วันนี้ในอดีต

ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป. กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อ 45 ปีก่อน คือวันที่ท่านได้เสียชีวิตลง ขณะที่มีอายุ 80 ปี ในท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่า เพราะอาการโลหิตเป็นพิษ หรือถูกลอบวางยาพิษกันแน่?

          ใครที่ติดตามเรื่องราวของ พันเอก พระยาทรงสุรเดช ต้องร้องตรงกันว่า ราวกับละครฟอร์มยักษ์ เพราะชีวิตของท่านนั้นหลากรสชาติ บู๊ ดุดัน เกมชิงอำนาจ สูงสุด ต่ำสุด และดราม่าโศกเคล้าน้ำตาไม่แพ้นิยายเลยทีเดียว

          เพราะท่านคือ นายทหารดาวรุ่งพุ่งแรงสู่ระดับผู้บังคับบัญชาชั้นสูงแต่วัยหนุ่ม และยังเป็น 1 ใน 4 ทหารเสือที่ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 เป็นผู้ที่วางแผนการยึดอำนาจทั้งหมด เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้เป็น

          และยังถูกกล่าวหาว่าคิดก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาล “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” ในกบฏพระยาทรงสุรเดช จนถูกเนรเทศไปอยู่ในกรุงพนมเปญอีกด้วย

          และวันนี้เมื่อ 45 ปีก่อน คือวันที่ท่านได้เสียชีวิตลง ขณะที่มีอายุ 80 ปี ในท่ามกลางข้อสันนิษฐานว่า เพราะอาการโลหิตเป็นพิษ หรือถูกลอบวางยาพิษกันแน่?

          แต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอะไร สิ่งสำคัญคือเรื่องราวชีวิตของพันเอกผู้นี้ ที่ขอนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง

 ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป.  กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!

          พันเอก พระยาทรงสุรเดช หรือ “เทพ พันธุมเสน” เป็นบุตรของร้อยโท ไท้ พันธุมเสน นายทหารกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 เกิดที่ถนนเจริญกรุง จังหวัดพระนคร จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก เป็นบุคคลเรียนดี จึงได้ทุนไปศึกษาต่อวิชาทหารช่างที่เยอรมนี

 ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป.  กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!

ภาพจากhttp://www.reurnthai.com/index.php?topic=3363.495

          เมื่อจบแล้วได้ยศนายสิบ แล้วจึงเรียนต่อระดับสัญญาบัตร ได้ยศร้อยตรี ก่อนไปประจำการที่กองทหารในมัคเดอบวร์ค เมืองหลวงของรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ เยอรมนี และเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.. 2458 รวมทั้งสิ้นเป็นระยะเวลา 8 ปี

          จากนั้นเริ่มรับราชการทหารจนได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม เมื่อ พ.. 2461 และย้ายไปเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3

          ต่อมาหลังท่านได้รับพระราชทานยศ พันเอก และบรรดาศักดิ์เป็นพระยาทรงสุรเดช เมื่อปี พ.. 2475 ในตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการทหารบก ได้ไม่นาน ก็เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475

          โดยพระยาทรงสุรเดชเป็นผู้ที่ประสานให้นายทหารระดับสูงที่มีแนวคิดเดียวกัน เช่น พ..พระยาพหลพลพยุหเสนา เข้าร่วมกันเป็น “คณะราษฎร” เพื่อทำการปฏิวัติสยามยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

          สำหรับสมาชิกคณะราษฎร ที่จริงมีการก่อตั้ง ก่อนหน้านี้ที่นครปารีส ช่วงปี พ.. 2468 โดยสมาชิกแบ่งเป็นสามสายคือ

          สายทหารบก มีผู้ร่วมก่อตั้งสำคัญๆ คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน), พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน), พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ), พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น), 4 ท่านแรกรู้จักกันในนาม 4 ทหารเสือ นอกจากนี้ยังมี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) ร่วมด้วย

 ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป.  กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!

4 ทหารเสือ (จากซ้าย) พ.อ.พระยาทรงสุรเดช, พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา, พ.อ.พระยาฤทธิอัคเนย์ และ พ.ท.พระประศาสน์พิทยายุทธ

          สายทหารเรือ: หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน), หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย), หลวงสังวรยุทธกิจ (สังวรณ์ สุวรรณชีพ), และหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ (ถวัลย์ ธารีสวัสดิ์)

          และ สายพลเรือน: หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์), หลวงศิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี), หลวงโกวิทอภัยวงศ์ (ควง อภัยวงศ์), ตั้ว ลพานุกรม, แนบ พหลโยธิน, ทวี บุณยเกตุ, และประยูร ภมรมนตรี

          ว่ากันว่าบทบาทของพระยาทรงสุรเดชในวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น คือ การปล่อยข่าวลวงและล่อหลอก เพื่อชักนำให้ทหารแต่ละกรมกองมาชุมนุมร่วมกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อให้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่างไม่ขัดขืน

          อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงการปกครองประสบความสำเร็จ หากแต่เรื่องราวที่เป็นฉากชีวิตสำคัญของ พระยาทรงสุรเดช ที่ทำให้ชีวิตของเขาพลิกผันไปราวกับฟ้าคว่ำ คือ การที่เขานั้นไม่ลงรอยกับ หลวงพิบูลสงคราม มาตลอด ถึงขนาดที่ฝ่ายหลัง ถึงกับลั่นวาจาว่า “ตนไม่อาจอยู่ร่วมโลกกับพระยาทรงสุรเดชได้!!”

          โดยข้อมูลระบุว่า ทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาทรงสุรเดช มีความขัดแย้งกับ หลวงพิบูลสงคราม หรือต่อมาก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งแต่ที่เป็นนายทหารรุ่นหลังที่มียศชั้นต่ำกว่า

          เรื่องที่ขัดแย้งกันมีมากมาย เช่น นอกจากในการประชุมวางแผนกันก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่ทั้งคู่ก็มีปากเสียงกันตลอด ยังมีเรื่องโครงสร้างกองทัพ

          กระทั่งเรื่องอำนาจทางการเมือง โดยครั้งที่ พระยาพหลพลพยุหเสนา ประกาศไม่ขอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่ออีกในปลายปี พ.. 2481 ทั้งคู่เสมือนเป็น “คู่แข่ง” หรือ “คู่ปรับ” ในการชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

 ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป.  กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!

          ว่ากันว่า พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์บางฉบับ ถึงกับลงภาพของทั้งคู่ โดยโปรยคำ “ผู้ที่จะขึ้นเป็นนายกฯ คนต่อไป”

          จนเมื่อหลวงพิบูลสงครามได้เป็นนายกรัฐมนตรี ความขัดแย้งกันทั้งหมดนี้ได้กลายมาเป็นข้อกล่าวหากันในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดชในเวลาต่อมา

          ที่สุดพระยาทรงสุรเดช จึงเดินทางไปพำนักที่ศรีลังกาเป็นระยะเวลา 2 ปี จนกระทั่ง พ.. 2481 เมื่อเห็นว่าสถานการณ์เหมาะสมแล้วจึงเดินทางกลับประเทศ

          แต่ที่จริงแล้ว เรื่องราวก็ไม่ได้จบลง เพราะเมื่อเขาเสนอต่อกระทรวงกลาโหม ขอตั้งโรงเรียนรบขึ้นที่เชียงใหม่ โดยแม้ว่าสภากลาโหมอนุมัติ จนมีนายทหารระดับหัวกะทิ 29 นายขึ้นไปเรียนที่นั่น แต่ทาง หลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเกรงว่าจะเป็นการซ่องสุมผู้คนก่อการกบฏ จึงส่งหน่วยสอดแนมไปติดตามดูความเคลื่อนไหวเป็นระยะ

          เมื่อนักเรียนรุ่นแรกศึกษาจบแล้ว พระยาทรงสุรเดชได้นำลูกศิษย์ตระเวณดูงานทหารตามกรมกองต่าง ๆ แต่เมื่อถึงกรมทหารราชบุรี ได้ถูกยื่นซองขาวมีข้อความให้ออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญ พร้อมกับบีบบังคับให้เดินทางออกสู่ต่างประเทศ

          พระยาทรงสุรเดชพร้อมนายทหารคนสนิท จึงถูกให้ออกจากราชการโดยข้อกล่าวหาว่าเป็นกบฏ โดยเรียกกันว่า "กบฏพระยาทรงสุรเดช" หรือ "กบฏ พ.ศ. 2481" หรือ กบฏ 18 ศพ อันหมายถึง "นักโทษการเมือง" ที่ถูกตัดสินประหารชีวิต ด้วยการยิงเป้าวันละ 4 คน ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม พ.ศ. 2482 จนครบจำนวน 18 คน

          (มีข้อมูลระบุว่า จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ถูกลงโทษทั้งหมด มีผู้ใดกระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะถูกตัดสินโดยศาลพิเศษ ที่บรรดาผู้พิพากษาคือผู้ที่รัฐบาลแต่งตั้ง และไม่มีทนายจำเลยตามหลักยุติธรรม)

          อย่างไรก็ดี ฝ่ายพระยาทรงสุรเดช เมื่อก่อการไม่สำเร็จ จึงต้องถูกเนรเทศ โดยไม่มีเบี้ยหวัด และเดินทางออกนอกประเทศ ไปพร้อมกับ ร้อยเอกสำรวจ กาญจนสิทธิ์ นายทหารคนสนิท

          พวกเขาถูกควบคุมตัวขึ้นรถไฟไปที่ อ.อรัญประเทศ และเดินทางข้ามพรมแดนต่อไปยังกัมพูชาซึ่งในขณะนั้นเป็นดินแดนในอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส

          หลังจากที่ลี้ภัยอยู่ที่กัมพูชาได้ไม่นาน ทางการกัมพูชาก็ไม่อนุญาตให้อยู่ จึงต้องเดินทางไปพำนักอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน โดยมีภริยาติดตามไปด้วย จากนั้นจึงได้รับอนุญาตให้กลับมาที่พนมเปญอีกครั้งหนึ่ง

          ชีวิตพระยาทรงสุรเดชที่กัมพูชา ไม่มีทรัพย์เงินทองเหลือติดตัวอยู่เลย บางคนถึงกับใช้คำว่าอาภัพตกอับสุดขีด! ต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการทำขนมกล้วยขายพร้อมกับภริยา ซึ่งต้องลงมือโม่แป้งด้วยตนเอง รวมทั้งรับจ้างซ่อมจักรยาน

          อย่างไรก็ดี เมื่อจอมพล ป. หมดอำนาจ ลงราวปี พ.. 2500 พระยาทรงสุรเดชในวัย 65 ปี จึงกลับมาพำนักที่ จ.สุรินทร์ จนวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมลงในวันที่ 1 มิถุนายน พ.. 2516 ที่บ้านพักใน จ.สุรินทร์ ด้วยวัย 80 ปี

          โดยแพทย์ลงความเห็นว่าเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ ทั้งที่เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีมาโดยตลอด จึงมีข้อสงสัยกันว่าอาจถูกลอบวางยาพิษ เป็นอันจบฉากชีวิตของท่านในวันนั้นเอง

          อนึ่ง ว่ากันว่า ภายหลัง อัฐิของท่านถูกนำไปบรรจุอย่างถูกที่ถูกทางในอนุสรณเจดีย์ของผู้ร่วมก่อการ 2475 เคียงข้างผู้ร่วมอุดมการณ์ปฏิวัติทุกคน

///////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ