วันนี้ในอดีต

4 เม.ย.2546 รำลึก "ลูกอีสาน" บ้านทรายมูล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทั้ง กรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรือคลองเตย คนเลี้ยงม้าแข่ง สารถีสามล้อ และผู้คุมเรือนจำ ทั้งหมดนี้กระมังที่ทำให้งานเขียนของเขา ทรงคุณค่าชนิดหาใครเสมอเเหมือนไม่

          แวดวงวรรณกรรม ชื่อนี้ถือว่าเป็นระดับตำนาน เขาคือ “คำพูน บุญทวี” ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณกรรมประจำปี 2544 และยังเป็นนักเขียนซีไรต์คนแรกของไทย

          และวันนี้เมื่อ 15 ปีก่อน หรือตรงกับวันที่ 4 เม.. 2544 คือวันที่เขาได้เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัย ด้วยอายุ 74 ปี

 

4 เม.ย.2546  รำลึก "ลูกอีสาน" บ้านทรายมูล

 

          คำพูน บุญทวี เดิมชื่อ คูน เกิดเมื่อ 26 มิถุนายน พ.. 2471 ที่บ้านทรายมูล ตำบลทรายมูล อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นตำบลทรายมูล อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร) เป็นบุตรคนโตจากทั้งหมด 7 คนของนายสนิทและนางลุน บุญทวี

          คำพูนเรียนหนังสือที่บ้านเกิดจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนปรีชาบัณฑิต จากนั้นจึงเริ่มทำงานหลายอย่างในจังหวัดภาคอีสาน ไล่ตั้งแต่เป็นหัวหน้าคณะรำวง และขายยาเร่

          ต่อมาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เป็นกรรมกรรับจ้างรายวันที่ท่าเรือคลองเตย เป็นคนเลี้ยงม้าแข่ง เป็นสารถีสามล้อ จนกระทั่งสอบเป็นครูได้บรรจุที่ภาคใต้ สอนหนังสืออยู่ 11 ปี จึงเปลี่ยนไปเป็นผู้คุมเรือนจำ

          คำพูนแต่งงานกับ นางประพิศ ณ พัทลุง เมื่อ พ.. 2504 มีบุตร 6 คน แล้วลาออกมาจากงานราชการนี้เมื่ออายุได้ 40 เศษๆ แต่แล้วเมื่อภรรยาคนแรกเสียชีวิต เขาจึงมีภรรยาใหม่ ชื่อ ลันนา เจริญสิทธิชัย ซึ่งภายหลังก้เป็นนักเขียนเช่นกัน โดยเธอได้เขียนนวนิยายเรื่อง "เจ๊กบ้านนอก" โดยใช้นามปากกาว่า กิมหลั่น และร่วมกันทำสำนักพิมพ์โป๊ยเซียน เพื่อพิมพ์หนังสือของครอบครัว

          คำพูน บุญทวี ได้รับการยกย่อง เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.. 2544

          และ วันที่ 4 เมษายน พ.. 2546 จอมยุทธวรรณกรรมอีสาน ผู้นี้ได้เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน รวมอายุได้ อายุ 74 ปี และได้รับพระราชทานเพลิงศพจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ วัดชลประทานรังสฤษฎ์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

          สำหรับผลงานการเขียนนั้น คำพูน เริ่มเขียนหนังสือครั้งแรกเมื่อ พ.. 2513 เมื่อครั้งยังเป็นผู้คุมอยู่ที่เรือนจำสุราษฎร์ธานี ตอนนั้นมีปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว เขาจึงมุมานะอ่านหนังสือ และเขียนเรื่องสั้น

          ตอนแรกเขาส่งเรื่องตลกขำขันไปลงที่หนังสือพิมพ์เสียงตานี หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี จากนั้นก็ได้ส่งเรื่องสั้นเรื่องแรกที่เขาเขียน คือ "ความรักในเหวลึก" ส่งไปที่นิตยสาร ฟ้าเมืองไทย ของ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ซึ่ง อาจินต์ ได้เปลี่ยนชื่อเรื่องเป็น "นิทานลูกทุ่ง" พร้อมทั้งสนับสนุนให้เขาเขียนหนังสือต่อไป เขาจึงเขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ มนุษย์ 100 คุก

          จากนั้นก็เขียนเรื่อยมา จนเขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็นนักเขียนนิยายเรื่องราวชีวิตจริงของชาวอีสาน ที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดบนแผ่นดินที่ราบสูงได้ดีคนหนึ่ง

          เขาจึงกลายเป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้นและสารคดี หนังสือที่ได้รับรางวัลได้แก่

 

4 เม.ย.2546  รำลึก "ลูกอีสาน" บ้านทรายมูล

 

          ลูกอีสาน” ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่น ประเภทนวนิยาย จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.. 2519 และได้รับรางวัล ซีไรท์ เมื่อ พ.. 2522 เป็นผลงานที่ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาระดับมัธยมปลาย ลูกอิสาน ได้รับการแปลภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

          โดยเรื่องนี้ ถือเป็นงานวรรณกรรมชิ้นแรก ที่นำเสนอเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนอีสานอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้คนไทยทั้งหลายได้รู้ถึงความอดทนของชาวอีสานที่ต่อสู้ต่อความแร้นแค้นของที่ราบผืนใหญ่นี้อย่างมีศักดิ์ศรี

          นายฮ้อยทมิฬ” ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวนิยายจากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.. 2520 หลังจากนั้นเขาจึงลาออกจากผู้คุมมาเขียนหนังสือเป็นอาชีพ

 

4 เม.ย.2546  รำลึก "ลูกอีสาน" บ้านทรายมูล

 

          เรื่องนี้ เป็นนวนิยายแนวสู้ชีวิตผจญภัย ที่ร้อยเรียงจากชีวิตจริงของชาวนาภาคอีสานในอดีตที่ต้องดิ้นรนต่อสู้หารายได้เลี้ยงตัว ต้อนควายไปขาย ข้ามป่าดงพงไพรที่แสนหนักหนาสาหัส โดยยังเพิ่มอรรถรสเรื่องความรักและการต่อสู้ จนทำให้นายฮ้อยทมิฬ ได้รับการนำไปถ่ายทอดในรูปภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์หลายครั้ง

          นอกจากนี้ คำพูนยังมีนวนิยายเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ดอกฟ้ากับหมาคุก, คำสารภาพของขี้คุก, เลือดอีสาน, อีสานพเนจร, เสียงกระซิบจากโซ่ตรวน, ลูกลำน้ำโขง, วีรบุรุษเมืองใต้ ฯลฯ

          เรียกได้ว่า ผลงานของ คำพูน บุญทวี มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ และเป็นงานสร้างสรรค์เพื่อจรรโลงสังคม เป็นสื่อทางปัญญาในกระบวนการเรียนรู้รากเหง้าทางสังคม และการถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง มีคุณูปการต่อประวัติวรรณกรรมไทยสมัยใหม่ มาจนถึงทุกวันนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ