วันนี้ในอดีต

24 ม.ค 2543 นาทีนั้นถามหน่อยใครกล้า ถ้าไม่ใช่เขา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ที่อาสาก็เพราะว่าตอนนั้นรู้สึกว่าการเจรจามันถึงทางตัน การประชุมเกี่ยวกับเรื่องปัญหานี้ก็เพิ่งจบไป และผมก็นั่งเป็นกำลังใจกับนายกฯ ชวน ผมเป็นรัฐมนตรีที่นั่งอยู่

                วันนี้ในอดีต หากจะนับเอาวันที่เกิดเหตุการณ์ร้าย ทำให้คนทั่วโลกช๊อค นั่นอาจรวมเหตุการณ์ ที่กองกำลัง “ก๊อด'ส อาร์มี่” บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และตามมาในวันนี้เมื่อปี 2543 อีกครั้งที่ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี

                แต่สำหรับเหตุการณ์หลัง ยังเผยความเป็นคนกล้า หรือฮีโร่คนหนึ่งของเมืองไทย ที่หลายคนอาจหลงลืมไปแล้ว เพราะไปมัวจดจำกับภาพทางการเมืองยุคหลังของเขา นั่นคือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ตำแหน่งขณะนั้น) ที่มีเพียงเขาเท่านั้นที่ก้าวออกมาทำในสิ่งที่หลายคนไม่กล้าทำ

                ย้อนรอยไปดูเหตุการณ์ที่กลุ่มนักศึกษากะเหรี่ยงคริสต์ สัญชาติพม่า ติดอาวุธสงคราม เรียกกองกำลังตัวเองว่า ก๊อด'ส อาร์มี่ (God's Army) หรือ กองกำลังพระเจ้า เข้าบุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี ในเช้าวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2543

 

24 ม.ค 2543 นาทีนั้นถามหน่อยใครกล้า ถ้าไม่ใช่เขา

                ตามข่าวระบุว่า กองกำลังนักศึกษาพม่านี้ นำโดย นายเบดาห์หรือปรีดา จำนวน 10 คน ได้ก่อเหตุปลอมตัวเป็นผู้โดยสารนั่งรถประจำทางสายสวนผึ้ง-ราชบุรี แล้วใช้ปืนเอ็ม-16 และระเบิดจี้คนขับรถให้พาไปยังโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อไปถึงได้บุกยึดโรงพยาบาล จับแพทย์ พยาบาล และคนไข้ประมาณ 1,000 คน เป็นตัวประกัน

                จากนั้น เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยพยายามเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้ก่อการได้วางระเบิดดักไว้ที่ลาดจอดรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีเจรจาต่อรอง

                จนทราบว่า กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ ต้องการนำตัวแพทย์ และพยาบาลไปรักษาทหารกะเหรี่ยงที่ได้รับบาดเจ็บจากการถูกทหารรัฐบาลพม่าปราบปรามอย่างหนัก การเจรจาผ่านไปเกือบ 20 ชั่วโมง กลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ได้ร้องขอเครื่องมือสื่อสารและเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ให้พากลับไปส่งยังชายแดน ที่อำเภอสวนผึ้ง

                ในขณะที่พยายามจัดหาสิ่งที่ฝ่ายผู้ก่อการร้องขอมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยทั้งทหารและตำรวจพยายามต่อรองเพื่อหันเหความสนใจ โดยการถ่วงเวลาให้ผู้ก่อการอ่อนล้าและรอกำลังเสริม เพราะฝ่ายไทยต้องการจัดการขั้นเด็ดขาด

                ในที่สุด เวลา 04.00 น. ของวันที่ 25 มกราคม กองกำลังผสม หน่วยนเรศวร 261 และหน่วย อรินทราช 26 จำนวน 50 นายได้บุกเข้าไปช่วยเหลือตัวประกัน ควบคู่ไปกับการจัดการขั้นเด็ดขาด โดยใช้เวลาเพียงไม่ถึง 20 นาที สามารถช่วยเหลือตัวประกันไว้ได้ทั้งหมดอย่างปลอดภัย และกลุ่มก๊อด'ส อาร์มี่ เสียชีวิต 10 คน

                กระทั่งวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544 ลูเธอร์และจอห์นนี่ ทู พร้อมลูกน้องทั้ง 55 คน ได้เข้ามอบตัวต่อทางการไทย และถูกส่งไปอยู่ในค่ายผู้อพยพ "พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง" ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

                ใช่แล้ว ที่เล่ามาทั้งหมดคือฉากของเหตุการณ์ภาพรวม แต่ในรอยต่อของเหตุการณ์นี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไร

 

24 ม.ค 2543 นาทีนั้นถามหน่อยใครกล้า ถ้าไม่ใช่เขา

 

                เล่าย้อนอีกครั้ง กล่าวคือ ในช่วงการเจรจาไม่ได้ผล แต่ตัวประกันสามารถทยอยหนีออกมาได้เรื่อย ๆ หลังสถานทูต จนเหลือเพียง 5 คน จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. นายจอห์นนี่ได้ต่อรองขอเฮลิคอปเตอร์ให้ไปส่งตนและพรรคพวกที่ชายแดนไทย-พม่า ที่จังหวัดราชบุรี ทางรัฐบาลไทยได้ตอบรับ โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ เสนอตัวเป็นตัวประกันนั่งโดยสารไปด้วยเพื่อรับรองความปลอดภัยจนกระทั่งถึงที่หมาย

 

24 ม.ค 2543 นาทีนั้นถามหน่อยใครกล้า ถ้าไม่ใช่เขา

 

                ซึ่งระหว่างตอนที่รถของนักศึกษาและรถของเจ้าหน้าที่ไทยออกจากสถานทูต ได้มีการปิดถนนสาทรและมีการรายงานสดจากที่เกิดเหตุของบรรดาสื่อมวลชนช่องต่าง ๆ ในที่สุด เมื่อผ่านไป 25 ชั่วโมงนับจากเกิดเหตุ เหตุการณ์ก็จบลงอย่างสงบ

         หลังจากนั้น สื่อมวลชนได้ต่างพากันเสนอแนะและวิพากษ์วิจารณ์ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสองพี่น้อง กองกำลังก็อดอาร์มี หรือผู้นำเป็นเด็กผู้ชายฝาแฝดอายุเพียง 12 ขวบ ชื่อ ลูเธอร์ กับ จอห์นนี่ ฮะทู เป็นเด็กแฝดที่มีลิ้นสีดำ

 

24 ม.ค 2543 นาทีนั้นถามหน่อยใครกล้า ถ้าไม่ใช่เขา

 

                ซึ่งตามความเชื่อว่าของชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่าว่าเป็นผู้ทีบุญ โดยที่พำนักของนักศึกษาพม่าในประเทศไทย มีศูนย์ใหญ่ที่สุด ชื่อ ศูนย์มณีลอย ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มีนักศึกษาที่หลบหนีจากเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศพม่ามาพำนักยังศูนย์นี้จำนวนมาก ซึ่งทางรัฐบาลจะต้องให้ความดูแลและรอบคอบทางด้านความปลอดภัยมากกว่านี้

                อย่างไรก็ดี คุณชายหมูเคยให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ในนิตยสารไฮคลาส ราวช่วงปี 2553 หรือ 10 หลังเกิดเหตุการณ์ ว่า ตอนแรกตนนั้นไม่ได้คิดอะไรมาก ตนทำไปเพราะมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบ

                “ที่อาสาก็เพราะว่าตอนนั้นรู้สึกว่าการเจรจามันถึงทางตัน การประชุมเกี่ยวกับเรื่องปัญหานี้ก็เพิ่งจบไป และผมก็นั่งเป็นกำลังใจกับนายกฯ ชวน ผมเป็นรัฐมนตรีคนเดียวที่นั่งอยู่”

                “ แล้วท่านนายกฯ ชวนมีดำริขึ้นมาว่าน่าจะเสนอให้แลกตัวประกัน ให้ผู้ใหญ่ของเราคนหนึ่งเข้าไปแลกกับตัวประกันคนอื่นทั้งหมดออกมา ผมก็เป็นรัฐมนตรีในห้องนั้น และมีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วยในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพราะผมไม่สามารถจะบอกว่าเสนอปลัดฯ หรืออธิบดีกรมเอชัยตะวันออกไปแทน ผมก็เสนอตัวเอง”

                “ ไม่คิดว่าท่านนายกฯ ชวนจะพยักหน้า ตอนนั้นดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการฯ ไม่อยู่ ผมรักษาราชการแทน พอท่านนายกฯ ชวนจะพยักหน้าปรากฏว่าท่านพยักหน้าผมก็ต้องเดินหน้าต่อไปผมเป็นลูกผู้ชาย”

                “ผมก็เป็นลูกผู้ชาย ครั้นจะบอกว่า “ท่านนายกฯ ครับผมพูดเล่นนะครับ ไม่ซีเรียสนะ ชิลชิลนะ” ก็ไม่ได้ แล้วเผอิญพวกกะเหรี่ยงก็รับข้อเสนอ (แลกตัวประกัน) ผมก็เลยไป ผมก็กลัวนะครับทำไมจะไม่กลัว”

                นิตยสารไฮคลาสยังถามต่อว่า แล้วคนในครอบครัวอย่างภรรยาไม่หยิกเอาหรือ คำตอบคือ

                “ตอนนั้นภรรยา (สาวิตรี บริพัตร ณ อยุธยา) อยู่ต่างประเทศ ผมไม่บอกพ่อผม มีลูกชายคนเล็ก (หม่อมหลวงวราภินันท์ บริพัตร) ก็ยังเล็กเกินไปที่จะบอก ลูกชายคนโต (หม่อมหลวงพินิตพันธุ์ บริพัตร) ก็โตพอที่จะรู้เรื่องแล้วแต่ว่าเขาเปลี่ยนเบอร์มือถือ เลยไม่รู้จะบอกเขาอย่างไร มีเลขาฯ ผมคุณป้อม (เพ็ญนภา ไพศาลศุภนิมิต) ให้ช่วยหาเบอร์ลูกชายคนโต ดังนั้นป้อมจึงเป็นคนแรกที่ไม่ใช่คนในทำเนียบที่รู้ ผมไม่กล้าบอกพ่อผม (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์)”

                ส่วนหากว่าคนอยากรู้ว่า วันนั้น ชายหมูห้อยพระอะไร ไฮคลาสก็ถามมาให้ จนได้คำตอบว่า

                “มีคนถามเยอะนะครับ (หัวเราะ) แต่วันนั้นห้อยพระน้อยกว่าวันนี้นะ (หัวเราะร่า) ห้อยพระของทางบรรพบุรุษของผม คุณตาของผมเป็นคนที่สะสมพระเครื่องพระสมเด็จฯ”

                อย่างไรก็ดี ในขณะที่หลายคนบอกว่า สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ ซึ่งเจ้าตัวก็ไม่เถียง โดยบอกว่า

                “วันที่แลกตัวประกัน อาจจะเป็นการปลอบใจตนเองก็ได้ เพราะว่าผมรู้ว่าวันนั้นไม่ใช่วันตายของผม อาจจะเป็นการปลอบใจตัวเองก็ได้นะแต่ผมรู้ว่าวันนั้นไม่ใช่วันตาย ผมจะต้องมีชีวิตอยู่หลังจากนั้น”

                “ผมมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมทำในวันที่แลกตัวประกันเท่านั้น วันนี้ก็ด้วยที่เป็นผู้ว่าฯ กทม.(ขณะที่สัมภาษณ์) ผมไม่ได้ทำในฐานะที่เป็นตัวผมเองเท่านั้น แต่ผมเป็นส่วนหนึ่งของราชสกุลที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ราชสกุลหนึ่งเพราะฉะนั้นจะทำไม่ดีไม่ได้”

                แต่หลายคนก็อดปรบมือให้เขาไม่ได้ เพราะเอาเข้าจริงถามหน่อยว่า นาทีนั้นใครบ้างที่จะกล้าทำ!! (http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent.php?sub_id=1150)

//////////////////////////////////////

ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย

นิตยสารไฮคลาส อ่านฉบับเต็มได้จากลิงค์นี้ http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent.php?sub_id=1150

 

 

 

               

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ