วันนี้ในอดีต

8 พ.ค.2549 กำเนิดตุลาการภิวัฒน์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน อาจนับได้ว่าเป็นวันที่คำว่า "ตุลาการภิวัฒน์" ถือกำเนิดเกิดขึ้น ส่วนที่มา และ การสร้างความหมายของคำนี้ คืออะไรกันแน่?

คนบางคน อาจจะมองคำว่า “ตุลาการภิวัฒน์” อย่างหัวร้อน! เพราะคำนี้ถูกคนกลุ่มหนึ่งใช้เป็นวาทกรรมทางการเมืองรูปแบบหนึ่งมาตลอด

ดังนั้น ถ้าจะให้หัวร้อนอย่างมี “สติ” และนำไปพูดต่ออย่างถูกต้อง มาทราบที่มาของคำนี้กันก่อน

 

 

นักวิชาการและผู้รู้มากมาย ยืนยันตรงกันว่า คำว่าตุลาการภิวัฒน์ หมายถึงเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย ที่เกิดขึ้นใน วันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน!!

นั่นก็คือ เหตุการณ์ที่องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (..) เมื่อ 2 เม.. 2549 หรือแม้แต่การเลือกตั้งที่จัดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 23 เมษายน พ.. 2549 เป็นโมฆะ!

เหตุที่เป็นเช่นนั้น คงต้องย้อนไปว่ากันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง 2 เม.. 2549

กล่าวคือ ช่วงเวลานั้นรัฐบาลทักษิณ ที่เพิ่งทำงานในสมัยที่ 2 เกิดปัญหาทางการเมืองมากมายจนต้องตัดสินใจ “ยุบสภา” ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549

จากนั้นก็ปฏิบัติหน้าที่ “รักษาการ” จนกว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไป และได้ประกาศการเลือกตั้งในวันที่ 2 เม..2549

แต่เรื่องราวไม่ง่ายอย่างนั้นสิ!!

เพราะข้างฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์มองว่า การยุบสภาครั้งนี้ ไม่ถูกต้อง เพราะสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้มีความผิดอะไรและฝ่ายนิติบัญญัติมิได้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับฝ่ายบริหาร จนเป็นเหตุให้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

นอกเสียจากว่ารัฐบาลทักษิณ มีเจตนาหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะส่งผลให้นายกรัฐมนตรีขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศอีกต่อไป

มากไปกว่านั้น การกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เม.2549 ก็ไม่ชอบธรรมไม่เสมอภาคต่อพรรคอื่น เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ในกรณีที่มีการยุบสภา กกต.ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน “60 วัน” จะทำให้ทุกฝ่ายมีเวลาเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งได้

แต่ กกต. กลับเสนอให้รัฐบาลออก พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ ภายใน 37 วัน ซึ่งเป็นเวลาที่กระชั้นชิดเกินไป ไม่เป็นธรรมต่อพรรคฝ่ายค้าน

ทีสุด พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค ซึ่งมี พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน รวมพลังกันไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง ในวันที่ 2 เม.. 2549 แต่การเลือกตั้งก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยพรรคไทยรักไทย ส่งคนลงเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง

 

8 พ.ค.2549  กำเนิดตุลาการภิวัฒน์

ถ้าใครจำได้ช่วงเวลานั้น การเมืองไทยร้อนแรงเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด มีเหตุการณ์สำคัญ และเป็นหน้าประวัติศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย

ไล่ตั้งแต่ 3 พรรคฝ่ายค้านร่วมคว่ำบาตรการเลือกตั้ง, รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางการดื้อแพ่ง

และ ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้ง และนำเลือดมาใช้ในการกาบัตรเลือกตั้ง เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน

 

8 พ.ค.2549  กำเนิดตุลาการภิวัฒน์

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในการเลือกตั้งอื่นตามมาเพียบ เช่น ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ที่ชนะเลือกตั้ง แต่คะแนนที่ได้ กลับน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกใคร แต่ก็ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน

แถมยังมีประเด็นเรื่อง “คูหาเลือกตั้ง” ที่หันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย, มีการร้องเรียนว่ามีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง ฯลฯ

แน่นอนที่ เมื่อ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ผลจะออกมาว่าพรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้ง

ส่วนเขตที่หลังจากการเลือกตั้ง 2 เม.. พบว่ายังมีผู้สมัครบางเขตที่มีคะแนนเสียงไม่เกินร้อยละ 20 ตามเงื่อนไขของ พ...เลือกตั้ง กกต.จึงจึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งซ่อมในวันที่ 23 เม.. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้

แต่การเลือกตั้งรอบนี้ก็ยังคงมีปัญหาหลายอย่าง ทั้งมีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในหลายเช่น สงขลา, ภูเก็ต, ยะลา, นครศรีธรรมราช, ชุมพร และสุราษฎร์ธานี

และมีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง

ในที่สุดนำมาซึ่งการร้องขอให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.. 2549 และการเลือกตั้งหลังจากนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เป็นเหตุให้ต่อมาในวันที่ 8 .. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้การเลือกตั้ง 2 เม..2549 เป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ นั่นเอง

ถึงตรงนี้ ถามว่าทำไมถึงเรียกเหตุการณ์ที่ศาลมีคำตัดสินดังกล่าว ว่าเป็น “ตุลาการภิวัฒน์”

หากพูดภาษาชาวบ้านแค่ให้นึกภาพออก อาจใช้คำว่า “ศาลเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง” แต่หากอ้างอิงจากนักวิชาการที่เคยอธิบายคำนี้ เช่น

“...ในขณะที่ปรากฏการณ์ “ตุลาการภิวัฒน์” ในประเทศไทยนั้น เมื่อศาลขยายแดนไปข้องเกี่ยวกับ “การเมือง” แล้ว กลับมีการสร้าง “เกราะคุ้มกัน” การตอบโต้ศาลขึ้นมา เกราะคุ้มกันเหล่านี้ปรากฏในรูปของกลไกกฎหมาย ได้แก่ กฎหมายความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ความผิดฐานดูหมิ่นศาล ตลอดจนผู้พิพากษาในฐานะส่วนตัวได้ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อบุคคลอื่นในความผิดฐานหมิ่นประมาท ทั้งหลายเหล่านี้ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและปราบปรามการตอบโต้ศาลในยามที่ศาลตัดสินคดีที่ส่งผลกระทบทางการเมือง...” (ปิยบุตร แสงกนกกุล โลกวันนี้ 4 ..2560)

“...ตุลาการภิวัฒน์ไม่ได้เป็นสิ่งที่เลวร้าย และไม่ได้ขัดต่อระบอบประชาธิปไตยเสมอไป แต่ถือเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุล ไม่ให้มีการใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบ...”

“...ตุลาการภิวัฒน์ที่เหมาะสม คือการให้โอกาสแก่รัฐบาลในการทำงานบริหารประเทศ และคอยตรวจสอบนโยบายและกฎหมายต่างๆ ว่ามีข้อใดขัดหรือละเมิดต่อรัฐธรรมนูญหรือสิทธิเสรีภาพของประชาชนในประเทศหรือไม่ แต่ไม่ควรใช้วิจารณญาณจากผู้พิพากษาเพียงไม่กี่คนในการคาดเดาหรืออ้างความเป็นห่วงสถานการณ์บ้านเมือง มาด่วนตัดสินนโยบายหรือกฎหมายที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยตั้งอยู่บนรากฐานของ "ความน่าจะเป็น" แต่เพียงอย่างเดียว...” (ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก www.voicetv.co.th/read/43794)

“...กระบวนการตุลาการภิวัตน์มองอย่างกว้างที่สุดก็คือ กระบวนการที่อำนาจตุลาการปรับตัวเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอัตวินิจฉัยของตัวเอง เพื่อให้ตัวเองปฏิบัติภาระหน้าที่รองรับการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ของยุคสมัยได้ดี ไม่ใช่เป็นการปรับตัวภายใต้การกำกับของอำนาจอื่น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง แต่ต้องเป็นการปรับตัวเพื่อภารกิจของยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง...” (ธีรยุทธ บุญมี อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์)

 

8 พ.ค.2549  กำเนิดตุลาการภิวัฒน์

 

แต่ในเมื่อ ตุลาการภิวัฒน์เกิดขึ้นมาแล้ว หลังคำวินิจฉัยดังกล่าวของของศาลรัฐธรรมนูญ คำนี้จึงยังคงมีการหยิบยกนำมาใช้อีกหลายครั้ง เช่น ข้อมูลจากประชาไทยนำเสนอไทม์ไลน์ตุลาการภิวัตน์ (สะกด “ต์”) ไว้หลังจากภาค 1 ไว้ดังนี้ (https://www.prachatai.com/journal/2017/08/72959)

ตุลาการภิวัตน์ภาค 2 หลัง เลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ที่ได้มีการยุบพรรคพลังประชาชน ตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐธรรมนูญ 2550 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2

ตุลาการภิวัตน์ภาค 3 คือหลังเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนมาสู่การทำ รัฐประหารโดย คสช.ช่วงเดือน พ..2557

และ ตุลาการภิวัตน์ภาค 3.1 ยุค คสช. รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ถึงรัฐธรรมนูญ 2560 และวันตัดสินคดีจำนำข้าว

ใครคิดเห็นยังไงลองค้นข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง ประกอบ แต่ถึงตอนนี้ หลายคนอาจเข้าใจคำนี้มากขึ้น

ทั้ง ที่มา เหตุผล และ การสร้างความหมายของแต่ละฝ่ายที่มองว่า “ตุลาการภิวัตน์” คืออะไรกันแน่?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ