วันนี้ในอดีต

18 ม.ค.2552 เชื่อมันประเทศไทย กับนายกฯ คนไหนดี?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เมื่อหมอกควันทางการเมืองเริ่มปกคลุมประเทศ จากการที่กลุ่มคนเสื้อแดงประท้วงไล่รัฐบาล รายการนี้กลับกลายเป็นพื้นที่ให้นายกฯ อภิสิทธิ์ชี้แจงถึงปฏิบัติการต่างๆ

           ท่ามกลางคำครหา วาทกรรมจากฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองว่าเป็น “รัฐบาลจากค่ายทหาร”

          แต่แล้วรัฐบาลไทยชุดที่ 59 โดยการนำของ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย ซึ่งเวลานั้นนับเป็นนายกรัฐมนตรีอายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี อย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

          ได้นำพารัฐนาวามาจนถึงวันที่ เขาต้องขอมีพื้นที่เพื่อสื่อสารกับประชาชนบ้าง เฉกเช่นเดียวกับอดีตนายกฯ ทักษิณที่เคยมีรายการ “นายกทักษิณ คุยกับประชาชน” ที่ออกอากาศทุกวันเสาร์สมัยที่ยังอยู่ในอำนาจ

          และวันนี้ของเมื่อ 9 ปีก่อน รายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” จึงถือกำเนิดเกิดขึ้น และออกอากาศเป็นวันแรก ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-10.00 น.

 

18 ม.ค.2552  เชื่อมันประเทศไทย กับนายกฯ คนไหนดี?

          โดยรูปแบบรายการในช่วงแรกๆ คือ การรายงานผลการปฏิบัติงานของรัฐบาล ตามปกติทั่วไป โดย,มีพิธีกรชื่อดังหมุนเวียนเข้ามาสัมภาษณ์ ทั้งยังมีการเปิดให้มีการสื่อสารสองทางจากประชาชน โดยการเปิดให้มีการส่ง SMS เข้ามาคอมเม้นท์และตั้งคำถาม

          และยังมีการนำไปเผยแพร่ในหน้า 2 ของทุกวันศุกร์ ทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดยยังมีการตอบคำถามของท่านนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนส่งคำถามเข้ามา

          ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน นายกฯ อภิสิทธิ์ในขณะนั้นได้กล่าวว่า รายการจะเน้นคุยเรื่องเศรษฐกิจ ในความสนใจของประชาชน แต่สัปดาห์ต่อๆ ไปก็จะไม่ยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง จะมีความหลากหลายมากขึ้น ในลักษณะมีพิธีกรสัมภาษณ์ มีการออกไปพบปะกับประชาชนในบางที่ บางกลุ่มหรือรูปแบบอื่นๆ ต่อไป

          และดูเหมือนว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะแต่ละสัปดาห์ทุกวันเสาร์ คนไทยจะได้เห็นหัวหน้ามาร์ค ออกมาจ้อหน้าจอช่อง 11 ไม่ได้ขาด แถมยังมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เคยแจ้งเอาไว้

          เช่น นอกจากออกอากาศจากทำเนียบรัฐบาลเรียบๆ แล้ว ยังมีที่ วังสวนผักกาด, โครงการเกษตรหลวงอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ แม้แต่ในรถยนต์ประจำตำแหน่ง หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน นากยฯของเราคนนี้ทำมาหมดแล้ว หรือไปไกลถึง สวิสเซอร์แลนด์ และ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ก็มี!!

          แต่แล้ว เมื่อหมอกควันทางการเมืองเริ่มปกคลุมประเทศ จากการที่กลุ่มคนเสื้อแดง หรือ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเกิดเป็นความขัดแย้งอย่างรุนแรง

          รายการนี้กลับกลายเป็นพื้นที่ให้นายกฯ อภิสิทธิ์ชี้แจงถึงปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวการชุมนุมของคนเสื้อแดง มิใช่การรายงานการปฏิบัติหน้าที่ในยามปกติธรรมดา โดยนับแต่ช่วงปี 2553 นายกฯ อภิสิทธิ์ได้ย้ายไปจัดรายการที่ กรมทหาราบที่ 11 รักษาพระองค์

          และที่หนักหนา คือ เมื่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้ตัดสินใจการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ระหว่างวันที่ 7-19 พฤษภาคม พ.. 2553 จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากโดยมีชาวต่างประเทศรวมอยู่ด้วยสองศพ และเจ้าหน้าที่กู้ชีพ พยาบาลที่ไม่เกี่ยวข้องเลยอีกหลายศพ ขณะที่ยังมี พล..ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) ผู้สนับสนุนการรักษาความปลอดภัยแก่กลุ่มผู้ชุมนุม ที่ถูกกำลังไม่ทราบฝ่ายยิงที่ศีรษะระหว่างให้สัมภาษณ์แก่สำนักข่าวต่างประเทศ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

          กระทั่งแกนนำผู้ชุมนุมเข้ามอบตัวกับตำรวจเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม แต่เหตุการณ์ยังลุกลาม จนเกิดเหตุเผาอาคารหลายแห่งทั่วประเทศ รวมทั้ง เซ็นทรัลเวิลด์ 

          จะด้วยน้ำมือฝ่ายไหนก็ตาม แต่เวลาระหว่างนั้น นายกฯ อภิสิทธิ์ ได้ใช้พื้นที่หน้าจอ ส่งมอบให้ ศอฉ. หรือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน คอยออกแถลงการณ์รายงาน ชี้แจงการปฏิบัติการของทหารที่เกิดขึ้น

 

18 ม.ค.2552  เชื่อมันประเทศไทย กับนายกฯ คนไหนดี?

 

          หากแต่ในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ก็ยังคงออกอากาศต่อไป และยังเหมือนเป็นพื้นที่สำหรับให้นายกฯ ชี้แจงในปฏิบัติการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

          จนมีการตั้งคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่า กระแสสังคมอีกด้านหนึ่งก็รับไม่ได้กับปฏิบัติการกระชับพื้นที่ของรัฐบาลนี้!!

          นอกจากนี้ ช่วงนั้นมีวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ได้ทำการค้นคว้ารวบรวมเนื้อหาของรายการช่วงนั้น ที่นายกฯ ได้กล่าวในรายการ ชื่อ “การวิเคราะห์ตัวบท รายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ช่วงเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ปี พ.ศ. 2553

          ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการ ชี้แจง และแก้ต่างในเรื่องของความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยผลการวิจัย พบวาทกรรมในรายการ ที่แบ่งได้ 3 ชุด คือ วาทกรรมชุดผู้รักษากฎหมาย, วาทกรรมชุดผู้ก่อการร้าย, วาทกรรมชุดผู้กระจายความสุข

          ทั้งหมดล้วนแสดงอัตลักษณ์เชิงบวกของนายกฯ อภิสิทธิ์ และภาพลักษณ์เชิงลบแก่กลุ่มคนเสื้อแดง และในส่วนของการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ บก.หนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ยังพบว่ารายการนี้เป็นการโน้มน้าวใจ ประชาสัมพันธ์รัฐบาล เพื่อโน้มน้าวให้ผู้รับสารเชื่อถือคล้อยตามการดำเนินการของรัฐบาลต่อการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง

          ขณะที่บก. หนังสือพิมพ์รายวัน ล้วนมีความคิดเห็นว่าในสถานการณ์ปกติ รายการนี้มีบทบาทในการให้ข้อมูลข่าวสาร, การสอดส่องดูแล, สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในสังคม และการกระตุ้นเร้า

          แต่ช่วงความขัดแย้งทางการเมือง รายการนี้มีบทบาทชี้แจงสถานการณ์ ไขข้อข้อใจของสังคม แต่ด้านหนึ่งกลับพบว่า รายการนี้อาจสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้น เพราะนายกฯ ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้ง กลับเลือกพูดด้านที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และพูดถึงแต่ด้านลบของกลุ่มคนเสื้อแดง นั่นเอง

          และอย่างที่รู้กันว่าที่สุดแล้ว เหตุการณ์นั้นจบลงแบบไหน ส่วนใครจะเป็น “ผู้ร้าย” หรือ “พระเอก” ก็ตามแต่ประชาชนล้วนเป็น “เหยื่อ” ทั้งสิ้น

          เพราะแม้ต่อมา จะมีรายการ “รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน” โดยอดีตนายกฯ คนงาม จนมาถึงทุกวันนี้ กับรายการ "คืนความสุข ให้คนในชาติ" โดยพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

18 ม.ค.2552  เชื่อมันประเทศไทย กับนายกฯ คนไหนดี?

18 ม.ค.2552  เชื่อมันประเทศไทย กับนายกฯ คนไหนดี?

           แต่ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ ยังวังเวง ว้าเหว่ ชนิดที่มิอาจสามารถบรรยายได้!! 

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ