วันนี้ในอดีต

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ชาวโซเวียตมีดีเอ็นเอแห่งความเป็นที่สุดหลายอย่าง และเพราะการพยายามแข่งขันกันอย่างไม่ลืมหูลืมตา จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุสลดขึ้น

                มีคนกล่าวไว้ว่า สหภาพโซเวียตเป็นชาติที่ไม่เหมือนชาติใดในโลก ด้วยสภาพพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลและสภาพอากาศที่สุดขั้วความแตกต่าง

                ชาวโซเวียตจึงมีดีเอ็นเอแห่งความเป็นที่สุดหลายอย่าง แม้แต่ในทางการบิน ที่สหภาพโซเวียตคือชาติที่ไม่เพียงส่งดาวเทียมขึ้นไปบนอวกาศเป็นชาติแรกของโลก เป็นชาติแรกของโลกที่ทำการส่งสัตว์ขึ้นไปบนอวกาศ ส่งมนุษย์ขึ้นไปบนอวกาศเป็นชาติแรกของโลก ส่งคนไปเดินนอกยานอวกาศเป็นชาติแรกของโลก ส่งผู้หญิงขึ้นไปบนอวกาศเป็นชาติแรกของโลก

                ดังนั้น แน่น่อน ที่เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จและความผิดพลาด โซเวียตจึงทั้งได้รับและหนีไม่พ้น เช่นเดียวกับข่าวเศร้าที่ทำเอาโลกสลด เมื่อมีเหตุผิดพลาดทางการบินทำให้มีนักบินอวกาศท่านหนึ่งต้องเสียชีวิต

 

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

http://spaceth.co/soyuz-1-failure/

 

                เขาคือ พันเอกวลาดิมีร์ มิไคโลวิช โคมารอฟ ที่ต้องมาจบชีวิตลงอย่างแสนเศร้า เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2510 (ค.ศ.1967) หรือวันนี้เมื่อ 51 ปีก่อน!

                และที่ยิ่งเศร้าไปกว่านั้นคือ เขาเองก็รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น!!            

              เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ต้องเล่าย้อน สำหรับภารกิจ โซยูส 1 อันเป็นเที่ยวบินแรกในโครงการอวกาศโซยูส ที่ปัจจุบันถูกใช้เป็นเรือข้ามฝากส่งคนจากโลกไปสถานีอวกาศนานาชาติ และกลับลงมาโลกอีกครั้ง

                ในยุคนั้นมันเป็นยานที่ถูกพัฒนาขึ้นไว้ใช้ในการเดินทางไปยังดวงจันทร์ เช่นเดียวกับยานอพอลโล่ของทางคู่แข่งอีกซีกโลกอย่างอเมริกา รู้กันทั่วไปว่าภาวะสงครามเย็นระหว่างโซเวียตและอเมริกา ที่ก่อตัวและทวีความรุนแรงขึ้น แม้แต่วงการนักบินอวกาศ และดาราศาสตร์ ทั้งสองมหาอำนาจยังต่างแย่งชิงกันเป็นที่ 1

                แต่แล้วสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ทั้งยังว่ากันว่า เพราะการพยายามแข่งขันกันอย่างไม่ลืมหูลืมตา จึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุสลดขึ้น กับ นักบินอวกาศผู้มากฝีมือคนหนึ่งของแดนหมีขาวอย่าง พันเอกวลาดิมีร์ มิไคโลวิช โคมารอฟ

 

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

ภาพจากhttps://talk.mthai.com/inbox/394700.html

                นั่นเพราะแม้ว่ายานโซยูส 1 ซึ่งทางการโซเวียตมอบหมายภารกิจให้เขาขึ้นบิน นั้น จะผ่านการทดสอบถึงสามครั้งก่อนหน้า และยังล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงการตรวจพบข้อผิดพลาดของการออกแบบที่มากถึง 203 จุด แต่ภารกิจโซยูส 1 ก็ยังได้รับคำสั่งเดินหน้าต่อไป 

                ถึงนาทีนี้ จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม โคมารอฟราวกับจะรู้ว่าตนเองจะไปเจอกับมัจจุราช เพราะว่ากันโดยทั่วไปว่า ด้วยเหตุที่ภารกิจนี้มีข้อผิดพลาดมากมาย ด้วยประสบการณ์ของนักบินอย่างโคมารอฟ (ผู้เคยทำสำเร็จมาแล้วกับยานวอสคุด 1 (Voskhod) ยานอวกาศลำแรกที่มีนักบินขึ้นไปถึง 3 คน) ย่อมรู้ดีว่า จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นได้

                ดังนั้น เขาจึงอาสาไปแทน ยูริ กาการิน (นาวาอากาศเอก ยูริ อะเลคเซเยวิช กาการิน เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่สามารถเดินทางกลับโลกอย่างปลอดภัย) ซึ่งเดิมทีได้วางตัวเขาให้ปฏิบัติภารกิจครั้งนี้

 

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

ภาพจาก rarehistoricalphotos.com ยูริและโคมารอฟ

                โดยตอนแรก ชื่อนักบินที่ประกาศ คือ "วลาดิมีร์ โคมารอฟ เป็นนักบินหลัก และ "ยูริ กาการิน เป็นนักบินสำรองหรือตำแหน่งเป็นผู้ช่วย แต่ต่อมาเกิดเหตุขัดข้องที่ห้องเครื่องกาการินจึงต้องถอนตัว ซึ่งว่ากันว่า เป็นขณะเดียวกันกับที่พวกหัวหน้าคณะคอมมิวนิสต์เริ่มหมดความอดทน จึงสั่งให้โคมารอฟขึ้นบินให้เร็วที่สุด โคมารอฟรู้ดีว่าหากเขาปฏิเสธ จะเป็นการทำให้กาการิน ซึ่งเป็นเสมือนวีรบุรุษต้องปฏิบัติภารกิจที่แสนอันตรายนี้ เขาจึงอาสาทำภารกิจเอง

               ทั้งนี้ ยังมีข้อมูลหลายแหล่งระบุตรงกันว่า โคมารอฟได้บอกกับเพื่อนสนิททิ้งท้ายไว้ว่า "นี่คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ" และได้อธิบายต่ออีกว่า ถ้าหากปฏิเสธการขึ้นบินครั้งนี้ไป ยูริ กาการิน ก็ต้องถูกมาแทนที่ในฐานะนักบินสำรอง และเค้าทำใจไม่ได้ที่จะต้องส่งวีรบุรุษของชาติและเพื่อนรักอีกคนขึ้นไปทำหน้าที่แทน

           ดังนั้น เค้าจึงมีเพียงทางเลือกเดียวคือ การขึ้นบินด้วยตัวเองเท่านั้น!!

              

              ที่สุด วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1967 (พ.ศ.2510) แทนที่โลกต้องจารึกความสำเร็จอีกครั้งของสหภาพโซเวียต กับการปล่อยยานโซยุส1 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ กลับกลายเป็นภารกิจสุดสะเทือนโลก และเป็นตราบาปที่โซเวียตจะไม่มีวันลบออก!

                เพราะแม้ว่าแรกเริ่มภารกิจทั้งหมดดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่เมื่อยานขึ้นถึงชั้นบรรยากาศ ปรากฏว่าเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถนำลงได้อย่างปลอดภัย โคมารอฟต้องเสียชีวิตลงอย่างน่าอนาถในวันต่อมา

                ข้อมูลจาก  https://www.yaklai.com/lifestyle/special-article/vladimir-komarov-man-fell-from-space/ เล่าไว้ว่า เมื่อกำหนดการปล่อยยานมาถึง เวลา 03:35 วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1967 ยานโซยุซ 1 (Soyuz 1) ยานที่มีปัญหาซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา พร้อมกับนักบิน โคมารอฟ ก็ถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทุกอย่างดูเป็นปกติ

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

http://spaceth.co/soyuz-1-failure/

               จนกระทั่งเข้าสู่วงโคจร ปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อแผงโซล่าเซลล์ข้างหนึ่งไม่กางออก โคมารอฟ พยายามกางด้วยระบบ manual แทน แต่ก็ไร้ผล จากนั้นปัญหาก็ตามมาอีกหลายระลอก ทั้งระบบนำทาง, ระบบควบคุมความสูง และระบบเครื่องยนต์ ขัดข้องตามมาเป็นลำดับ เหล่าทีมวิศวกรที่ภาคพื้นดินต่างหาวิธีแก้และคอยติดต่อกับ โคมารอฟ

                กระทั่ง เวลาล่วงเข้าไปอีกวัน ทีมวิศวกรเตรียมแผนที่จะพาตัว โคมารอฟ ลงมาอย่างปลอดภัยก่อนที่แบตเตอร์รีของยานจะหมด โคมารอฟ ยังคงทำตามที่ฝึกอย่างเคร่งครัด พยายามติดเครื่องจุดระเบิดไอพ่นและรักษาระดับความสูงเอาไว้ แต่แล้วตัวยานก็เริ่มหมุนควงร่วงลงมาจากอวกาศ ไม่นานนัก ภรรยาของ โคมารอฟ ก็มาถึง ทั้ง 2 ได้คุยสั่งเสียกันและบอกลาเป็นครั้งสุดท้าย

                ในช่วงท้าย โคมารอฟ เมื่อรู้ว่าโอกาสรอดชีวิตไม่มีอีกแล้ว เขาจึงตะโกน ก่นด่าออกมาอย่างบ้าคลั่ง ทั้งประณามสงครามเย็น และสาปแช่งผู้ที่ทำให้เขาต้องมาอยู่ในยานอวกาศลำนี้ ก่อนที่สัญญาณจะขาดหายไป...

                ยานโซยุซ 1 ตกกระแทกพื้นโลกด้วยความเร็ว 40 เมตรต่อวินาที ทั้งแรงอัดและเปลวเพลิงรุนแรง ทำให้ทีมกู้ภัยชุดแรกที่เดินทางมาถึงจุดที่ยานตกรู้ทันทีว่าไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะยานที่แหลกยับเต็มไปด้วยเปลวเพลิงนรก ผลาญเผาจนโครงสร้างก็พังทลายลง ทีสุดพวกเขาใช้ดินกลบเพื่อดับไฟ โดยด้านล่างคือ โคมารอฟ ที่เมื่อนำมาขึ้นมาได้ เขาก็เหลือเพียงแค่ก้อนเนื้อขนาดกว้าง 30 เซนติเมตรและยาว 80 เซนติเมตรเท่านั้น

 

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

 

                โคมารอฟ จึงกลายเป็นนักบินอวกาศคนแรกที่เสียชีวิตในระหว่างภารกิจ ส่วนอพอลโล่ 1 เสียชีวิตก่อนขึ้นบินจริง ในระหว่างทดสอบระบบสเมือนจริงเท่านั้น

                ต่อมามีการวิเคราะห์สาเหตุของหายนะในครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า ที่เก็บร่มชูชีพถูกเปิดที่ระดับความสูง 11 กิโลเมตร แต่มันถูกบีบอัดจนผิดรูปและไม่สามารถกางได้อย่างปกติ ถึงแม้ร่มชุดแรกจะกางออกมาแต่มันก็ไม่สามารถดึงร่มหลักออกมาได้ ซึ่งก็เกิดจากแรงดันอากาศในยานลงจอดที่กระทำกับที่เก็บร่มชูชีพ

                ถึงแม้ปัญหาเหล่านี้จะยังไม่เคยเกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบ แต่มันก็เป็นบทเรียนที่สำคัญซึ่งสามารถช่วยชีวิตภารกิจหลังๆ ได้ และที่สำคัญโคมารอฟยังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชีวิตอีก 3 นักบินอวกาศที่เกือบจะต้องขึ้นบินกับยานโซยูส 2 ซึ่งเป็นยานที่มีข้อผิดพลาดคล้ายคลึงกับยานโซยูส 1 หากโคมารอฟไม่พบปัญหาในวงโคจรตั้งแต่วันแรกและภารกิจโซยูส 2 ถูกอนุมัติ หน้าประวัติศาสตร์ความสูญเสียของเราอาจเพิ่มขึ้นจาก 1 เป็น 4 ก็เป็นได้ (http://spaceth.co/soyuz-1-failure/)

 

24 เม.ย.2510 "คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ

ภาพจาก rarehistoricalphotos.com

                ต่อมา โคมารอฟได้รับเกียรติให้จัดพิธีศพอย่างยิ่งใหญ่ และเถ้ากระดูกของเขาถูกฝังไว้ในที่ฝังศพของกำแพงเครมลินของกรุงมอสโคว ชื่อของเขายังได้ถูกนำไปไว้บนดวงจันทร์ถึงสองหนด้วยกัน ครั้งแรกกับยานอพอลโล่ 11 ยานลำแรกที่ลงจอดดวงจันทร์ และอีกครั้งกับแผ่นป้าย “Fallen Astronaut” หรือนักบินอวกาศผู้ล่วงลับ ที่ขึ้นบินไปกับยานอพอลโล่ 15

/////////////////////////////////////////////////////////////

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากที่มาดังต่อไปนี้:

วิกิพีเดีย

Russian Space Web

NASA Human Space Flight

Sven’s Space Place

rarehistoricalphotos.com

https://www.yaklai.com/lifestyle/special-article/vladimir-komarov-man-fell-from-space/

http://spaceth.co/soyuz-1-failure/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ