วันนี้ในอดีต

Our Brand is Crisis 22 พ.ค.2557 รัฐประหารที่ถูกเลือก?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

That's the world, that's politics. That's how it works. It starts out with big promises and ends up with jackshit happening.

          ที่จริงถ้าจะเทียบ “ประเทศไทยหลังรัฐประหาร” โดย คสช.ที่เกิดขึ้นในวันนี้เมื่อ 4 ปีก่อน หรือตรงกับ 22 พ.ค. 2557 กับ เนื้อหาของภาพยนตร์เรื่อง “Our Brand Is Crisis” ซึ่งพูดถึงการห้ำหั่นกันของทีมวางแผนการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีประเทศโบลิเวีย ที่ดุเดือดเลือดพล่าน ชิงไหวชิงพริบ และทำลายกันทุกวิถีทางเพื่อให้ฝ่ายตนเองชนะ จนเมื่อได้เก้าอี้มาแล้วก็มีบางอย่างเปลี่ยนไป!

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?         

         อาจพูดได้ว่า “ไม่มีอะไรคล้ายกันเลย” แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ไปคล้ายเหมือนกับรัฐบาลอื่นๆ ของไทยมากกว่าด้วยซ้ำ! อย่างน้อยก็เรื่อง การเข้าคูหากากบาทตามระบอบประชาธิปไตย!

          แต่ถ้าจะพูดว่า สุดท้ายแล้ว “นักการเมือง” ก็คือ “นักการเมือง” ที่หลังได้นั่งเก้าอี้ผู้นำ อาการ “ถิ่ม” และ “เท” กันซึ่งๆ ก็ปรากฏขึ้นในความรู้สึกของประชาชน ภาพยนตร์ Our Brand Is Crisis ในชื่อไทยสุดโลกสวยว่า “สู้ไม่ถอย ทีมสอยตำแหน่งประธานาธิบดี” จึงถือเป็นคือคำอธิบายของอาการเหล่านี้้!

          Our Brand Is Crisis เป็น “คอนเซปท์” การหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีโบลิเวีย ที่ในเรื่องได้มืออาชีพอย่าง “เจน” นักวางแผนกลยุทธ์การหาเสียง มือสร้างภาพลักษณ์ระดับพระกาฬ ปิ๊งไอเดียขึ้นมา หลังจากที่ผู้สมัครทีมนี้ ถูกฝ่ายตรงข้ามจ้างมือดีมา “ป่าไข่” ใส่หน้า และเกิดห้ามอารมณ์ตนเองไม่ไหว ตั๊นหน้านายคนนั้นจนหงายหลัง ท่ามกลางสายตาประชาชนที่มารอต้อนรับ และสื่อมวลชนจำนวนมาก

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?

          แน่นอน ฉากนี้ทุกคนจะต้องคิดว่า “จบแล้ว” เส้นทางประธานาธิบดี จบตั้งแต่ยังไม่ลงคะแนนเสียงด้วยซ้ำ!

          แต่ “เจน” บอกว่า “ไม่!!” เพราะนี่แหละคือ “โอกาส” ที่ลูกค้าของเธอ (ผู้สมัครชิงตำแหน่ง) ต้องฉกฉวยมาเป็นของตนเอง

          ว่าแล้ว ภาพลักษณ์ของคนยิ้มแย้มแจ่มใส สุขุม คัมภีรภาพ แปรเปลี่ยนมาเป็นชายผู้อหังการ์ คนจริง กล้าชน และ บ้าบิ่นพอที่ประชาชนผู้ยากไร้จะฝากความหวังไว้ที่เขาได้ แข็งแกร่งพอที่เข้ามาแก้ไข “วิกฤติ” ต่างๆ ของประเทศที่กำลังเกิดขึ้นให้พวกเขาได้!!

          เพราะเดิมทีโบลีเวีย เป็นรัฐพหุชนชาติที่แม้จะได้เอกราชจากสเปน มาตั้งแต่ค.ศ. 1825 แต่ช่วงแรกยัง นับเป็นประเทศกำลังพัฒนา ประชาชนส่วนใหญ่ยังยากจน ไม่ต่างจากประเทศระดับเดียวกันทั่วไป โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ. 2001-2005 ที่โบลิเวีย เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขั้นวิกฤติ ทำให้ต้องเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีถึง 5 คน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจของภาพยนตร์เรื่องนี้

        และมันได้ผล ที่สุดคะแนนของเขาขยับขึ้นมาจนติด 1 ใน 3 ตัวเต็ง แม้จะตามหลัง 2 คนแรก แต่ก็กระเตื้องขึ้นมาจนมีความหวังเต็มปรี่!

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?

          ความสนุกเจ็บ! ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ วิธีการที่ต่างฝ่ายต่างทำเพื่อให้คะแนนของฝ่ายตนขึ้นมานำให้ได้ อย่างที่เกริ่นไปว่า ดุเดือดเลือดพล่าน ชิงไหวชิงพริบ และทำลายกันทุกวิถีทางเพื่อให้ฝ่ายตนเองชนะ!

          ที่น่าตกใจคือ นอกจากมีการปล่อยข่าวลือที่ไม่มีส่วนเป็นใช่ความจริงเลยแม้แต่น้อย พูดง่ายๆ ว่าเต้าขึ้นมาเพื่อทำลายโดยเฉพาะ!

          แต่ก็ยังมีถึงขนาดที่พลิกองศามาเป็นการนำข่าวในเชิงลบ เรื่องร้ายๆ ที่ควรจะเก็บเป็นความลับของลูกค้าตนเอง มาเปิดเผยกับสื่อมวลชน เพื่อให้สิ่งนี้นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน เพราะเชื่อว่า ฝ่ายตรงข้ามเป็นคนขุดขึ้นมาแฉเอง!

          แน่นอน “เจน” ก็เคยทำมาก่อน และจะยังคงทำเช่นกัน โดยคราวนี้เธอทำการปล่อยให้เรื่องการนับถือลัทธิบางอย่าง และการใช้สารเสพติดของลูกชาย “ผู้ลงสมัคร” ฝ่ายเธอเอง ออกสู่สาธารณะ และสื่อมวลชน จนต้องมานั่งตอบคำถามพิธีกรในรายการสัมภาษณ์สดออกโทรทัศน์

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?

          ที่นั่น ต่อหน้าสื่อและประชาชน เมื่อน้ำตาของคนเป็นพ่อที่พร่ำบอกว่า ลูกชายของเขาไม่ใช่คนที่ดีพอ จึงเรียกคะแนนเห็นใจจากประชาชนอีกล้นหลาม!!

          ถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า ทุกอย่างที่ผู้สมัครคนนี้ทำ คือ การ เขียนสคริปต์ของ “เจน” หากแต่บางทีอาจเป็นประสบการณ์ที่เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาในสมัยก่อนหน้านั้นก็ได้

           เพราะฉากที่ทีมของเขานั่งรถหาเสียงจน ไปเจอประชาชนที่ชุมชนหนึ่ง ซึ่งพากันเข้ามารุมล้อมรถหาเสียง และขว้างปาหินใส่อย่างเกรี้ยวกราด ผู้สมัครคนนี้กลับตัดสินใจที่จะลงจากรถเพื่อไปพูดคุยกับหัวหน้าชุมชน โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของทีมงาน

          และผลคือ การยอมรับจากประชาชนกลุ่มนั้น เมื่อเขารับปากว่า จะทำตามความต้องการของประชาชน โดยการเปิดลง “ประชามติ” สอบถามประชาชนก่อนที่จะตกลงอะไรกับ “ไอเอ็มเอฟ”

          วันนั้น ทุกอย่างจบลงด้วยความชื่นมื่น ขณะที่หัวหน้าชุมชนพูดกับเขาว่า “พวกเราจับตาดูคุณอยู่!”

          สุดท้ายเมื่อวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมาถึง แน่นอน ทีมของ “เจน” ชนะการเลือกตั้ง ลูกค้าของเธอได้นั่งเก้าอี้ประธานาธิบดี

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?

          แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขณะที่ภารกิจของมือปืนรับจ้างอย่าง “เจน” หมดลงเท่านั้น! แต่แล้วท่านผู้นำคนใหม่ก็ “พลิกลิ้น” ทันทีเช่นเดียวกัน

          เรื่องนี้ส่งผลให้เกิดการลุกฮือของประชาชนชาวโบลิเวีย ตั้งแต่ยังไม่หมดช่วงดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ด้วยซ้ำ! ในตอนหนึ่ง เจนตอบคำถามประชาชนคนหนึ่งต่อเรื่องนี้ได้อย่างถึงแก่นแท้ของ “โลกการเมือง” ว่า

         “That's the world, that's politics. That's how it works. It starts out with big promises and ends up with jackshit happening.”

      ที่สุด ประชาชนพากันเดินทางออกจากบ้านมาอยู่กันกลางท้องถนน กับสายตาที่ปวดร้าว เต็มไปด้วยคำถามว่า “ทำไมถึงหักหลักเรา?”

      ขณะที่ในเรื่องจริงของสนามการเมืองโบลิเวียต้นเรื่อง มีว่า เมื่อ Gonzalo Sánchez de Lozada ผู้มีเชื้อสายสเปน ชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2002 แต่หลังจากการเข้าดำรงตำแหน่งไม่นาน เขาพบกับปัญหามากมาย ทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ เนื่องด้วยเสียงที่เขาได้มาไม่เด็ดขาดมากพอ

         ดังนั้น ตลอดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง พรรคร่วมรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง ในช่วงนั้นนาย Lozada ยังต้องทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในเรื่องการวางแผนการใช้จ่ายภาครัฐอย่างรัดกุม เขาจึงต้องกำหนดนโยบายที่ไม่เป็นที่นิยม เช่นการเพิ่มอัตราภาษี

          ใช่แล้ว สิ่งนี้ทำให้ประชาชนไม่พอใจ ที่สุดในเดือน กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 (พ.ศ.2546) ผู้ใช้แรงงานได้เดินขบวนประท้วงโดยใช้ความรุนแรง ผสมโรงกับอีกหลายกลุ่ม ทั้งบรรดาตำรวจที่ประท้วงนโยบายของรัฐบาลในการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ แม้แต่นักเรียนก็ยังออกมาเดินขบวนด้วย

          สิ่งที่เกิดขึ้น ได้นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรงของกลุ่มผู้ประท้วง และทหาร ซึ่งทำให้มีประชาชนถึง 31 คนต้องเสียชีวิตให้กับเหตุการณ์ครั้งนี้ (ซึ่งภายหลังช่วงตุลาคม 2546 เขาก็ลาออกไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบ) (ข้อมูลจาก http://natchapat-tao.blogspot.com/2015/12/blog-post_29.html)        

Our Brand is Crisis       22 พ.ค.2557  รัฐประหารที่ถูกเลือก?

          หันกลับมามองชีวิตจริงๆ ที่บ้านเราบ้าง คนไทยผ่านความเจ็บปวดแบบนี้มาหลายยุคแล้ว มาถึงวันนี้ เราก็ยังคงจับตาดู "คำสัญญา" ของคณะรัฐบาลว่าที่สุดแล้ว จะนำพาเราไปทางไหน

          เพราะแม้ขณะที่มีประชาชนไทยหลายคนออกมาประท้วง "อยากเลือกตั้ง" ก็ยังมีอีกหลายคนที่บอกว่า ขอรอดูอีกนิด นั่นเพราะพวกเขา “เลือก” ที่จะเชื่อ ศรัทธา หรือให้โอกาสกับรัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ต่อไป

          คอลัมน์วันนี้ในอดีต ไม่ต้องบอกเล่าเหตุการณ์ในวันนี้เมื่อ 4 ปีก่อน เพราะคงเห็นกันไปหมดแล้ว ไม่ต้องทวนซ้ำ!

          จึงขออนุญาตแนะนำ บอกเล่าเรื่องราวสนุกๆ ตามข้างต้น แม้จะปล่อยมาตั้งแต่ปี 2015 แต่ยังไม่สายเกินไปที่ผู้อ่าน ลองไปหามาเสพดูกันเพื่อความบันเทิงไปพลางๆ ระหว่างรอกำหนดการเลือกตั้งที่บอกว่าจะมีแน่ๆ...ในอนาคต!

//////////////////

ขอบคุณภาพจาก https://www.imdb.com/title/tt1018765/

และขอบคุณข้อมูลจาก http://natchapat-tao.blogspot.com/2015/12/blog-post_29.html

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ