วันนี้ในอดีต

12 ม.ค.2487 รำลึก “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด”

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ท่าน คือผู้ที่ได้รับยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็น “มรณสักขี” และได้รับการประกาศเป็น “บุญราศี” ผู้มีความรักที่ให้อภัยต่อทุกคน!

          ถ้าเอ่ยชื่อ “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง” โดยเฉพาะชาวไทยที่นับถือคริสต์ศาสนาจะรู้จักท่านเป็นอย่างดี

          เพราะท่านคือ ผู้ที่ได้รับยกย่องจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกว่าเป็น “มรณสักขี” และได้รับการประกาศเป็น “บุญราศี” เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.. 2543 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม โดย “สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2”!! หรือนับจากวันที่ท่านได้เสียชีวิตไปถึง 56 ปี!!

        โดยในวันที่ 12 .. 2587 หรือวันนี้เมื่อ 74 ปีก่อน “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง” ได้สิ้นลมในเรือนจำบางขวาง จากอาการวัณโรค ขณะอายุได้ 49 ปี

 

12 ม.ค.2487  รำลึก “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด”

          และต่อมาคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 12 มกราคม ของทุกปีเป็นวันระลึกถึงบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

          ถึงตรงนี้ หลายคนอยากทราบเรื่องราวของ“บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง” อีกครั้ง

          บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง” เป็นบาทหลวงชาวนครปฐม สังกัดมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เมื่อรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงแล้วได้ทำงานแพร่ธรรมในหลายจังหวัด

          แต่เมื่อเมืองไทย เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนขึ้น บาทหลวงบุญเกิด ถูกตำรวจจับในข้อหา "กบฏภายนอกราชอาณาจักร" โดยศาลตัดสินให้จำคุก 15 ปีที่เรือนจำกลางบางขวาง แต่ในที่สุดท่านก็ถึงแก่กรรมด้วยวัณโรคหลังจากติดคุกได้ 3 ปี

          บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.. 2438 ที่จังหวัดนครปฐม มีนามเดิมว่า "ชุนกิม" เป็นบุตรคนโตของครอบครัว บิดามารดาชื่อ ยอแซฟ โปชัง และ อักแนส เที่ยง กฤษบำรุง ได้รับศีลล้างบาปที่โบสถ์นักบุญเปโตร สามพราน ได้รับศาสนนามว่า “เบเนดิกโต”

          ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลในจังหวัดนครปฐม แล้วย้ายไปเรียนที่เซมินารีพระหฤทัยของพระเยซู บางช้าง เป็นเวลา 8 ปี แล้วย้ายไปเรียนที่วิทยาลัยกลาง เมืองปีนังอีก 6 ปี

          ช่วงนั้น ท่านได้รับอนุกรมน้อยขั้นอุปพันธบริกร เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2468 และเป็นพันธบริกรเมื่อวันที่ 24 กันยายน ปีเดียวกัน แล้วกลับมารับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2469 ขณะมีอายุได้ 31 ปี

          ทั้งนี้ บาทหลวงบุญเกิดได้ปฏิบัติศาสนกิจในหลายท้องที่ เช่น เป็นผู้ช่วยอธิการโบสถ์บางนกแขวก (ปัจจุบันคืออาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางนกแขวก) (2469-2471), เป็นผู้ช่วยอธิการโบสถ์เซนต์นิโกลาส พิษณุโลก (2472-2473), เป็นมิชชันนารีแพร่ธรรมที่ภาคเหนือของประเทศไทย (2473-2480), เป็นอธิการโบสถ์โคราช (ปัจจุบันคืออาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด นครราชสีมา) และโบสถ์นักบุญเทเรซา โนนแก้ว (2480-2481)

          ระหว่างนั้นเอง เมืองไทยได้เกิดกรณีพิพาทอินโดจีนขึ้นกับประเทศฝรั่งเศส ว่ากันว่า สังคมไทยเวลานั้น ถ้าพูดถึงคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในความดูแลของบาทหลวงชาวฝรั่งเศสคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส จึงถูกตั้งข้อรังเกียจไปด้วย ถึงขนาดมีการการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วประเทศ

          และในที่สุด “บาทหลวงบุญเกิด” ซึ่งทำงานแพร่ธรรมอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ถูกตำรวจจับเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.. 2484 โดยตั้งข้อหาเป็น แนวที่ 5 ของฝรั่งเศส ในที่สุด ท่านถูกตัดสินจำคุก 15 ปีในข้อหากบฏภายนอกราชอาณาจักร ที่เรือนจำกลางบางขวาง

 

12 ม.ค.2487  รำลึก “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด”

วัดบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เขาใหญ่  ซึ่งเป็นวัดคาทอลิกแห่งแรกและแห่งเดียวที่เขาใหญ่ ขอบคุณภาพจากไทยรัฐ และติดตามอ่านได้จากลิงค์นี้ https://www.thairath.co.th/content/897362

 

12 ม.ค.2487  รำลึก “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด”

ภายในวัดบุญราศี นิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง เขาใหญ่  ซึ่งเป็นวัดคาทอลิกแห่งแรกและแห่งเดียวที่เขาใหญ่

ขอบคุณภาพจากอบคุณภาพจากไทยรัฐ และติดตามอ่านได้จากลิงค์นี้ https://www.thairath.co.th/content/897362

 

          อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในคุก ท่านยังคงทำงานแพร่ธรรมแก่นักโทษ จนสามารถโปรดศีลล้างบาปแก่นักโทษได้ถึง 66 คน กระทั่งถูกย้ายไปอยู่แดนผู้ป่วยวัณโรค จนติดวัณโรค และถึงแก่มรณกรรมเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.. 2487

          ศพของท่านถูกนำไปฝังไว้ที่วัดบางแพรก ซึ่งอยู่ใกล้กับเรือนจำ ต่อมาพระคุณเจ้าเรอเน แปรอส ประมุขมิสซังกรุงเทพฯ ในขณะนั้น ได้ขอนำศพท่านมาฝังที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ (ปัจจุบันร่างของท่านถูกนำไปเก็บไว้ที่สักการสถานบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม)

          และต่อมา มิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ ได้ยื่นเรื่องการเป็นมรณสักขีของบาทหลวงบุญเกิดต่อสันตะสำนักในปี พ.. 2535 การสอบสวนดำเนินมาจนถึงวันที่ 5 มีนาคม พ.. 2543 บาทหลวงบุญเกิดจึงได้รับการประกาศเป็น “บุญราศี” โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน กรุงโรม

          แน่นอน ที่เรื่องของท่านได้รับการกล่าวขานไปทั่ว ไม่เฉพาะหมู่ชาวคริสต์ เพราะท่านได้ดำเนินหนทางตามคำสอนของพระเยซูเจ้าโดยแท้ในนเรื่องของ “ความรัก”

          คือ ความรักที่สามารถเรียนรู้ที่จะเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ที่เกิดขึ้น ความรักที่เรียนรู้ที่จะยอมรับสถานการณ์ต่างๆ นั้น ความรักที่ไม่ซ้ำเติมผู้ใดหรือสิ่งใดๆ คือความรักที่ให้อภัยต่อทุกคน 

          ย้อนไปในเก่าๆ ข้อมูลจาก https://storylog.co/story/57a8047aeb428a862a78b644 เล่าว่า

          ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยบาทหลวงยุโรปหลายชาติ นำโดยโปรตุเกส แต่ในยุคนั้น บาทหลวงโปรตุเกสแทบหาไม่ได้มาตั้งแต่เสียกรุงครั้งที่ 2 แล้ว

          นิกายโรมันคาทอลิกในไทยก็ถูกผูกขาดโดยบาทหลวงฝรั่งเศสมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยที่เป็นบาทหลวง พอมีอยู่บ้าง แต่ยังไม่เยอะเท่าไหร่ ส่วนบาทหลวงชั้นผู้ใหญ่ระดับบิชอปที่ทำหน้าที่ปกครองบาทหลวง ก็ล้วนแต่เป็นคนฝรั่งเศส จนคนไทยยุคนั้นพากันเรียกว่า ศาสนาฝรั่ง(เศส)

 

12 ม.ค.2487  รำลึก “บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด”

สักการสถาน บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด สักการสถาน บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด ที่ตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

 

          ต่อมาช่วงที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ ในขณะที่ยังมีกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ศาสนาฝรั่ง ก็ต้องถูกทางการไทยเพ่งเล็งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลานั้นเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน บาทหลวงฝรั่งเศสหลาย ๆ ท่าน ก็เลยมีอันต้องหลบหนีออกนอกราชอาณาจักรชั่วคราว

          แต่คนไทยที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก จะหนีตามบาทหลวงฝรั่งเศสไปก็ไม่ได้ ตอนนั้นมีข้อมูลระบุว่า มีชาวคริสตังไทย 7 คนที่ยอมตาย เพราะไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา จนถูกวิสามัญฆาตกรรมที่สองคอน มุกดาหาร และได้รับเกียรติจากศาสนจักร ยกย่องขึ้นเป็นบุญราศีมรณสักขีทั้ง 7 แห่งประเทศไทยในเวลาต่อมา

          ความหมายของ “บุญราศี” ภาษาอังกฤษเรียกว่า blessed คือคนที่ศาสนจักรโรมันคาทอลิกถือว่าอยู่บนสวรรค์กับพระเจ้าแล้ว แต่ยังไม่นับว่าเป็นนักบุญหรือ saint ถ้าจะให้นับเป็น saint ก็ต้องมีเรื่องอัศจรรย์ที่เกี่ยวข้องกับบุญราศีท่านนั้น (เช่น หายป่วยแบบปาฏิหาริย์เพราะอธิษฐานขอให้บุญราศีท่านนั้นช่วยวิงวอนพระเจ้าให้) และศาสนจักรรับรองอีก 1 เรื่อง (ซึ่งใช้เวลานานเป็นปี ๆ) ถึงจะนับให้ว่าเป็นนักบุญ

          ส่วน “มรณสักขี” ภาษาอังกฤษเรียกว่า martyr คือคนที่ยอมสละชีวิตตัวเองเพื่อรักษาศรัทธาไว้ พูดง่ายๆ คือยอมตายไม่ยอมทิ้งพระเจ้า ศาสนจักรโรมันคาทอลิกถือว่าการเป็นมรณสักขีเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นดีพอจะไปอยู่บนสวรรค์กับพระเจ้าได้เลย ดังนั้น ใครที่เป็นมรณสักขี ก็มักจะได้เป็นบุญราศีไปด้วยพร้อมๆ กัน

          และแน่นอนที่ บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ได้เป็นทั้งสองสิ่ง และยังเสมือนว่าได้สร้าง "โบสถ์คริสต์วัดบางขวาง" ขึ้นมาโดยไม่มีไม้กางเขนสักอัน ท่านดำเนินการเช่นนี้มายาวนานถึง 2 ปี แต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลง เมื่อเกิดล้มป่วยด้วยวัณโรคปอด และถูกย้ายไปแดนผู้ป่วย

          กระทั่งคุณพ่อได้ทำพิธีล้างบาปให้เพื่อนนักโทษที่กำลังจะสิ้นใจถึง 68 คน จากนั้นไม่กี่เดือนท่านก็ลาโลกไปสู่อ้อมอกแห่งพระผู้เป็นเจ้า

/////////////////////

 

ขอขอบคุณ ข้อมูล และภาพประกอบ จาก "บุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง ในคุก ตามจินตนาการของอิฏฐสิทธิ์ ทองระอา" จากเว็บไซต์หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ www.catholichaab.com

และ https://storylog.co/story/57a8047aeb428a862a78b644

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ