วันนี้ในอดีต

“อันล่วงละเมิดมิได้”เติมเชื้ิอไฟ ต้านนักล่าฯ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 “อันล่วงละเมิดมิได้”ผลงานเลื่องชื่อของ “ดร.โฮเซ่ ริซัล” นักเขียน วีรบุรุษผู้กระตุกต่อมรักชาติให้ชาวตากาล็อก ลุกฮือขึ้นต่อสู้ผู้ล่าอาณานิคม

 

            รีซัล เป็นลูกครึ่งระหว่างสเปนกับชนพื้นเมือง เกิดเมื่อ19 มิถุนายน ค.ศ. 1861 (พ.ศ.2404)ถ้านับเวลาในเมืองไทยตอนนั้น ตรงกับรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี 

            โฮเซ่ ริซัล เติบโตมาในครอบครัวที่มีฐานะดี มีเชื้อสายจีน สเปน ญี่ปุ่น และตากาล็อก จัดเป็น“ชนชั้นเมสตีโซ”ตามการแบ่งชนชั้นในยุคอาณานิคมสเปน เขาได้รับการศึกษาจากโรงเรียนของบาทหลวงโดมินิกันและเยซูอิต เขามีีสื่อสารได้ี่หลายภาษา ทั้งภาษาตากาล็อก ภาษาสเปน ภาษาละติน และ ภาษาฮีบรู

            รีซัลไม่ใช่คนพื้นเมืองดั้งเดิม เขาจึงได้รับการศึกษาที่ดีและเติบโตมาอย่างมีคุณภาพ ริซัลเป็นเด็กที่มีความสนใจใฝ่รู้ทุกเรื่องราวรอบตัว เขาชอบซักถามเรื่องต่างๆ จากผู้รู้เสมอความใฝ่รู้นี้เอง ทำให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านในเวลาต่อมา

            รีซัลเผชิญมรสุมชีวิตตั้งมีอายุเพียง 10-11 ปี เท่านั้น เมื่อแม่ของรีซัลถูกตัดสินจำคุก 2 ปี ด้วยข้อหาวางยาพิษเพื่อนบ้าน พี่ชายของเขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะใกล้ชิดกับกลุ่มบาทหลวงชาวพื้นเมือง ที่ถูกศาสนจักรสเปนสั่งแขวนคอ เมื่อพ.ศ. 2415

            ในช่วงที่ริซัลเติบโต เขาได้เห็นบรรยากาศการเรียกร้องความเสมอภาคของคนฟิลิปปินส์ที่เริ่มมีการศึกษา เกิดขึ้นเป็นระยะและแน่นอนค่ะ ถูกชาวสเปนที่ปกครองอยู่ปราบปรามอย่างหนักหน่วง

            ทำให้ประเทศที่มีเกาะมากมายหลายพันเกาะอย่าง“ฟิลิปปินส์”อยู่ภายใต้การปกครองของสเปนมาอย่างยาวนานถึง 300 กว่าปี ด้วยลัทธิปกครองอาณานิคมที่เข้มงวด โหดร้ายและทารุณ ทั้งที่ในอดีตหมู่เกาะเหล่านี้จะปกครองกันเป็นชุมชนๆ ชาวพื้นเมืองใช้ชีวิตกันอย่างสงบและเรียบง่าย จนกระทั่งนักล่าอาณานิคมจากสเปน ยึดครองวิถีชีวิตอันสงบสุขของชาวพื้นเมืองบนเกาะแห่งนั้นได้ถูกทำลายลง

            รีซัลวัย 21 ปีถูกส่งไปเรียนต่อด้านการแพทย์ในยุโรป ที่ประเทศสเปน กลายเป็นห้วงเวลาที่เด็กหนุ่มคนหนึ่งถูกเปิดโลกทัศน์กว้างขึ้น เขาเดินทางไปหลายประเทศในยุโรป ทำให้เขาได้เรียนรู้ทั้งเรื่องภาษา ได้เห็นความก้าวหน้าในด้านสังคม และการเมืองการปกครองของประเทศในยุโรป ซึ่งรวมทั้งสเปน มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากสิ่งที่สเปนปกครองประเทศบ้านเกิดเขา

            ช่วงชีวิตในยุโรป กลายเป็นช่วงเวลาของการบ่มเพาะอุดมการณ์เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมสเปน เขาเริ่มต่อต้านระบบอาณานิคมของสเปน และเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองในฟิลิปปินส์ผ่านบทความ ที่ตีพิมพ์เป็นภาษาสเปน และอังกฤษ รวมทั้งการเป็นนักหนังสือพิมพ์ ทำให้ริซัลได้รับการยอมรับในฐานะนักการเมือง แม้ไม่ได้เข้าไปทำงานการเมืองโดยตรง แต่เพราะบทความของเขาเต็มไปด้วยทรรศนะทางการเมืองที่คมคายยิ่งนัก

            “Touch Me Not”(อันล่วงละเมิดมิได้ แปลไทยโดย จิตราภรณ์ ตันรัตนสกุล)ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ.1887 (พ.ศ.2430)นวนิยายสะท้อนสังคมของ โฮเซ่ รีซัล ด้วยวัยเพียง 26 ปี กลายเป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สุด ที่นำไปสู่การการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์

            ว่ากันว่า นวนิยายสะท้อนสังคม “อันล่วงละเมิดมิได้” ดำเนินเรื่องผ่านตัวละครที่มีอยู่จริง  พระเอกลูกผสมซึ่งว่ากันว่า ถอดแบบมาจากตัวของโฮเซ่ ริซัล ทั้งชาติกำเนิด และการต่อสู้เรื่องราวสะท้อนให้เห็นการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างสเปน กับชนพื้นเมือง ช่างคล้ายคลึงกับการต่อสู้ของ "ผู้กล้าดินแดนสยาม นาม"จิตร  ภูมิศักดิ์" ยิ่งนัก!!

              ตัวละครหลายตัวในเรื่อง ถอดแบบมาจากบุคคลจริง ในกลุ่มผู้ปกครองฟิลิปปินส์ในขณะนั้น เช่น บาทหลวง ที่แสนจะฉาวโฉ่ แอบมีภรรยาลับๆ (กับผู้หญิงพื้นเมือง)จนมีลูกสาวหนึ่งคน ที่เป็นนางเอกของเรื่อง ต่อมากลายเป็นลูกปลอมๆ ของมหาเศรษฐีที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ

            นวนิยายต้องห้าม "อันล่วงละเมิดมิได้"ได้บอกเล่าเรื่องราวความชั่วร้ายของระบอบอาณานิคม การล้มล้างวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยแทรกซึมผ่านการให้อำนาจกับกลุ่มผู้นำในชุมชนดั้งเดิม บางส่วนเป็นเรื่องที่สะท้อนเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมฟิลิปปินส์ โดยยกเอาสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์ มาใส่ไว้ในนิยายหมด ชนิดที่เรียกคนฟิลิปปินส์สมัยนั้นอ่านก็คงสะท้อนใจและเจ็บปวดสุดๆ

            4 ปีต่อมา เขาได้รังสรรผลงานเขียนตอนต่อของ “Touch Me Not”ตีพิมพ์ที่ประเทศเบลเยี่ยม โดยใช้ชื่อ “El Filibusterismo”ทำให้ ริซัล ถูกจับตามองจากทางการฟิลิปปินส์ อย่างไม่ไว้วางใจ และ“Touch Me Not” ถูกสั่งห้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์

            ทว่ายิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ ชาวฟิลิปปินส์ดั้งเดิมทั้งระดับล่าง และพวกลูกผสมที่มีการศึกษาสูง ต่างได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ปกครองประเทศและความฮึกเหิมที่จะเป็นอิสระเพิ่มทวีคูณ ทำให้เขาถูกกดดันอย่างหนัก ถึงขั้นทางการเนรเทศเขาไปอยู่เมือง Dapitan บนหมู่เกาะมินดาเนาห่างจากมะนิลามาก ทางตอนใต้ของประเทศ เขาใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับชาวเกาะ ศึกษาค้นคว้าเรื่องพรรณพืชจนเชี่ยวชาญ และเขียนหนังสือสะท้อนสังคมอีกหลายชิ้น

            ในขณะที่ชาวฟิลิปปินส์ในเมืองที่ได้อ่านหนังสือของเขา ก็เริ่มรวมตัวกันต่อต้านชาวสเปนอย่างหนักการต่อต้านชาวสเปนในฟิลิปปินส์นั้น มีประชาชนล้มตายจำนวนมากค่ะเพราะคนสเปนก็ปราบกลุ่มที่ต่อต้านอย่างไร้ความปราณีเช่นกันแต่ความตายในคราวนั้น ยิ่งเพิ่มความเข้มแข็งให้กับประชาชนฟิลิปปินส์

            ช่วงพ.ศ. 2411–2421เกิดการลุกฮือขึ้นใน“คิวบา”พรรคพวกของรีซัลวิ่งเต้นให้รีซัลไปทำงานด้านการแพทย์ในสงครามนี้ รีซัลได้รับอนุญาตให้ไปคิวบาเมื่อ1 กรกฎาคมพ.ศ. 2439 แต่เขาพลาดเรือ ไม่ได้เดินทางไป ขณะเดียวกันนั้น“อันเดรส โบนีฟาซีโอ”นักปฏิวัติผู้ก่อตั้งสมาคมกาตีปูนัน ติดต่อรีซัลให้เข้าร่วมปฏิวัติด้วยความรุนแรง แต่เขาปฏิเสธ

            รีซัล ถูกกักตัวบนเรือรบสเปนและถูกส่งไปสเปนเมื่อ 3 กันยายน 2439 แต่หลังจากการโจมตีสเปนของ“โบนีฟาซีโอ”เมื่อ 30 สิงหาคม ทำให้ฝ่ายอาณานิคมเพ่งเล็งรีซัล และส่งโทรเลขให้จับกุมรีซัลไว้และส่งกลับฟิลิปปินส์เมื่อ 3 ธันวาคม 2439

              สถานการณ์รุนแรงที่สุดเมื่อดร.โฮเซ่ ริซัล ถูกผู้ปกครองชาวสเปนจับกุมด้วยข้อหา ‘ปลุกระดม’มีความผิดฐานกบฏ ปลุกปั่นยุยง และสมคบคิด ในขณะที่เขาอายุ 35 ปี เขาถูกนำตัวขึ้นศาลไต่สวนเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม และถูกตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม การประหารชีวิตมีขึ้นในตอนเช้าวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2439

             ก่อนถูกประหารชีวิต เขาเขียนบทกวีลาตายไว้ ขนาดยาว 14 บาท เป็นภาษาสเปน บทกวีนี้ได้รับการส่งเสริมให้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งภาษาท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ โดยสถาบันประวัติศาสตร์แห่งชาติฟิลิปปินส์ ปัจจุบันแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 100 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย 

            บทกวีลาตายนี้ แปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2444 ภาษาสวีเดนพ.ศ. 2446 ภาษาญี่ปุ่นพ.ศ. 2460 ภาษาฮังการีภาษาฝรั่งเศสภาษาเยอรมันพ.ศ. 2470 ภาษาอินโดนีเซียพ.ศ. 2493 ส่วนภาษาอื่น ๆ รวมทั้งภาษาไทย เริ่มแปลประมาณ พ.ศ. 2523

              “121 ปี”วันนี้ในอดีต 30 ธันวาคม 2439 ช่วงเช้าในเวลา 7.00 น.“ดร.โฮเซ่ ริซัล” ยืนหันหลังบนลานประหาร เสียงปืนดังขึ้น 1 นัด เมื่อกระสุนพุ่งเข้าไปฝังในร่าง เขาไม่ยินยอมที่จะล้มคว่ำลงไปตามที่ควรจะเป็น “ดร.โฮเซ่ ริซัล ”ค่อยๆ หมุนตัวกลับมาเผชิญหน้ากับเพื่อนร่วมชาติที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของคนสเปน ผู้ลั่นกระสุนใส่เขาก่อนที่จะค่อยๆ ล้มลง ใบหน้าหันขึ้นสู่แสงอรุณรุ่งเบื้องบน

            ความพยายามที่จะให้ประเทศเดินไปสู่เสรีภาพ จากการปกครองของนักล่าอาณานิคม จบลงด้วยความตาย ของ ดร.โฮเซ่ ริซัล และ 2 ปีหลังการตายของนักชาตินิยม ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ก็ได้ชัยชนะ ประกาศเอกราชให้กับประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ.1898 (พ.ศ.2441) ปลดแอกจากถูกการปกครองโดยสเปน มาอย่างยาวนานกว่า 350 ปีลงอย่างสิ้นเชิง

            ว่ากันว่า  วัยรุ่นชาวฟิลิปปินส์ ในยุคโซเชียลมีเดีย อาจจะไม่ทราบถึงประวัติ ผลงาน และวีรกรรมของ “ดร.โฮเซ่ ริซัล”อย่างลึกซึ้งมากนัก แต่พวกเขาและเธอต่างรับรู้ว่าบุคคลนี้ คือวีรบุรุษประจำชาติของเขา จากหลักฐานที่ประจักษ์ทั้ง อนุสาวรีย์  พิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ทางการสร้างไว้ เพื่อให้คนในชาติระลึกถึง"นักเขียนวีรบุรุษ ผู้เติมเชื้อไฟ ให้ชาวตากาล็อกลุกฮือต่อต้านนักล่าอาณานิคม

——//——

     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ