วันนี้ในอดีต

 1 ก.พ. 2486 รำลึก "ครูเทพ"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันครูที่ผ่านมา หลายคนอาจนึกถึงครูเทพผู้ที่เป็นเหมือนครูของครูผู้นี้ เพราะท่านได้ทำคุณประโยชน์ทางวิชาการไว้กับประเทศหลายประการเกินจะกล่าวได้หมด

                “พวกเรา นักกีฬา ใจกล้าหาญ เชี่ยวชาญ ชิงชัย ไม่ย่นย่อ คราวชนะ รุกใหญ่ ไม่รีรอ คราวแพ้ ก็ไม่ท้อ กัดฟันทน” (สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล"

                คนไทยรู้จักเพลงนี้ดี คือ “เพลงกราวกีฬา” แต่จะมีกี่คนที่จำได้ว่าเพลงนี้ ผู้ประพันธ์คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ในนามปากกาว่า “ครูเทพ” เพื่อจูงใจให้นักกีฬารู้จักการแพ้ชนะและรู้จักการให้อภัย

              วันครูที่ผ่านมา หลายคนอาจนึกถึงครูเทพผู้ที่เป็นเหมือนครูของครูผู้นี้ หากแต่ในวันนี้เมื่อ 75 ปีก่อน คือวันที่ท่านได้ลาโลกไปด้วยอาการหัวใจวาย รวมอายุได้ 67 ปี  จึงขอรำลึกถึงเรื่องราวของท่านอีกครั้ง

 

 1 ก.พ. 2486  รำลึก "ครูเทพ"

                เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2419 ที่บ้านหลังศาลหัวเม็ด ตำบลสะพานหัน กรุงเทพฯ  นามเดิม สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นบุตรคนที่ 18 ในจำนวนพี่น้อง 32 คน ของพระยาไชยสุรินทร์ (เจียม เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงเกษตรและพระคลังในสมัยรัชการที่ 5 แต่เป็นบุตรคนโตของมารดาชื่อยู่

                ชีวิตพลิกผัน เพราะเมื่ออายุได้ 8 ปี บิดาถึงแก่กรรม ส่งผลให้ฐานะครอบครัวตกต่ำลง  มารดาจึงหารายได้ทางเย็บปักถึกร้อย ขณะที่ท่านเองก็ช่วยมารดาเย็บรังกระดุมอีกแรง

                เมื่ออายุ 12 ปี ได้เรียนหนังสือด้วยวิธีต่อหนังสือที่โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข  สอบได้ประโยคหนึ่ง ในปี พ.ศ.2431 แล้วเรียนที่โรงเรียนพระดำหนักสวนกุหลาบสอบไล่ได้ประโยคสอง  ต่อมาสอบไล่ได้ชั้น 5 ภาษาอังกฤษตามหลักสูตรหลวง  ปี พ.ศ.2432 เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนผึกหัดอาจารย์ ปีพ.ศ. 2435 จนได้รับประกาศนียบัตรครูสอบไล่ได้ที่ 1 ของผู้สำเร็จวิชาครูรุ่นแรก ได้รับพระราขทานรางวัล เมื่อ พ.ศ.2437

                ทางกระทรวงธรรมการได้คัดเลือกส่งไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศอังกฤษ  จนได้รับรางวัลประกาศนียบัตรวิชาครูของอังกฤษ  จากโรงเรียนฝึกหัดครูเบอโรโรค  ที่ตำบลไวสลเวิฟ  ใกล้กับกรุงลอนดอน เมื่อ พ.ศ.2441

                จากนั้นท่าน เข้ารับราชการเมื่อปี พ.ศ.2435 ในกระทรวงธรรมการ เป็นนักเรียนสอบในโรงเรียนตัวอย่าง จนได้เป็นครูผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อ พ.ศ.2437 เมื่อกลับมาจากประเทศอังกฤษก็ได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพ.ศ. 2459 โดยได้บรรดาศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็น  เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเมื่อ พ.ศ.2460

                อย่างไรก็ดี ท่านยังมีความสามารถในด้านการงานประพันธ์ โดยนอกจากบรรดา แบบเรียน ที่ท่านออกแบบแล้วเช่น – แบบเรียนอนุบาล, แบบเรียนวิชาครู, ตรรกวิทยา, เรขาคณิต, พีชคณิต, แบบสอนอ่านธรรมจริยา, สุขาภิบาลสำหรับครอบครัว, สมบัติผู้ดี

                ท่านยังมีงานประพันธ์อีกมากมาย โดยครั้งแรก เมื่ออยู่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์เขียนด้วยลายมือ  คือหนังสือ  “สัปดาหะการ”

                ขณะเมื่อเป็นนักเรียนฝึกหัดอาจารย์  ได้ออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ชื่อ “วิทยาจารย์” โดยเป็นทั้งบรรณาธิการและทำทุกอย่างด้วยตัวเอง  และจัดตั้งสามัคยาจารย์สมาคมหนังสือ  “วิทยาจารย์”  ได้โอนเป็นของสามัคยายาจารย์สมาคมและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน

                นอกจากนี้ หลังจากที่กลับมาจากประเทศอังกฤษ ได้ร่วมกับ น.ม.ส.แม่วัน  และเพื่อนๆ ออกหนังสือรายเดือนชื่อ “ลักวิทยา” เมื่อ พ.ศ.2448 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือนฉบับแรกที่เน้นสารบันเทิง  โดยนำวิทยาการจากต่างประเทศมาเผยแพร่ ทำได้เพียง 2 ปีเศษ  ต้องเลิกเพราะผู้จัดทำไม่สามารถปลีกเวลามาดูแลได้

 1 ก.พ. 2486  รำลึก "ครูเทพ"

นายกองโท เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ภาพจาก http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_81.htm
 

                 แต่ต่อมาก็มีหนังสือพิมพ์ “ทวีปัญญา” มีพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มและเป็นบรรณาธิการ  ชาวคณะ  “ลักวิทยา”  แม้จะอยู่ได้ไม่นานนัก แต่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้เขียนเรื่องประโลมโลก  ส่วนบทประพันธ์ได้เขียนไว้ด้วยเหมือนกันโดยใช้นามปากกา “เขียวหวาน” ผลงานใน “ลักวิทยา” และ “ทวีปัญญา” มีความสำคัญต่อวรรณกรรมไทยปัจจุบัน เช่น เรื่องสั้น  “คุณย่าเพิ้ง” ได้รับยกย่องว่าเป็นเร่องสั้นไทยยุคบุกเบิกที่ดีที่สุด  ในขณ ะที่รับราชการและเมื่พันราชการออกมาแล้วก็ยังได้เขียนบทประพันธ์ต่างๆ ไว้มากมาย  นามปากกาที่รู้จักกันทั่งไปคือ “ครูเทพ”  รวมทั้งยังเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกร้อยกรองไทยปัจจุบันคนสำคัญ

                อนึ่ง ความสามารถทางด้านการประพันธ์ ซึ่งถือว่าท่านเป็นคนสำคัญท่านหนึ่งของประเทศไทย หากแบ่งเป็นความเรียงร้อยแก้ว และบทร้อยกรอง อาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

                1. แบบเรียน มีตั้งแต่แบบเรียนอนุบาล แบบเรียนวิชาครู ตรรกวิทยา เรขาคณิต พีชคณิต แบบสอนอ่านธรรมจริยา สุขาภิบาลสำหรับครอบครัว สมบัติผู้ดี และอื่นๆ อีกมาก

                2. โคลง –กลอน แต่งไว้เป็นจำนวนมาก และไดรับการรวบรวมตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “โคลงกลอนของครูเทพ”

                3. บทความ ว่าด้วยการศึกษา จรรยา การสมาคม เศรษฐกิจและการเมือง และปรัชญา โดยใช้นามปากกาว่า “ครูเทพ” บ้าง “เขียวหวาน” บ้าง

                4. ละครพูด แต่งขึ้นรวม 4 เรื่อง ได้แก่ บ๋อยใหม่ แม่ศรีครัว หมั้นไว้ และตาเงาะ

 1 ก.พ. 2486  รำลึก "ครูเทพ"

 1 ก.พ. 2486  รำลึก "ครูเทพ"

                ส่วนความสามารถทางด้านดนตรี ท่านยังเป็นผู้ประพันธ์ “เพลงกราวกีฬา” ในนาม “ครูเทพ” เพื่อจูงใจให้นักกีฬารู้จักการแพ้ชนะและรู้จักการให้อภัย ทั้งนี้สืบเนื่องจากการการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายและการแข่งขันกีฬาในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมทั้งการริเริ่มให้มีการแข่งขันฟุตบอลซึ่งเป็นกีฬาที่รุนแรง ซึ่งในเวลาต่อมาที่มักเกิดการวิวาทกันอยู่เนืองๆ เพลง กราวกีฬา มีเนื้อร้องท่อนต้นดังนี้

                “พวกเรา นักกีฬา ใจกล้าหาญ เชี่ยวชาญ ชิงชัย ไม่ย่นย่อ  คราวชนะ รุกใหญ่ ไม่รีรอ คราวแพ้ ก็ไม่ท้อ กัดฟันทน

(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล

                ร่างกาย กำยำ ล้ำเลิศ กล้ามเนื้อ ก่อเกิดทุก แห่งหน แข็งแรง ทรหด อดทน ว่องไว ไม่ย่น ระย่อใคร

(สร้อย) อึม อึม อึม อึม กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลศ ทำคนให้เป็นคน ผลของการฝึกตน เล่นกีฬาสากล

                ในส่วนของชีวิตส่วนตัว ทานได้สมรสกับ ท่านผู้หญิงถวิล ธิดาของมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) กับคุณหญิงพึ่ง และมีภริยาอีก 4 คน มีบุตร-ธิดารวม 20 คน

                ต่อมาหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้ถวายบังคมลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2469 มาอยู่ที่บ้านพักตำบลนางเลิ้ง หลานหลวง ถนนนครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร และช่วยบุตรีคือคุณไฉไลเปิดโรงเรียนสตรีจุลนาค และได้ช่วยสอนโดยวิธีใหม่ที่ท่านพยายามเผยแพร่ด้วย

                นอกจากนี้ ยังใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเขียนบทความ หนังสือและบทประพันธ์ต่างๆ รวมทั้งบทเพลงดังที่กล่าวมาแล้ว ปัจจุบันบ้านพักของท่านที่ถนนนครสวรรค์ดังกล่าว ซึ่งสร้างขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับพระที่นั่งอนันตสมาคม แม้จะมีขนาดเล็กและเรียบง่ายแต่ก็มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์โดยกรมศิลปากร

 

 1 ก.พ. 2486  รำลึก "ครูเทพ"

ขอบคุณภาพจาก http://www.thaitribune.org/contents/detail/331?content_id=22868&rand=1474137568

                และยังมีประสบการณ์ทางการเมือง โดยวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

                ท่านยังได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และยังเป็น “ประธานสภาผู้แทนราษฏรคนแรก” ของประเทศไทย รวมทั้งได้เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการอีกด้วย

                อย่างไรก็ดีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี  ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  1 กุมภาพันธ์พ.ศ.2486 ด้วยโรคหัวใจวาย ที่บ้านพักถนนนครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 66 ปี 1 เดือน

////

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ