วันนี้ในอดีต

แผ่นดินไหว-คลื่นยักษ์สึนามิ ถล่ม“ฟุกุชิมะ”ระเบิด!! 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

  “ปลา”จาก“ฟูกุชิมะ”เสิร์ฟไทยประเทศแรกช่วยกระตุ้นภาพจำแผ่นดินไหวขนาด9.0จากนั้น1ชม.คลื่นยักษ์สึนามิสููง13เมตรก็เข้าถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ระเบิด!!

 

          วันนี้ในอดีตเมื่อ16ปี เป็นเช้าวันใหม่ที่ไม่สดใสเอาเสียเลย เมื่อช่วงบ่ายๆของวันเดียวกันได้เกิดแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์เกิดใต้ทะเล ขนาด 9.0 แมกนิจูด นอกชายฝั่งประเทศญี่ปุ่น เกิดขึ้นเมื่อเวลา 14.46 น. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว  มีรายงานว่า อยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของ“คาบสมุทรโอชิกะ โทโฮะกุ”

          โดยมีจุดเกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้พื้นดิน 32 กิโลเมตร นับเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น และเป็น 1 ใน 5 แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของโลกเท่าที่มีการบันทึกสมัยใหม่มาตั้งแต่ พ.ศ. 2443

        เพียง 1 ชั่วโมงหลังเกิดแผ่นดินไหวก็ก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิทำลายล้าง ซึ่งสูงที่สุดถึง 40.5 เมตร ในมิยาโกะ อิวาเตะ โทโฮะกุ บางพื้นที่พบว่าคลื่นได้พัดพาลึกเข้าไปในแผ่นดินลึกถึง 14 กิโลเมตร(ก.ม.) และมีคลื่นที่เล็กกว่าพัดไปยังอีกหลายประเทศหลายชั่วโมงหลังจากนั้น ท่ามกลางความหวาดกลัวของคนทั่วโลกที่เกาะติดข่าวและส่งแรงใจช่วยชาวญี่ปุ่น

        ทางการญี่ปุ่น ได้มีการประกาศเตือนภัยสึนามิและคำสั่งอพยพประาชนตามชายฝั่งด้านแปซิฟิกของญี่ปุ่นและอีกอย่างน้อย 20 ประเทศ รวมทั้งชายฝั่งแปซิฟิกทั้งหมดของประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ 

      แผ่นดินไหวดังกล่าวรุนแรงเสียจนทำให้“เกาะฮอนชู”เลื่อนไปทางตะวันออก 2.4 เมตร พร้อมกับเคลื่อนแกนหมุนของโลกไปเกือบ 10 เซนติเมตร ประชาชน 18,500 คนเสียชีวิตเนื่องจากการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ

       ไม่เพียงแต่การสูญเสียชีวิตและการทำลายล้างโครงสร้างพื้นฐานของญี่ปุ่นแล้ว คลื่นสึนามิดังกล่าวยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ขึ้น เป็นอุบัติเหตุแกนปฏิกรณ์ปรมาณูหลอมละลายระดับ 7 ใน“โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ” ทางการญี่ปุ่นต้องอพยพราษฎรที่ได้รับผลกระทบนับหลายแสนคน

      โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่หนึ่งเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกุมะ เขตฟุตะบะ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 จิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO)

      แต่แผ่นดินไหวด้านทิศตะวันออกของญี่ปุ่น เกิดรอยแยกบนพื้นดินสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ให้ระบบสายไฟฟ้าแรงสูงของ“โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ“ตามแผนฉุกเฉินแล้วเครื่องปั่นไฟจะต้องทำงานต่อเพื่อให้ปั้มน้ำหล่อเย็นสูบน้ำเย็นไปเลี้ยงอุปกรณ์สำคัญที่อยู่ใจกลางเตาปฏิกรณ์เอาไว้ ซึ่งได้แก่”แท่งเชื้อเพลิงบรรจุยูเรเนียม"ความร้อนสูงมากภายในถังโลหะขนาดใหญ่

       นาทีวิกฤติ!! หลังแผนดินไหวขนาด 9.0 แมกนิจูด  เพียงหนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้น คลื่นสึนามิสูง 10 เมตร ก็เข้าถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ทั้งๆ ที่มีเขื่อนกั้นริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เครื่องปั่นไฟฟ้าดีเซลถูกคลื่นซัดให้จมอยู่ใต้คลื่นยักษ์สึนามี จนกระแสไฟฟ้าถูกตัดขาด น้ำที่อยู่รายรอบ“แท่งเชื้อเพลิง”กลายเป็นไอจนนำไปสู่หายนะที่รุนแรงที่สุดของมวลมนุษยชาติ 

       หายนะมาเยือนญี่ปุ่น หลังจากนั้นไม่กี่วัน ปรากฏว่าเตาปฏิกรณ์ 3 เตาซึ่งยังทำงานอยู่ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวก็เริ่มเสียหาย เชื้อเพลิงยูเรเนียมร้อนจัด ค่อนๆ รั่วออกจาแท่งเชื้อเพลิง ก๊าชไฮโดรเจนรั่วไหลไปทั่วอาคาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของเตาปฏิกรณ์ จนเกิดการระเบิด!! โดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554 กลุ่มควันปนเปื้อนสารกัมพันตภาพรังสีฟุ้งกระจายมาสู่อากาศภายนอก รวมถึงบ้านเรือนสิ่งก่อสร้างของชาวญี่ปุ่น

        ภัยพิบัติด้านนิวเคลียร์ครั้งนี้  นับเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุด  นับตั้งแต่ภัยพิบัติ“โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล”ในประเทศยูเครน เมื่อปี 1986  หรือ พ.ศ. 2520 และเป็นอันดับที่สองรองจาก “เชอร์โนบิล”ที่ระดับ 7 ตามการจัดอันดับของมาตรวัดเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ แต่มีความซับซ้อนกว่า เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดได้รับผลกระทบ ได้มีการปลดปล่อยกัมมันตรังสี 10 ถึง 30% ของที่เชอร์โนบิลโรงไฟฟ้าประกอบด้วยเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด 6 เครื่องแยกจากกัน ซึ่งแต่เดิมได้รับการออกแบบโดยบริษัท General Electric (GE) และได้รับการบำรุงรักษาโดยบริษัท Tokyo Electric Power Company (TEPCO)

         คนงานและเหล่าวิศวกรใช้โดรนปฏิบัติการสูบน้ำเย็นเข้าไปหล่อเลี้ยงเตาปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้แม่งเชื้อเพลิงหลอมละลายและเกิดการระเบิดอีกครั้ง

       บริษัทเทปโก้เจ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ  หวังเข้าไปซ่อมแซมระบบ 1 เดือนหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม ด้วยการหมุนเวียนน้ำเย็นของเตาปฏิกรณ์ให้กลับสภาพเดิมกับตอนเครื่องเดินปกติ น้ำหล่อเย็นจะหมุนเวียนผ่านเตาปฏิกรณ์ในลักษณะ“วงจรปิด”โดยน้ำเดือดจะกลายเป็นไอเมื่อได้รับความร้อนจากเชื้อเพลงนิวเคลียร์ ไอน้ำที่เกิดขึ้นจะลอยไปปั่นกังหันเครื่องไฟฟ้าได้กระแสไฟฟ้าออกมา

       แต่ระบบน้ำหล่อเย็นเสียหายใช้งานไม่ได้ มีรังสีตกค้างสูงคนเข้าไปซ่อมแซมไม่ได้ บริษัทเทปโก้จึงปิดระบบแบบเย็น โดยการสูบน้ำเย็นเข้าไปในเตาปฏิกรณ์ทั้ง 3 เตา ในอุณหภูมิต่กว่า 10 องศาเซลเซียล ทำให้น้ำหยุดเดือด จากนั้นปล่อนน้ำออกมาเพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนและทำให้เย็นลง ก่อนจะสูบมันกลับเข้าไปในเตาปฏิกรณ์อีกครั้ง

        เหนืออื่นใด ปฏิบัติการระเบิดระบบเย็น ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์หล่อเย็น 400,000 ลิตร สูบเข้าไปเลี้ยงเตาปฏิกรณ์  ในแต่ละวันจะปนเปื้อนสารกัมพันตภาพรังสีออกมา และถูกนำไปกำจัดในทันที

        “มะซะโอ”ชายผู้กล้าหาญหยุดหายนะครั้งใหญ่ หลังเกิดเหตุได้เพียง 1 วัน “มะซะโอ”ผู้จัดการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ได้ฝ่าฝืนคำสั่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ คำสั่งบริษัทเทปโก้ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างเขาสั่งการให้ระบายไอของกัมมันตภาพรังสีจากเตาปฏิกรณ์ที่1 เพื่อจะได้สูบน่ำทะเลเข้าไปหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่อยู่ด้านใน การตัดสินใจของเขาทำให้ตัวอาคารระเบิด แต่ส่งผลดีต่อชาวญี่ปุ่น เพราะการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ทีได้รับความเสียหายในครั้งนี้ ปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาในปริมาณที่ไม่สูงมาก

       โชคดีที่“มะซะโอ” หยุดความรุนแรงไว้ได้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นประเทศญี่ปุ่นต้องเผชิญกับหายนะครั้งยิ่งใหญ่ ไม่ต่างไปจากที่เกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลมาแล้ว 

       ต่อมาเมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2555 สภานิติบัญญัติแห่งชาติญี่ปุ่นได้แต่งตั้ง คณะกรรมการอิสระเพื่อการสอบสวนอุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ (NAIIC) ให้ส่งรายงานการสืบสวนไปยังสภาญี่ปุ่น[26]คณะกรรมการพบว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์เป็น “ฝีมือมนุษย์” โดยที่สาเหตุโดยตรงของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดเป็นสิ่งที่คาดการณ์ก่อนได้ก่อนวันที่ 11 มีนาคม 2554

      นอกจากนี้รายงานยังพบว่าโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ  "ไม่มีความสามารถ" ในการอดทนต่อการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ TEPCO ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (NISA และ NSC) และเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ (METI) ทั้งหมดนี้ล้มเหลวในการในการพัฒนาอย่างถูกต้องถึงระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัยขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่ เช่นการประเมินความน่าจะเป็นของความเสียหาย การเตรียมความพร้อมสำหรับการจำกัดวงความเสียหายหลักประกันจากภัยพิบัติเช่นนั้น และการพัฒนาแผนอพยพสำหรับประชาชนในกรณีของการปลดปล่อยรังสีร้ายแรง

      ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียวให้จัดส่งรายงานขั้นสุดท้ายให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นในวันที่ 23 เดือนกรกฎาคม 2555 การศึกษาที่แยกต่างหากโดยนักวิจัยสแตนฟอร์ดพบว่าโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นที่ดำเนินการโดยบริษัทสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดไม่มีการป้องกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสึนามิที่อาจเกิดขึ้น

       TEPCO ได้ยอมรับเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ว่าบริษัทล้มเหลวที่จะใช้มาตรการที่แข็งแกร่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยพิบัติเพราะกลัวว่าจะเป็นการเชื้อเชิญให้มีการดำเนินคดีทางกฎหมายหรือให้มีการประท้วงต่อต้านโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ของตนไม่มีแผนการที่ชัดเจนสำหรับการรื้อถอนโรงไฟฟ้า แต่ฝ่ายบริหารโรงไฟฟ้าประมาณการไว้ที่30ปีหรือ40ปี

        ไม่มีรายงานการเสียชีวิตที่เชื่อมโยงกับการสัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสี แต่" Mark Z. Jacobson"อาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและผู้สนับสนุนการต่อต้านนิวเคลียร์ คาดการณ์ว่าในที่สุดจะมีการเสียชีวิต 130 รายและผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้น 180 ราย ที่ส่วนใหญ่ของกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นในประชากรในพื้นที่ที่ปนเปื้อนส่วนใหญ่ของฟุกุชิมะ

       "นะโอะโตะ คัง"นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า “ในช่วงเวลา 65 ปีนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตการณ์ครั้งนี้นับว่าร้ายแรงและยากลำบากที่สุดสำหรับญี่ปุ่น” 

       สำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 15,729 ราย บาดเจ็บ 5,719 ราย และสูญหาย 4,539 ราย ในพื้นที่18จังหวัด เช่นเดียวกับอาคารที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายกว่า 125,000 หลัง รวมทั้งถนนและรางรถไฟ เช่นเดียวกับเหตุเพลิงไหม้ในหลายพื้นที่ และเขื่อนแตก บ้านเรือนราว 4.4 ล้านหลังคาเรือนทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ และอีก 1.5 ล้านคนไม่มีน้ำใช้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหลายเครื่องไม่สามารถใช้การได้ และเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อย่างน้อยสามเครื่องได้รับความเสียหาย

        ประมาณการความเสียหายเบื้องต้นเฉพาะที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวอย่างเดียว อยู่ระหว่าง 14,500 ถึง 34,600 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบอย่างน้อย 15 ล้านล้านเยน เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 เพื่อพยายามฟื้นฟูสภาพการตลาดให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

         เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ธนาคารโลกประมาณการความเสียหายระหว่าง 122,000 ถึง235,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิอาจมีมูลค่าสูงถึง 309,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งทำให้มันเป็นภัยธรรมชาติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา 

         ขณะที่ในประเทศไทย มีความพยายามที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มีมานานแล้ว ประมาณ 50 ปี จากรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารคือ“ รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์” ที่มีการอนุมัติ การร่างแผนจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ และมีการตั้งคณะกรรมการประสานงานการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ พร้อมทั้งงบประมาณก้อนใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2550 ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ทุกฉบับตั้งแต่ปี 2550 มีแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์รวมอยู่ด้วย

         หลังเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. มีมติระงับการดำเนินการจัดตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ก่อนเป็นเวลา 3 ปี

         ครั้นมาถึงยุครัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารอีกครั้ง คือ “บิ๊กตู่”พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แผนการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถูกงัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้มาในรูปของ การประกาศใช้ ร่าง พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์ เมื่อที่ประชุม คณะรัฐมนตรี วันที่ 4 สิงหาคม 2558 มีมติเห็นชอบรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์เป็นผู้เสนอ และวันที่ 11 ก.พ. 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช. ) มีมติรับหลักการ ร่าง พรบ. ฉบับนี้ และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา รายละเอียดภายใน 60 วัน     

        หัวใจสำคัญของร่างกฎหมายนี้ คือ การตั้ง คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์ ทำหน้าที่ กำกับดูแลการใข้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ อีกทั้งในร่างกฎหมายนี้ ยังมีคำว่า “ สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ “ 6 ประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สถานที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เพื่อผลิตเชื้อเพลิง

      ร่าง พ.ร.บ. พลังงานนิวเคลียร์ซึ่งผ่าน สนช. วาระแรกไปแล้ว จึงเป็นกฎหมายที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ออกมาเพื่อรองรับ การตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย โดย คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์ที่มี“นายกรัฐมนตรี”เป็นประธาน เป็นผู้กำหนดกฎ กติกาด้วยหรือไม่??

          ไทยจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีกครั้งเมื่อ JAPAN TIMES นำเสนอข่าว ว่าไทยเป็นประเทศแรกในการนำเข้า"ปลาฮิราเมะ" หรือ"ครีบปลาตาเดียว"จากจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น จังหวัดที่เคยเจอแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 และทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะมีสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล เรื่องนี้ถูกหยิบยกและแสดงความกังวลอีกครั้งว่าปลาที่นำเข้ามานั้นจะยังมีสารปนเปื้อนตกค้างหรือไม่แม้ว่าเวลาจะผ่านมา 16 ปี

           โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ในอนาคต ณ วันนี้คนไทย อย่าลืมหายนะครั้งยิ่งใหญ่ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ นะขอบอก!!

  --------------//----------------

ขอบคุณข้อมูล​

วีกีพีเดีย-เว็บไซต์เตือนภัยสารกัมมันตรังสี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ