วันนี้ในอดีต

เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย" เหรียญทองหญิงโอลิมปิก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นาทีที่คนไทยเฮกันทั้งประเทศ!! จำได้หรือไม่ "น้องอร" ผู้มากับวลีวู้โว้ย!! วันนี้เธอทำอะไรอยู่

          หากมีใครพูดคำว่า “สู้โว้ย” ขึ้นมาเมื่อไหร่ เชื่อว่าหลายคนจะนึกถึง “น้องอร” พันตรีหญิง อุดมพร พลศักดิ์ อดีตนักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ผู้เป็นนักกีฬาหญิงคนแรกของไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก ในการแข่งขันยกน้ำหนักหญิงรุ่นไม่เกิน 53 กิโลกรัม ในโอลิมปิกเกม ปี 2004 ที่กรุงเอเธนส์ หรือเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2547 วันนี้เมื่อ 14 ปีก่อน ที่หลายคนจำได้ดีถึงความรู้สึกในวันนั้น

 เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย"  เหรียญทองหญิงโอลิมปิก         

          วันนี้ในอดีต จึงขอนำเรื่องราวของเธอ มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

          น้องอร หรือ “อุดมพร พลศักดิ์” เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2524 ที่จังหวัดนครราชสีมา บิดามารดาคือ นายบุญส่ง และนางศศิธร พลศักดิ์

          น้องอรเริ่มเข้ารับการศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนสวนหม่อน และศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา และโรงเรียนเทพลีลา ก่อนจะมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพจนจบปริญญาตรี

          ส่วนกีฬายกน้ำหนัก น้องอรเริ่มเล่นตั้งแต่อายุ 14 ปี โดยมีโค้ชคนแรก คือ จ่าสิบเอกสมศักดิ์ ผ่องอินทรี ซึ่งสาเหตุที่เล่นกีฬาประเภทนี้ เพราะความรัก และมีความสนุก จนกระทั่งถูกดึงเข้ามาเก็บตัวในโครงการดาวรุ่งมุ่งเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 โดยก่อนหน้านั้นเล่นในรุ่น 48 กิโลกรัม ก่อนจะเลื่อนขึ้นมาในรุ่น 53 กิโลกรัม และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

 เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย"  เหรียญทองหญิงโอลิมปิก

น้องอรตะโกนคำว่า "สู้โว้ย" ก่อนยกน้ำหนักนัดชี้ชะตา

          ก่อนหน้านั้น น้องอร กวาดรางวัลมาแล้วมากมาย ทั้งเหรียญทองในกีฬาเยาวชนโลกที่บัลแกเรีย, เหรียญเงินเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 14 ที่เกาหลีใต้ ปี 2545, เหรียญทองชิงแชมป์โลกที่บัลแกเรีย และเหรียญทองกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่อิตาลี เมื่อปี 2546 โดยในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์โลก 2546 ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา น้องอรยังสามารรถคว้ามาสองเหรียญทอง โดยทำน้ำหนักได้ 100 กก. ในท่าสแนช และ 222.5 กก. ในน้ำหนักรวม

          กระทั่งมาประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่เอเธนส์เกมในปีต่อมา โดยยกในท่าสแนชได้ 97.5 กก. ท่าคลีนแอนด์เจิร์กได้ 125 กก. รวม 222.5 กก. โดยเป็นการทำลายสถิติโอลิมปิก ในท่าคลีนแอนด์เจิร์กของประเภทนี้ด้วย เรียกว่าสร้างชื่อเสียง และความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยเป็นอันมาก

 เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย"  เหรียญทองหญิงโอลิมปิก

          สำหรับ ชีวิตส่วนตัว อุดมพร พลศักดิ์ สมรสกับ ชัยรัตน์ ล้อประกานต์สิทธิ์ อดีตนักกีฬายกน้ำหนัก เมื่อวันที่ 21 .. 2551 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีสมรสพระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้จัดงานฉลองมงคลสมรสที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 10 ..2552

             ในช่วงต้นปี พ.. 2553 อุดมพร พลศักดิ์ ได้เปิดเผยว่าตนเองได้แท้งลูกเนื่องจากไม่ทราบว่าตั้งครรภ์จึงไม่ทันระวังตัว

          สำหรับวลี “สู้โว้ย” นั้น น้องอรเล่าว่าพูดขึ้นมา นอกจากเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแล้ว ยังเพื่อระบายความเครียดออกมาก่อนขึ้นยกน้ำหนักอีกด้วย

          และในที่สุด เมื่อเธอสามารถคว้าเหรียญทองในกีฬาโอลิมปิก มาได้ คำว่า "สู้โว้ย" จึงกลายเป็นวลีติดปากของคนไทยมาจนทุกวันนี้

          อย่างไรก็ดี ช่วงปี 2554 หากจำกันได้กับกระแสการเลือกตั้ง ช่วงนั้น มีข่าวว่าพรรคการเมืองพรรคหนึ่งเดินสายทาบทามคนดังมาร่วมพรรคดิน โดยเน้นไปที่คนดังด้านกีฬา ปรากฏว่ามีชื่อของ จอมพลังสาวชาวโคราช “น้องอร” คนนี้ด้วย

 เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย"  เหรียญทองหญิงโอลิมปิก

          แต่ตอนนั้นเธอกล่าวว่ามีการทาบทามจริง แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจ โดยแกนนำพรรคได้ติดต่อผ่านคุณพ่อ ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นใน จ.นครราชสีมา ว่าอยากให้ไปร่วมทำงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

          เขาก็ติดต่อมาจริง นอกจากพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ก็มีพรรคอื่นๆ ด้วย แต่อรก็ปฏิเสธไป เพราะแม้ว่าจะเรียนจบมาทางด้านการเมืองโดยตรง แต่คิดว่ายังไม่พร้อมที่จะทำงานในส่วนนี้ เหมือนว่ามันยังไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง แต่ก็ยังไม่แน่เพราะพ่ออยากให้อรเล่นการเมืองเหมือนท่าน เลยยังคิดอยู่ค่ะ”

 เฮลั่น "น้องอร สู้โว้ย"  เหรียญทองหญิงโอลิมปิก

          แน่นอน น้องอรไม่ได้เลนการเมือง แต่ไปรับใช้ชาติวิธีอื่น เพราะปัจจุบันน้องอรอายุ 37 ปีแล้ว เธอรับราชการทหารเป็น พันตรีหญิงอุดมพร พลศักดิ์ ตำแหน่งนายทหารประจำแผนกประวัติบำเหน็จบำนาญ ช่วยราชการกองยุทธการ มลฑลทหารบกที่ 21 ค่ายสุรนารี กองทัพภาคที่ 2

           นอกจากนี้ ช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา น้องอรยังได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ถ่ายทำโครงการหนังสือมีชีวิตดิจิตอล โดยใช้สถานที่ถ่ายทำที่ Switch On Gym Korat ใครสนใจไปติดตามชมได้ตามลิงค์ด้านล่าง

          โดยงานนี้เป็นโครงการที่หน่วยงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดทำขึ้นจากสัมภาษณ์ผู้มีชื่อเสียงในจังหวัดนครราชสีมาจากหลากหลายวงการ โดยจัดทำเป็นสื่ออีบุ๊ค (e-Books) เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใช้บริการได้รับชมและศึกษาอีกด้วย

          สู้โว้ย!!

////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย

https://www.youtube.com/watch?v=GLh--9fJwkk

และ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ