วันนี้ในอดีต

3 ส.ค.2478 "กบฏนายสิบ" จบแต่ยังไม่เริ่ม!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โดยในปี พ.ศ.2478 นายทหารชั้นประทวนกลุ่มหนึ่ง ได้มีการเตรียมการที่จะยึดอำนาจด้วยวิธีการรุนแรง มีแผนที่จะสังหารบุคคลสำคัญในฝ่ายรัฐบาลหลายคน

          บ้านเมืองเราขึ้นชื่อว่าเป็นการประเทศที่มีการก่อเหตุทางการเมืองมากมายหลายครั้งประเทศหนึ่งในโลก โดย เรียกว่า การปฏิวัติ, การรัฐประหาร และกบฎ

          สำหรับ ความหมายนั้นมีว่า การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'

          สำหรับการก่อกบฏในประเทศไทยนั้น มีหนหนึ่งที่เรียกได้ว่า ยังไม่ทันเริ่มก็ต้องม้วนเสื่อ นั่นคือกบฏครั้งที่เรียกกันทั่วไปว่า “กบฏนายสิบ” ซึ่งเกือบจะเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม พ..2478 หรือวันนี้ของ 83 ปีก่อน

          โดยกบฏครั้งนี้มีความแตกต่างจากการก่อการทางการเมืองหลายๆ ครั้งตรงที่หนนี้เป็นการก่อการของนายทหารชั้นผู้น้อยกลุ่มหนึ่ง

          มีข้อมูลจากเวบไซต์ http://wiki.kpi.ac.th/ ของสถาบันพระปกเกล้า เขียนโดย จุฑามาศ และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ คือ รศ. นรนิติ เศรษฐบุตร และ รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต ระบุดังนี้

          กบฏนายสิบ เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ..2475 ซึ่งก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่หลายฝ่าย อันนำมาสู่การต่อต้านคณะผู้ดำเนินการและการต่อต้านต่อระบอบการเมืองการปกครองแบบใหม่

          หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยได้เพียงปีเศษ ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.. 2476 ได้เกิดกบฏขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมี นายพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากร อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นผู้นำ ผลของการก่อการในครั้งนี้ฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชกฤดากรเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และกลุ่มผู้ดำเนินการถูกปราบปรามอย่างรุนแรง

          จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสละราชสมบัติ ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าวได้กระทบกระเทือนจิตใจของผู้ที่จงรักภักดีเป็นอย่างมาก

          ในที่สุดได้มีนายทหารชั้นประทวนกลุ่มหนึ่งได้คิดทำการปฏิวัติยึดอำนาจขึ้นมาอีกครั้งหวังคืนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถวายสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

          การปฏิวัติครั้งนี้แตกต่างจากการปฏิวัติครั้งอื่นๆ คือ เป็นการดำเนินงานนายทหารชั้นประทวน ซึ่งไม่ว่าปฏิวัติรัฐประหารในประเทศไทยนั้น ผู้ที่เป็นแกนนำมักจะเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ มียศตั้งแต่นายพันจนถึงนายพล แต่ในการปฏิวัติครั้งนี้เป็นการดำเนินงานของนายทหารระดับจ่านายสิบ นายสิบ และ พลทหาร

          โดยในปี พ..2478 นายทหารชั้นประทวนกลุ่มหนึ่ง ได้มีการเตรียมการที่จะยึดอำนาจด้วยวิธีการรุนแรง มีแผนที่จะสังหารบุคคลสำคัญในฝ่ายรัฐบาลหลายคน เช่น นายพันเอกหลวงพิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นบุคคลที่คุมกำลังทหารและเป็นแม่ทัพที่ปราบกบฏบวรเดชจนย่อยยับ นอกจากนั้นก็มี พ...หลวงอดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี

3 ส.ค.2478  \"กบฏนายสิบ\"  จบแต่ยังไม่เริ่ม!

          สำหรับ พ..พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎร เป็นบุคคลที่ทุกฝ่ายให้ความเคารพ กลุ่มนายทหารชั้นประทวนไม่ได้คิดจะสังหาร แต่จะจับไว้เป็นตัวประกัน แต่ถ้าหากมีการขัดขืนก็จะจัดการอย่างเด็ดขาดรุนแรงที่สุด และจะยึดเอาตึกกระทรวงกลาโหมเป็นกองบัญชาการ จากนั้นเมื่อยึดอำนาจได้แล้วจะถวายราชบัลลังก์คืนแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

          ปรากฏว่า ความคิดที่จะดำเนินการอย่างรุนแรงด้วยการสังหารบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลของนายทหารชั้นประทวนกลุ่มนี้ มีผู้ร่วมทำการบางคนไม่เห็นด้วย และได้นำความไปเปิดเผยต่อผู้บังคับบัญชา!!

          ที่สุด เรื่องจึงถูกรายงานไปถึง พ..จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หรือ หลวงพิบูลสงคราม จึงได้มีการสั่งการให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละคนคอยติดตามการเคลื่อนไหวของทหารชั้นประทวนกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด

          จนเมื่อรู้พฤติการณ์แน่ชัดแล้ว จึงมีคำสั่งให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละกรมกองเข้าจู่โจมจับทหารในสังกัดของตนที่คิดกบฏ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 12.30 . ของวันที่ 3 สิงหาคม พ..2478 จนถึงวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งการจู่โจมเข้าจับกุมในครั้งนี้ ทุกคนไม่ทันรู้ตัวจึงไม่มีการต่อสู้ ทุกคนยอมจำนนแต่โดยดี มีผู้ถูกจับเป็นนายทหารชั้นประทวน 22 นาย และ พลเรือน 1 คน

3 ส.ค.2478  \"กบฏนายสิบ\"  จบแต่ยังไม่เริ่ม!

          ในการพิจารณาคดีนี้ ได้มีการจัดตั้งศาลพิเศษ โดยมีคณะกรรมการ 7 คน คือ พันเอกพระยาอภัยสงคราม พันโทพระยาวิชัยยุทธเดชาคนี พันโทหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต พันโทหลวงรณสิทธพิชัย พันโทหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ร้อยเอกหิรัญ ปัทมานนท์ นายเสงี่ยม กาญจนเสถียร คำพิพากษาตัดสินคดีในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2478 ให้จำคุกตลอดชีวิตจำเลย 8 คนคือ สิบโทหม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์, สิบเอกเข็ม เฉลยทิศ, สิบเอกถม เกตุอำไพ, สิบเอกเท้ง แซ่ซิ้ม, สิบเอกกวย สินธุวงศ์, สิบโทแผ้ว แสงส่งสูง, สิบโทสาสน์ คชกุล, จ่านายสิบสาคร ภูมิทัต

          จำคุก 20 ปี 3 คน คือ สิบเอกแช่ม บัวปลื้ม, สิบเอกตะเข็บ สายสุวรรณ และสิบโทเลียบ คหินทพงษ์ 

        จำคุก 16 ปี คนเดียว คือ นายนุ่ม ณ พัทลุง ส่วนคนอื่นๆ นั้นยกฟ้องพ้นข้อหา ยกเว้นสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด ที่ปฏิเสธตลอดข้อหา ศาลจึงตัดสินให้ประหารชีวิต สิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด ถูกคุมตัวไปประหารชีวิตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า สมุทรปราการ ในตอนเช้าวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2478 เป็นนักโทษคนแรกที่ได้รับการลงโทษประหารชีวิตด้วยวิธียิงเป้า

          เป็นอันว่า การก่อกบฏครั้งนี้ ยังไม่ได้เริ่มด้วยซ้ำ หากแต่ถูกรัฐบาลดำเนินการรวบตัวผู้ก่อการไว้ได้เสียก่อน นั่นเอง

3 ส.ค.2478  \"กบฏนายสิบ\"  จบแต่ยังไม่เริ่ม!

          อนึ่ง ยังมีข้อมูลทั่วไป เช่น วิกิพีเดียที่ ระบุว่า การก่อกบฏครั้งนี้ได้มีการตั้งศาลพิเศษชำระคดี หัวหน้าฝ่ายกบฏ ส..สวัสดิ์ มหะมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลนี้ไม่มีทนาย ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา และยังสามารถตั้งผู้พิพากษาได้ตามใจอีกต่างหาก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พิพากษาที่ผ่านคดีต่าง ๆ มาแล้วอย่างมากเช่นศาลคดีตามปกติ

          ขณะที่บางแหล่งระบว่า กลุ่มนายสิบวางแผนที่จะลงมือในวันที่ 5 สิงหาคม 2478 แต่สุดท้ายแผนดังกล่าวก็ไม่เคยขึ้นเนื่องจาก หลวงพิบูลฯ มีคำสั่งให้จับตัวผู้ต้องสงสัยทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ก่อนหน้าที่กลุ่มนายสิบจะลงมือยึดอำนาจ นั่นเอง

 

/////////////

ขอบคุณข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย

สถาบันพระปกเกล้า

https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1370

เฟซบุค ถ้าอยากรู้ถาม "goony"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ