วันนี้ในอดีต

2 เม.ย.2549 3 พรรคคว่ำบาตรเลือกตั้ง 1 อาจารย์ฉีกบัตรในคูหา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วิเคราะห์กันว่า ที่ต้องบอยคอต เพราะไม่พอใจการสืบทอดอำนาจของ "ระบอบทักษิณ" ก็คล้ายๆกับที่หัวหน้าพรรค ปชป. คนแรก บอยคอตเลือกตั้งของ "ระบอบพิบูลสงคราม" นั่นแหละ!

          ท่ามกลางบรรยากาศการจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองในบ้านเมืองเราขณะนี้ ที่เริ่มมีพรรคหน้าใหม่ออกมาประกาศตัวขอเป็นทางเลือก และ พรรคการเมืองหน้าเดิมๆ ที่พยายามนำเสนอแนวทางใหม่ๆ นำเสนอความเป็นผู้มีประสบการณ์ที่มีหัวใจประชาธิปไตย

          ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า สังคมไทยเริ่มมีความหวังว่า หากโรดแมปของรัฐบาลเป็นไปตามที่วางไว้ การจัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนั้น จะช่วยทำให้ภาพของประเทศไทยในสายตาชาวโลก เข้าที่เข้าทางตามระบอบประชาธิปไตยที่ควรจะเป็นไปตามครรลองเสียที

         

แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้คาดหวัง หรืออาจหมดหวัง เพราะที่ผ่านมา บ้านนี้เมืองนี้ ล้วนมีเหตุการณ์ทางการเมืองชนิดที่เรียกว่าทั้งเซอร์ไพรส์ สุดคาดคิด เกิดขึ้นมาแล้วมากมาย!!

          และหากใครจำได้ หรือคุ้นๆ กับ สองเหตุการณ์นี้จะพอเข้าใจภาพรวมการเมืองไทยได้ว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้!!

          อย่างเหตุการณ์ของวันนี้เมื่อ 12 ปีก่อน หรือครบ 1 รอบพอดี ของการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งก็คือ พ...ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549

 

2 เม.ย.2549 3 พรรคคว่ำบาตรเลือกตั้ง 1 อาจารย์ฉีกบัตรในคูหา

          จนมามีการจัดการเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันที่ 2 เม.. 2549 แต่แล้ว หลังการเลือกตั้งเสร็จสิ้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

          ถามว่าเพราะอะไรถึงเป็นโมฆะ นั่นเพราะทั้งก่อนและระหว่างนั้น มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ 2 เหตุการณ์ที่อยากจะไฮไลท์ให้หายคิดถึง

          เหตุการณ์แรกคือ 3 พรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์ชาติไทยมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน

          เหตุการณ์ที่ 2 คือ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร (หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางการดื้อแพ่ง หรือที่เรียกว่า อารยะขัดขืน จนกลายเป็นวลีฮิตในเวลานั้น!!

          ก่อนอื่นต้องออกตัวว่า การเมืองไทยนั้นสลับซับซ้อน มีเรื่องราวหน้าฉาก หลังฉาก และวาระซ่อนเร้น อีกมากมายที่จะกล่าวถึงได้หมด หากแต่จะประมวล ย่อย เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข่าวสาร เพื่อให้พอนึกภาพออกดังนี้

          สำหรับเหตุการณ์แรกนั้น เกิดจากภายหลัง นายกฯทักษิณ ทำการยุบสภา(ข้อมูลบางแหล่งระบุว่า ที่ต้องยุบสภา ก็เพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปราย)

          ต่อมาพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม ซึ่งประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน ได้ทำหนังสือถึงพรรคไทยรักไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อขอให้ลงนามในสัตยาบันร่วมกันว่า

          หลังการเลือกตั้งจะจัดให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 313 โดยกำหนดให้มีคณะบุคคลที่เป็นกลางเป็นผู้ดำเนินการในการยกร่างรัฐธรรมนูญ”

          แต่พรรคไทยรักไทย หรือพรรครัฐบาลขณะนั้น มีจุดยืนว่า ไม่ต้องการลงสัตยาบันแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน และดำเนินการเชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคมาหารือร่วมกัน ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.. 2549 ที่อาคารวุฒิสภา

          และเสนอให้ทุกพรรคทำสัญญาประชาคมแก้ไขรัฐธรรมนูญในระหว่างการเลือกตั้ง จากนั้นค่อยมาตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางชุดหนึ่งขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

          เรื่องนี้มีผลทำให้พรรคฝ่ายค้านทั้ง 3 พรรค เห็นว่าท่าทีของพรรคไทยรักไทย มีเจตนาที่จะถ่วงเวลา จึงประกาศคว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครการเลือกตั้งครั้งนั้น

          แต่จนแล้วจนรอด การเลือกตั้งก็เกิดขึ้นในวันที่ 2 เม..2549 และนำมาสู่เหตุการณ์ที่ 2 คือ กรณีที่ รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน

          โดยช่วงสายของวันเลือกตั้งนั้นเอง รศ. ดร.ไชยันต์ ชัยพรได้ทำการฉีกบัตรเลือกตั้งของตนเองที่หน่วยเลือกตั้งที่ 62 เขตสวนหลวง ตั้งอยู่ที่ ร..เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ท่ามกลางการกดชัตเตอร์รัวๆ ของนักข่าว

 

2 เม.ย.2549 3 พรรคคว่ำบาตรเลือกตั้ง 1 อาจารย์ฉีกบัตรในคูหา

ภาพจากข่าวhttp://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000152785

 

          และออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ตนต้องเลือกระหว่างการเป็นพลเมืองดี กับการเป็นคนดี เนื่องจากขณะนี้ ทั้ง 2 อย่างไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน

        การฉีกบัตรเลือกตั้งครั้งนี้ ในทางหนึ่งก็คือการป้องกันการถูกสวมรอยใช้สิทธิด้วยเพราะสามารถตรวจสอบได้ว่าบัตรหายไป 1 ใบ”  และยังบอกว่า สิ่งที่เขากระทำลงไปนั้น ก็เพื่อนำทางไปสู่การตั้งคำถามว่าประชาธิปไตยนำไปสู่สิ่งที่ดีงามหรือไม่ และการเป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้งนั้น เหตุใดจึงไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับความเป็นคนดี และเหตุใดเราจึงต้องเลือกระหว่างสองสิ่งนี้

          ในฐานะที่เขาเป็นอาจารย์สอนด้านรัฐศาสตร์เขาก็ต้องเป็นตัวอย่างในการตั้งคำถามเหล่านี้ พร้อมระบุว่า เขาคิดว่าคดีที่เขาฉีกบัตรเลือกตั้งนี้ จะเป็นกรณีศึกษาของปรัชญาการเมือง”  (ข่าวจาก https://www.prachatai.com/journal/2006/04/8011)

          อย่างไรก็ตาม การกระทำนี้มีความผิดทางกฎหมายเลือกตั้ง มาตรารา 108 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 รวมทั้งจะเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง 5 ปี ซึ่งตอนนั้นอาจารย์ไชยันต์ได้ใช้ตำแหน่งของตนเองประกันตัว (จนภายหลังศาลราวปี 2553 ได้ตัดสินยกฟ้อง)

          แต่เหตุการณ์สำคัญที่จะต้องกล่าวถึงต่อไปหลังเกิดการเลือกตั้งในวันนั้นคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า “กรณีการดำเนินการของคณะกรรมการเลือกตั้งที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”

          ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญก็ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งนั้น เป็นการเลือกตั้งที่มิชอบ จึงต้องมีการเลือกตั้งใหม่ หรือกลายเป็นโมฆะนั่นเอง

          จากนั้น กกต. จึงกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งได้เสนอว่าเป็นวันที่ 22 ตุลาคม 2549 แต่แล้วต่อมา จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ได้นำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และกำหนดการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549

 

          แต่แล้ว ในขณะที่ระหว่างนั้น กำลังเกิดความสับสนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และ เรื่องของการสรรหา กกต. ก็ได้เกิดการรัฐประหารครั้งประวัติศาสตร์ ขึ้นในวันที่ 19 กันยายน 2549 ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นใหม่แทนการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ถูกเลื่อนไปโดยไม่มีกำหนด!!

          และคนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ก็ลี้ภัยไปอย่างไม่มีกำหนดกลับมาจนถึงทุกวันนี้!!!

          อย่างไรก็ดี จากการคว่ำบาตรการเลือกตั้งหนนั้น ของพรรคฝ่ายค้่าน อย่าง พรรคประชาธิปัตย์ ก็มีผู้นำมากล่าวเปรียบเทียบถึงอีกมากมาย ในการเลือกตั้งครั่งต่อมาและก่อนหน้านั้น เช่น การเลือกตั้งวันที่ 2 .. 2557 ที่ภายหลังก็โมฆะเช่นเดียวกัน โดยการวิเคราะห์ของ อรรถยุทธ บุตรศรีภูมิ สำนักข่าวเนชั่น ที่รายงานว่า

          หากจับสัญญาณทั้งจากนักกฎหมายหลายๆ คน และกปปส.มองทางออกของสถานการณ์นี้ไว้คล้ายๆ กันคือ ประกาศให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็นโมฆะ ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549”

          โดย มีการระบุว่า ที่เป็นโมฆะนั้น ไม่ได้เกิดจากจำนวนคนที่ออกไปใช้สิทธิ หากแต่อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ไม่อาจจัดการเลือกตั้งได้ในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร (คนไทยคงจำกันได้กับภาพของการขัดขวางการเลือกตั้งตามสนามเลือกตั้งต่างๆ ของกลุ่ม กปปส.)

          นอกจากนี้ ยังมีการวิเคราะห์ โดยอ้างอิงประวัติศาสตร์การบอยคอตการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ ครั้งที่เคยเกิดขึ้นก่อนสองครั้งที่กล่าวมา

          โดยจากคอลัมน์ มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา ระบุว่า การคว่ำบาตรการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้อ้างถึงประวัติพรรค ประชาธิปัตย์ ที่เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ 2495 มาแล้ว

          แต่ยังมีความต่างตรงที่ว่า การบอยคอตเลือกตั้ง พ..โน้น เกิดจากพรรค ปชป. ถูกยุบไปพร้อมรัฐธรรมนูญ 2492 เพราะการรัฐประหารเงียบของ "คณะปฏิวัติ 2490" นำโดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ และจอมพล ป.พิบูลสงคราม (http://www.komchadluek.net/news/scoop/175629)

          ก่อนหน้านั้น "ควง อภัยวงศ์" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ที่ก่อการรัฐประหารเมื่อปี 2490 และสถาปนา "จอมพล ป." เป็นนายกรัฐมนตรี” 2 เม.ย.2549 3 พรรคคว่ำบาตรเลือกตั้ง 1 อาจารย์ฉีกบัตรในคูหา

 

          “29 พฤศจิกายน 2494 "คณะปฏิวัติ 2490" ที่เรียกตัวเองว่า "คณะบริหารประเทศชั่วคราว" ได้กระทำการยึดอำนาจ อ้างเหตุผลเพื่อผดุงไว้ซึ่งความมั่นคงของชาติจากภัยคอมมิวนิสต์ที่คุกคามอย่างรุนแรง”

          “ก่อการรัฐประหารเงียบได้ฉีกรัฐธรรมนูญ 2492 และนำรัฐธรรมนูญ 2475 ที่ถือเป็นฉบับแรกของประเทศกลับมาแก้ไขใหม่”

          และมีรายละเอียดต่างๆ เงื่อนไขต่างที่ ม...เสนีย์ ปราโมช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์นักข่าวสมัยนั้นว่า

          "ผมเห็นจะตัดสินใจไม่สมัครละ พอใจที่จะตายประชดป่าช้าดีกว่าที่จะเข้าไปในสภาครึ่งสภา ประชดประชาธิปไตย"

          ที่สุด ควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรค ปชป. ก็เห็นควรว่า ทางพรรคมิควรไปร่วมกับการเลือกตั้ง แต่เนื่องจากพรรคถูกยุบ จึงทำให้อดีต ส..ปชป.หลายคน อ้างสิทธิส่วนบุคคลไปลงสมัครรับเลือกตั้ง และได้รับเลือกตั้งจำนวน 6 คน

          ต่อมา หลังการเลือกตั้งทั่วไป 2495 "จอมพล ป." กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี และอยู่ยาวจนครบวาระกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ในปี 2500 พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ "ควง อภัยวงศ์" จึงกลับมาสู่ระบบการเลือกตั้งอีกครั้ง

   

      ที่สุด บทความนี้จึงสรุปว่า

          หากจะกล่าวว่า การที่สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะหัวหน้าพรรค และรองหัวหน้าพรรค ก็ไม่ถือว่าเป็นการบอยคอตโดยสมบูรณ์แบบ เมื่อเปรียบเทียบกับ 2 ครั้งหลัง”

          “มิหนำซ้ำ ส.. 6 คนในสภาได้กลายเป็นผู้ที่ริเริ่มก่อการตั้งพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง โดยเชิญ "ควง" กลับมาเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อต่อสู้กับพรรคของจอมพล ป. ในการเลือกตั้งทั่วไป 2500/1”

 

2 เม.ย.2549 3 พรรคคว่ำบาตรเลือกตั้ง 1 อาจารย์ฉีกบัตรในคูหา

          “สิ่งที่ควรบันทึกไว้คือ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในฐานะหัวหน้าพรรค ปชป. นำการคว่ำบาตรมาแล้ว 2 ครั้ง คือ การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557”

          เหตุผลหลักที่ ปชป.บอยคอต เพราะไม่พอใจการสืบทอดอำนาจของ "ระบอบทักษิณ" ซึ่งอาจใกล้เคียงกับ "หัวหน้าพรรค ปชป." คนแรก บอยคอตเลือกตั้งของ "ระบอบพิบูลสงคราม" นั่นเอง

          ถึงขณะนี้ หากคนไทยจะคิดฝันว่า การเมืองไทยจะลงในรูปแบบไหน บางคนอาจตื่นเต้นและรู้สึกสนุกน่าติดตาม แต่หลายก็คนก็ยังหวั่นใจ เพราะเราต่างยังมีคำถามว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่?

 

///////////////

ขอบคุณข้อมูลจาก 

วิกิพีเดีย

www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9530000152785

https://www.prachatai.com/journal/2006/04/8011)

(http://www.komchadluek.net/news/scoop/175629)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ