วันนี้ในอดีต

18 พ.ค.2475 ฉากละครแห่งชีวิต "เจ้าชายนักประพันธ์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หลายคนที่เป็นนักอ่าน จะรู้ดีว่า หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงเป็นนักประพันธ์มือเอกพระองค์หนึ่ง แต่ทำไมท่านจึงทรงสิ้นชีพิตักษัยในต่างแดน!

          วันนี้ของ 86 ปีก่อน เจ้านายพระองค์หนึ่งของชาวไทย ได้สิ้นชีพิตักษัยในต่างแดน แต่งานเขียนของพระองค์ ยังคงทรงคุณค่าสำหรับนักอ่านอยู่ทุกสมัย

          ย้อนรอยเล่าถึงพระประวัติ หลายคนที่เป็นนักอ่าน จะรู้ดีว่า หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงเป็นนักประพันธ์มือเอกพระองค์หนึ่ง ด้วยทางมีมุมมองที่ล้ำลึก ลึกซึ้ง และถ่ายทอดออกมาได้อย่างยากจะบรรยายเป็นคำพูด ต้องอ่านงานของท่านเท่านั้น ถึงจะรู้

 

18 พ.ค.2475  ฉากละครแห่งชีวิต  "เจ้าชายนักประพันธ์"

        หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ประสูติเมื่อวันที่ 12 พ.ย.2448 ณ ตำบล สามเสน เป็นโอรสองค์ที่ 6 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ “หม่อมอ่อน”

          ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนอัสสัมชัญ แล้วย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเเทพศิรินทราวาสในชั้นมัธยม 4 ระหว่าง ปี 2463-2467

 

18 พ.ค.2475  ฉากละครแห่งชีวิต  "เจ้าชายนักประพันธ์"

 

          ต่อมาเดินทางไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่โดยที่ไม่โปรดในเรื่องกฎหมาย จึงทรงคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์อังกฤษ

          ต่อมาได้รับพระราชทานทุนจากรัชกาลที่ 7 ให้ไปศึกษาวิชาการต่างประเทศ ที่เมืองจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา แต่ประชวรหนักทำให้ต้องเดินทางกลับประเทศไทย

          ที่สุด เมื่อเสด็จกลับประเทศไทยในปี 2471 .. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงเข้ารับราชการในกรมไปรษณีย์ และกรมสาธารณสุขกระทรวงมหาดไทย

          แต่พระนิสัยไม่โปรดงานราชการ จึงลาออก หากแต่สิ่งที่ ม.. อากาศดำเกิง ทรงสนพระทัยที่สุด คือ การอ่านและการเขียนหนังสือ เรียกว่าทำมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์และมีผลงานมากมาย

 

18 พ.ค.2475  ฉากละครแห่งชีวิต  "เจ้าชายนักประพันธ์"

          เช่น ทรงแปลเรื่อง เอนิวาซองครัวด์ ลงในหนังสือ แถลงการณ์เทพศิรินทร์ เมื่อปี 2466 โดยทรงร่วมกับนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ ทำหนังสือ ในห้องเรียน ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนม์เพียง 18 พรรษา และยังได้เขียนเรื่องสั้นอีก 2-3 เรื่อง ลงพิมพ์ในหนังสือรายเดือน ศัพท์ไทย โดยทรงใช้นามปากกาว่า "วรเศวต"

          สำหรับปีที่ ม.. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เริ่มงานเขียนอย่างจริงจัง ก็คือ ปีเดียวกับที่ทรงเข้าทำงานราชการคือเมื่อเสด็จกลับประเทศไทยในปี 2471

          นั่นจึงแปลว่า ระหว่างที่ทรงปฏิบัติกิจทางราชการ ท่านก็ทรงได้ประพันธ์งานต่างๆ ตามความรักไปด้วย

          โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง "ละครแห่งชีวิต" ที่ทรงเขียนสำเร็จเป็นเรื่องแรก ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงประทานเงินทุนในการจัดพิมพ์ เมื่อ พ.. 2472 ซึ่งแม้ว่าจะมีราคาสูงถึงเล่มละ 3.50 บาท แต่ปรากฏว่าขายหมดทั้ง 2,000 เล่ม จนต้องมีการพิมพ์ครั้งที่สอง

          จากนั้น ตามมาด้วยนวนิยายเรื่อง "ผิวเหลืองผิวขาว" ตีพิมพ์เมื่อปี 2473, "วิมานทลาย" พิมพ์เมื่อปี 2474 และเรื่องสั้นที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนหนึ่ง

       

         อย่างไรก็ดี ข้อมูลทั่วไประบุตรงกันว่า ม.. อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ทรงเติบโตมากับพระมารดา ที่ได้แยกทางกันกับพระบิดา ตอนที่พระองค์มีพระชันษาเพียง 13 ชันษาเท่านั้น ต่อมาพระองค์ยังมาผิดหวังในเรื่องความรักอีกครั้งในวัยหนุ่ม

          และฉากชีวิตเหล่านี้เอง ที่ทุกคนเมื่อได้อ่าน นวนิยาย “ละครแห่งชีวิต” จะรู้สึกเศร้าสะเทือนใจ เพราะราวกับได้อ่านเรื่องราวชีวิตของพระองค์เองผ่านทางตัวหนังสือ

          ต่อมา เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงเสด็จหนีพำนักที่ฮ่องกง ในปลายเดือน ม.ค. 2474 ดำรงชีวิตด้วยการเขียนบทความลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฮ่องกง กระทั่ง สิ้นชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2475 ตามเอกสารฮ่องกงระบุว่าด้วยไข้มาลาเรีย โดยมีพระชนมายุเพียง 27 ชันษาเท่านั้น!!

 

18 พ.ค.2475  ฉากละครแห่งชีวิต  "เจ้าชายนักประพันธ์"

          สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับงานเขียนของพระองค์ ที่สะท้อนชีวิตและจิตวิญญาณ ลองอ่านคำกล่าวบางตอนจากนิยายของท่านดู ดังต่อไปนี้

          เช่น ในพระนิพนธ์ประเภทนวนิยาย เรื่อง "ผิวขาว ผิวเหลือง" ทรงสะท้อนถึงความตกต่ำของเจ้านายไทย ตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 6 จนถึงรัชกาลที่ 7

          ผู้ใดเกิดมาเป็นเจ้า แต่ต้องแบกเกียรติยศ ซึ่งเป็นภาระอันหนักยิ่ง เนื่องด้วยความไม่มีทรัพย์นั้น เป็นผู้ที่มีบุพกรรมที่ร้ายกาจที่สุด เจ้าไม่มีศาลเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ในอินเดีย ในรัสเซีย ในประเทศไทย ฯลฯ

          ข้าพเจ้ารู้สึกสังเวช "เจ้า" พวกนี้มาก และรู้สึกแค้นแทนในความทารุณและความอยุติธรรมของธรรมชาติ”

          การเป็นคนจนอยู่ในหมู่ยาจกนั้น เป็นสิ่งที่อาจหาความสบายได้ แต่ถ้าจะเป็นยาจกอยู่ในหมู่เศรษฐี หรือผู้มีเกียรติยศนั้น..ข้าพเจ้าจะหยุดอยู่แต่เพียงนี้ อย่าให้ข้าพเจ้าเปรียบต่อไปอีกเลย"

 

18 พ.ค.2475  ฉากละครแห่งชีวิต  "เจ้าชายนักประพันธ์"

          อย่างไรก็ดี สำหรับ นวนิยาย “ละครแห่งชีวิต” ของพระองค์ นั้น ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ไม่ควรพลาดที่จะอ่าน เพราะผู้รู้หลายคนกล่าวตรงกันว่า นวนิยายเรื่องนี้ เป็นการแหกขนบของงานประพันธ์แบบเดิม ที่เดิมที่นวนิยายต้องเป็นเรื่องแต่งหรือเรื่องสมมติที่ไม่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เขียน

          แต่พระองค์ได้ทำในสิ่งใหม่ที่เป็นคุณูปการแก่งานประพันธ์ไทยในยุคต่อมา เมื่อได้สะท้อนว่า วรรณกรรมคือ ความคิด ความเห็น เป็นสิ่งที่รังสรรค์จากทุกสิ่งทุกอย่างที่หล่อหลอมออกมาเป็นนักเขียนคนนั้นๆ ทั้งสิ้น

          ดังนั้นงานเขียนของหม่อมเจ้าอากาศฯ จึงได้ก้าวข้ามขอบเขตเดิมๆ ของวรรณกรรมไทยแต่เดิมมาอย่างสิ้นเชิง ซึ่งถือว่ามีความหมาย ความสำคัญ และยังมีความงดงามเป็นอันมาก!

/////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

และ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ