วันนี้ในอดีต

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใครจะเชื่อว่า ในขณะที่เขาถูกบังคับให้เล่นดนตรี แต่ภายหลังเขาก็กลับหลงใหลมันอย่างถอนตัวไม่ขึ้น

 

 

******************************

 

            อุแว้ๆๆ ห่างไกลออกไปจากกรุง "สตุ๊ทการ์ท” ประเทศเยอรมนีทางตะวันออกราว 100 กิโลเมตร คือ เมืองอูล์ม ในเวอร์เทมบูร์ก ในวันที่ 14 มี.ค. 2422 ทุกคนจะได้ยินเสียงของทารกน้อย ที่ร่ำร้องหลังออกมาจากครรภ์ของผู้เป็นแม่ เพื่อลืมตาดูโลก และสู้ชีวิต

 

            ใช่แล้ว ทารกน้อยผู้นี้ ผู้ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่า เขาจะเติบโตขึ้นมาเป็นอัจฉริยะระดับโลก แม้แต่ “พอลลีน” แม่ผู้ให้กำเนิดก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า หล่อนนั้นได้ให้กำเนิดบุตรชาย ผู้ที่หล่อนให้นามว่า “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ในภายหลังเขาได้กลายมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20!!

 

 

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

อ้างอิง science.discovery

 

 

           

 

               แน่นอน ชีวิตก่อนจะถึงวันนั้นของเด็กน้อยไอน์สไตน์ จะดำเนินไปโดยไม่แตกต่างไปจากเด็กทั่วไป ทั้งนี้ตามข้อมูลทั่วไปได้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตวัยต้นของเขาว่า

 

            ไอน์สไตน์นั้น เป็นบุตรชายของ แฮร์มานน์ ไอน์สไตน์ พนักงานขายทั่วไป ซึ่งกำลังทำการทดลองเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้า ส่วนมารดามีชื่อว่า พอลลีน ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว แต่ไม่เคร่งครัดนัก

 

            วัยเด็กไอน์สไตน์เข้าเรียนในโรงเรียนประถมคาธอลิก และยังเข้าเรียนไวโอลิน ตามความต้องการของมารดาที่ต้องการให้บุตรชายมีทักษะทางด้านดนตรี เพราะเธอเองก็เป็นนักเปียโนที่ประสบความสำเร็จ

 

 

 

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

พอลลีน

 

 

 

            ดังนั้น การเจ้ากี้เจ้าการให้ลูกชายได้เรียนดนตรี ตั้งแต่วัยเพียง 6 ขวบ โดยเฉพาะไวโอลิน จึงเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่คนเป็นแม่พึงกระทำ หากแต่ในความธรรมดา กลับไม่ธรรมดาตรงที่ว่า ฝีมือทางด้านไวโอลินของไอน์สไตน์ ถือว่าเข้าขั้น “ยอดเยี่ยม”

 

            หลายคนวิเคราะห์ว่า อาจเป็นเพราะในวัยเด็กไอน์สไตน์มีปัญหาการสื่อสาร และเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ หรือความพิการทางการอ่านหรือเขียน (dyslexia) จนคุณครูในวัยเด็กของเขาถึงกับเอ่ยว่าเขาคง “ไม่สามารถทำอะไรได้ในชีวิตนี้” แม่ของเขาจึงมองหาสิ่งที่จะช่วยให้ลูกชายได้ทำเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ

 

            แต่ในที่สุด ไอน์สไตน์ได้ค้นพบความสุขของตนเอง เขาชอบเล่นกับโจทย์ปัญหา ชอบแก้ปัญหาเชาว์ ชอบก่อสร้างอะไรยากๆ เช่น สร้างบ้านด้วยกองไพ่ และที่สำคัญที่สุดคือ เขาชอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ ชนิดที่ว่า แก้โจทย์คณิตศาสตร์เป็นงานอดิเรก!!

 

            ขณะที่ในช่วงปิดเทอมก็ยังนำหนังสือคณิตศาสตร์สำหรับชั้นสูงกว่ามาเรียนด้วยตัวเอง เรียนด้วยความสนุก จนสามารถหาข้อพิสูจน์ของทฤษฎีต่างๆได้ แถมยังคิดค้นทฤษฎีของตัวเองด้วย จนความสามารถของเขาเริ่มก้าวกระโดดล้ำหน้ากว่าเด็กนักเรียนคนอื่นๆ

 

 

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

ภาพถ่ายไอน์สไตน์ในวัยเด็ก ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2436 จากวิกิพีเดีย

 

 

 

            จุดเปลี่ยนหนึ่งในชีวิตคือครั้งที่พ่อของเขานำเข็มทิศพกพามาให้เล่น และทำให้ไอน์สไตน์รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างในพื้นที่ที่ว่างเปล่า ซึ่งส่งแรงผลักเข็มทิศให้เปลี่ยนทิศไป

 

            ภายหลังเขาได้อธิบายว่า ประสบการณ์เหล่านี้คือหนึ่งในส่วนที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่เขาในชีวิต

 

            เขาเคยกล่าวว่าตนนั้นยกความดีความชอบในการพัฒนาทฤษฎีของเขา ว่าเป็นผลมาจากความเชื่องช้าของเขาเอง โดยกล่าวว่าเขามีเวลาครุ่นคิดถึงอวกาศและเวลามากกว่าเด็กคนอื่นๆ เขาจึงสามารถสามารถพัฒนาทฤษฎีเหล่านี้ได้ โดยการที่เขาสามารถรับความรู้เชิงปัญญาได้มากกว่าและนานกว่าคนอื่นๆ

 

            แต่ต่อมาในปีพ.ศ. 2437 ธุรกิจเคมีไฟฟ้าของพ่อล้มเหลว ทำให้ครอบครัวไอน์สไตน์ย้ายจากเมืองมิวนิก ไปยังเมืองพาเวีย (ใกล้กับเมืองมิลาน) ประเทศอิตาลี

            อย่างไรก็ดี ชีวิตหลังจากนั้นของไอน์สไตน์ ดำเนินมาตามลำดับ เรียนจบ มีครอบครัว แต่ความเป็นอัจฉริยะของเขาก็ฉายออกมาเรื่อยๆ โดยเขาได้พบกับทฤษฎีสำคัญยิ่งสามทฤษฎีคือ ทฤษฎีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก ทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวเนียน และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ นั่นเอง

 

            ต่อมาปี คศ. 1909 มหาวิทยาลัยชูริกได้เชิญเขาเป็นอาจารย์ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ ไอน์สไตน์ได้ทำการสอนในอีกหลายมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยปราก มหาวิทยาลัยโปลิเทคนิคแห่งสวิส มหาวิทยาลัยเบอร์ริช

 

            ในปี คศ.1922 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลในสาขาฟิสิกส์ ต่อมาในปี คศ.1933 ขณะที่เขามีอายุ 54 ปี ที่เยอร์มันนาซีได้ยึดอำนาจการปกครอง ไอน์สไตน์จึงหลบออกจากเยอรมันเข้าเป็นสมาชิกของศูนย์วิทยาศาสตร์ชั้นสูงของอเมริกาและใช้ชีวิตที่เหลือทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา

 

             สำหรับชีวิตส่วนตัวนั้น เขาแต่งงานกับ มิเลวา มาริค มีบุตรสาวหนึ่งคน ชื่อว่า ไลแซล แต่เสียชีวิต ก่อนที่ทั้งคู่จะมบุตรด้วยกันหลังจากนั้น คือ ฮันส์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 ที่กรุงแบร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ บุตรคนที่สองคือ เอดูอาร์ด เกิดที่ซูริกเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2453

 

 

 

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

ไอน์สไตน์กับ อิเลวา มาริค ภรรยาคนแรก ภาพจากสกุลไทยออนไลน์ 

 

 

 

             ว่ากันว่าเธอเป็นคู่ชีวิตที่มีสติปัญญา เพราะในจดหมายฉบับหนึ่ง ไอน์สไตน์เรียกมาริคว่า “สิ่งมีชีวิตที่เสมอกันกับผม ผู้ซึ่งแข็งแรงและมีอิสระเฉกเช่นเดียวกัน” (ซึ่งคอลัมน์วันนี้ในอดีต จะขอนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป)

 

             อย่างไรก็ดี ภายหลังอัลเบิร์ตกับมาริคหย่ากันเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 หลังจากแยกกันอยู่ 5 ปี กระทั่งไอน์สไตน์แต่งงานใหม่ กับ เอลซา โลเวนธาล (นี ไอน์สไตน์) นางพยาบาลที่ช่วยดูแลอภิบาลระหว่างที่เขาป่วย

 

             ทั้งนี้ กับเอลซาเขาทั้งสองคนไม่มีลูกด้วยกัน โดยเธอเป็นญาติห่างๆ ทั้งทางฝั่งพ่อและฝั่งแม่ของไอน์สไตน์ โดยครอบครัวไอน์สไตน์ช่วยกันเลี้ยงดู มาร์ก็อต และ อิลเซ ลูกสาวของเอลซา จากการแต่งงานครั้งแรกของเธอ

 

 

           

 

                     ก่อนจบ ขอย้อนกลับไปยังชีวิตวัยต้นของเขาอีกที มีมุมหนึ่งที่สะท้อนว่า แม้ไอนสไตน์ จะเป็นอัจฉริยะจนแทบจะเหนือมนุษย์ แต่ด้านหนึ่งในตัวเขาก็ได้สะท้อนตัวตนของบิดามารดามาอย่างดี

 

             เพราะในขณะที่บิดาซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับเคมีไฟฟ้าไม่ประสบความสำเร็จ แต่บุตรชายของเขาทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นได้ เหมือนเป็นการต่อฝันของบิดาในเส้นทางของนักวิทยาศาสตร์ผู้รักการค้นคว้า

 

             และในขณะที่เขาถูกบังคับให้เล่นดนตรี แต่ภายหลังเขาก็กลับหลงใหลมันอย่างถอนตัวไม่ขึ้น กับทั้งยังได้เป็นสื่อกลางถ่ายทอดความสามารถทางเปียโนไปยังบุตรชาย แทนคุณย่าอีกด้วย

 

 

14 มี.ค.2422วันที่นักเปียโนสาว ให้กำเนิดอัจริยะโลก

 

 

             โดยในปี ค.ศ. 1915 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เขียนจดหมายจากกรุงเบอร์ลิน ถึงลูกชายของเขา ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งขณะนั้นพักอาศัยอยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า 

 

             “พ่อดีใจมากที่ลูกมีความสุขในการเล่นเปียโน พ่อเชื่อว่าการเล่นเปียโน และการช่างไม้เป็นเรื่องที่ดีที่สุดของลูกในวัยนี้ ดีกว่าการเรียนในโรงเรียนเสียอีก เพราะสิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับลูกจริงๆ จงเล่นเปียโนที่ลูกชอบไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าคุณครูจะไม่ได้สั่งให้ลูกทำก็ตาม นี่เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ทำสิ่งที่ลูกชื่นชอบมากๆจนลืมไปเลยว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน ในบางครั้ง พ่องมอยู่กับการทำงาน จนลืมไปเลยว่าต้องทานข้าวเที่ยง”

 

             วาระสุดท้ายของชีวิต อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวาย เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ที่เมืองพรินซ์ตัน รัฐนิวเจอร์ซี สหรัฐอเมริกา ขณะที่มีอายุ 76 ปี โดยก่อนหน้านั้นไม่นานเขาได้รณรงค์ต่อต้านการผลิตอาวุธนิวเคลียร์

 

**************************************

 

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ