วันนี้ในอดีต

7 ธ.ค.2484 หักหาญน้ำใจไทย "โกโบริ" ยกพลขึ้นบกหลายจังหวัด!

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ความรู้สึกของทุกคนในขณะนั้น คล้ายกับว่าเด็กถูกผู้ใหญ่ที่มีกำลังมหาศาลรังแก จะสู้ก็สู้ไม่ได้ ทั้งมีความวิตกว่า ประเทศไทยได้สูญเสียเอกราชอธิปไตยไปแล้ว

          อย่างที่คนไทยซึ่งติดตามประวัติศาสตร์ จะรู้กันดีว่า วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 คือวันที่ญี่ปุ่นส่งกำลังพลเข้ารุกรานไทย ในหลายพื้นที่ชายทะเลของไทย ซึ่งได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยจำเป็นต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวลาถัดมา แม้ว่าเบื้องต้นเมื่อครั้งที่อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยจะประกาศ “วางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด” ก็ตาม

          แต่ใครจะรู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้านั้น 1 วัน หรือวันนี้เมื่อ 119 ปีก่อน ในวันที่ 7 ธ.ค. 2548 ทางพี่ยุ่น ได้ส่งเอกอัครราชทูตเข้าพบนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลา 23 นาฬิกา เพื่อขออาศัยดินแดนไทยเป็นทางผ่านในการเคลื่อนทัพ ก่อนการประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ ในวันที่ 8 ธันวาคม เวลา 1 นาฬิกา

          ย้อนไปในวันนั้น สำหรับประเทศไทยในคืนวันที่ 7 ธันวาคม 2484 หรือไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าการโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ คนไทยกำลังมีงานฉลองรัฐธรรมนูญในกรุงเทพฯ

          จู่ๆ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นได้แจ้งความประสงค์จะขอเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อเจรจาขอเดินทัพผ่านประเทศไทยไปยังพม่าและมลายูซึ่งเป็นดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ

          แต่ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีไปต่างจังหวัด ทำให้รัฐบาลไทยไม่สามารถให้คำตอบได้

          แต่แทนที่พี่โกโบริของเราจะยับยั้งไว้ก่อน ปรากฏว่ารุ่งขึ้นญี่ปุ่นไม่รอช้ายกพลขึ้นบกในพื้นที่ชายทะเลของไทย ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าทางการไทยยังมิได้ให้ความยินยอมเลยแม้แต่น้อย

          โดยกองทัพญี่ปุ่นก็ทำการบุกเข้าสู่ดินแดนของไทยเมื่อเวลา 02.00 น. เริ่มจากชายแดนด้านทิศตะวันออก พร้อมกับ ยกพลขึ้นบกตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยเข้าสู่พื้นที่ในหลายจังหวัด คนไทยในเวลานั้น ได้ร่วมกันต่อสู้กับกองทหารต่างชาติอย่างยอมตายถวายชีวิต

          ที่สุดเรื่องนี้จึงนำไปสู่การสู้รบระหว่างกองทัพญี่ปุ่นกับเจ้าหน้าที่ไทย หลังจากที่เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเดินทางไปขอพบนายกรัฐมนตรีไทยเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่ไทยจะออกประกาศให้ทหารและตำรวจหยุดยิง

          โดยมีประกาศดังนี้

          ประกาศของรัฐบาล ได้รับโทรเลขจากจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่เวลา 02.00น. ว่าเรือรบญี่ปุ่นได้ยกทหารขึ้นบกที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และบางปู ทางบกได้เข้าทางจังหวัดพิบูลสงคราม ทุกแห่งดังกล่าวแล้ว ได้มีการปะทะสู้รบกันอย่างรุนแรงสมเกียรติของทหารและตำรวจไทย 07.30 วันนี้ รัฐบาลไทยได้สั่งให้ทหารและตำรวจทุกหน่วยหยุดยิงชั่วคราวเพื่อรอคำสั่ง ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังเจรจากันอยู่ ผลเสียหายทั้งสองฝ่ายยังไม่ปรากฏ

           ลงชื่อ กรมโฆษณาการ 8 ธันวาคม 2484

          เรื่องนี้บางส่วนมองว่า ญี่ปุ่นนั้นถือว่า ประเทศเขาเคยช่วยให้ไทยได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงมาจากฝรั่งเศส แต่ไม่ว่าเหตุผลจะเป็นอะไร เมื่อยกพลขึ้นบกที่บ้านเมืองเราเสร็จสรรพ รุ่งขึ้นวันนั้นเอง ญี่ปุ่นก็ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ ในวันที่ 8 ธันวาคม เวลา 1 นาฬิกา ทันที

          ซึ่งหลายคนจำได้ว่าวันนั้นเอง ยังเป็นวันสำคัญที่ทางกองทัพญี่ปุ่น ได้โจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ รัฐฮาวาย ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกายังไม่ทันตั้งตัว ญี่ปุ่นจึงได้โอกาศ โจมตีเพิ์ลฮาร์เบอร์ทางอากาศ ทำให้ฐานทัพแห่งนี้พังทลายจนไม่เหลือซาก ในวันต่อมาปะธานนาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นทันที ในวันนั้นนั่นเอง

          อย่างไรก็ดี ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม ได้มีการเรียกประชุมวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเป็นการด่วนเพื่อที่รัฐบาลจะได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางรัฐบาลได้ยินยอมให้ญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย เพื่อไปมาเลเซีย สิงคโปร์ และพม่า “เพราะไม่มีทางจะต่อสู้ต้านทานกำลังกองทัพญี่ปุ่นได้จึงยอมตามคำขอ”

          “มวลสมาชิกสภาได้รับทราบดังนั้นแล้ว เพราะเหตุที่ได้กล่าวแล้วว่า คนไทยทุกคนได้รับการปลุกใจให้รักชาติ ให้ทำการต่อสู้ศัตรู ตามกฎหมายกำหนดหน้าที่ของคนไทยในการรบเมื่อทราบว่ารัฐบาลยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นผ่านไป โดยไม่ได้มีการต่อสู้ตามที่เคยประกาศชักชวนปลุกใจไว้ อันตรงกันข้ามกับจิตใจคนไทยในขณะนั้น จึงทำให้การประชุมในครั้งนั้น เป็นการประชุมที่แสนเศร้าที่สุด ทั้งสมาชิกสภา รัฐมนตรี ได้อภิปรายซักถามโต้ตอบกันด้วยน้ำตานองหน้า ความรู้สึกของทุกคนในขณะนั้น คล้ายกับว่าเด็กถูกผู้ใหญ่ที่มีกำลังมหาศาลรังแก จะสู้ก็สู้ไม่ได้ ทั้งมีความวิตกว่า ประเทศไทยได้สูญเสียเอกราชอธิปไตยไปแล้ว”

           ประเสริฐ ปัทมะสุนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา กล่าว

          อนึ่ง ในสงคราม ยังมีความรัก ฉากหลังของเหตุการณ์นี้ ยังเป็นแรงบันดาลใจให้นักเขียนดัง คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือ “ทมยันตี” นักประพันธ์ที่ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ท่านได้นำเรื่องราวสมัยที่กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทยครั้งนี้ มาแต่งเป็น นิยายเรื่อง “คู่กรรม” ในปี 2508 จนทำให้ตัวละครอย่าง “โกโบริ” และ “อังศุมาลิน” เป็นคูพระนางในดวงใจคนไทยตลอดมาไม่รู้จบ!

//////////////////////

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

วิกิพีเดีย 

และ รัฐสภาไทย ในรอบสี่สิบสองปี (๒๔๗๕-๒๕๑๗). ประเสริฐ ปัทมะสุนธ์ อดีตเลขาธิการรัฐสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ