "รถไฟผีสิง" เนื่องจากหัวรถจักรตัวเปล่า โดยไม่มีคนขับเกิดวิ่งได้เองจนชนชานชาลาสถานีกรุงเทพ นับเป็นความผิดปกติอย่างมาก บ้างก็ว่า เพราะหัวรถจักรหมายเลข 4410 เคยประสบอุบัติเหตุเบรกไม่อยู่เมื่อปี 2522 ส่งผลให้คนขับเสียชีวิตและผู้โดยสารอีกนับร้อยบาดเจ็บล้มตาย บางกระแสก็กล่าวเกินเลยไปถึงขนาดตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการวินาศกรรมหรือไม่ เป็นต้น         

8 พ.ย. 2529   รถไฟไทยไม่มีคนขับ   วิ่งไปรับคนหัวลำโพง  

          ที่สุด เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 4 คน บาดเจ็บ 4 คน ค่าเสียหายประมาณ 2 ล้านบาท โดยผู้เสียชีวิตมีรายนามดังนี้ นายแสวง ศรีสุข, เด็กชายพิเศษฐ แสนมาโนตร, นายสมบัติ สังแคนพรม และ นางโสภา เก้าเอี้ยน

          สำหรับผลการสอบสวนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกมา พบว่าเกิดจากการที่พนักงานสะเพร่าไม่ได้ดับเครื่องก่อนลงจากหัวรถจักร ก็ได้มีคำสั่งให้ ทั้งคู่ได้รับโทษไล่ออก แต่เนื่องจากมีเหตุสมควรจึงลดโทษเหลือ ปลดออก

          และให้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำหอสัญญาณ ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ด้วย และระหว่างสอบสวนอยู่นั้น ก็ปรากฏข่าวการทุจริตและเรื่องอื้อฉาวต่างๆ ในการรถไฟแห่งประเทศไทยออกมาเป็นระยะ ๆ เช่น การทุจริตในการจัดซื้อ หรือการบริหารงานที่ไร้ประสิทธิภาพของผู้บริหาร เป็นต้น

///////////

เครดิตข้อมูล 

วิกิพีเดีย

http://oknation.nationtv.tv/blog/bigeye2009/2011/01/06/entry-2

http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=660

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ