วันนี้ในอดีต

วันนี้ในอดีต ฮ. ตก ดอยอินทนนท์ ‘บิ๊กทหาร’เสียชีวิต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

วันนี้ในอดีต  14 ส.ค. 2559 เกิดเหตุ ฮ. ตกบริเวณ ดอยอินทนนท์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน หนึ่งในนั้นมี พล.ต.นพพร ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 (ขณะนั้น)รวมอยู่ด้วย

            วันนี้ในอดีต  14 ส.ค. 2559 เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดขึ้น  เมื่อเฮลิคอปเตอร์ รุ่น UH-72 หรือ ลาโกต้า ซึ่งมี พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4 และผบ.กองกำลังนเรศวร (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ซึ่งกลับจากภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ดอยอินทนนท์  ที่อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อช่วงเช้า และกำลังมุ่งหน้ากลับมายังจังหวัดพิษณุโลก แต่ทางสถานีเรดาร์กองทัพอากาศ ดอยอินทนนท์ ตรวจพบว่า เฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวได้หายไปจากจอเรดาห์ และขาดการติดต่อเมื่อเวลาประมาณ 10.30 น.

            โดยเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวมีผู้โดยสารทั้งหมดจำนวน 5 คน ประกอบด้วย พล.ต.นพพร เรือนจันทร์ ผู้บัญชาการกองพลทหาราบที่ 4 , ร.อ.สุทัน อ่อนเมือง นักบินที่ 1 , ร.ท.นวพัฒน์ มณีโชติ  นักบินที่ 2 จ.ส.อ. ชัยศักดา ทาโส ช่างเครื่อง 1 และ จ.ส.ต. มงคลชัย รู้งาน ช่างเครื่อง2   และต่อมาเจ้าหน้าที่ได้พบซาก ฮ. บริเวณห่างจากหอเรดาร์ของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นเนินเขาใกล้ยอดดอยอินทนนท์ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 2-3 กิโลเมตร  เป็นป่าดิบชื้น มีลักษณะเป็นช่องผาทึบ เครื่องตกลงไปอยู่ในเหวลึกซึ่งต้นไม้บริเวณดังกล่าวถูกใบพัดตีกระจัดกระจายและได้พบศพบุคคลทั้งห้า  สาเหตุที่ตกคาดว่าน่าจะเกิดจากกระแสลมพัดหางเครื่องไปชนกับต้นไม้ใหญ่

            สำหรับเฮลิคอปเตอร์ เป็นพาหนะที่ใช้กันมากในหน่วยงานของทหาร ซึ่งในเรื่องความปลอดภัยของเฮลิคอปเตอร์ นั้น แม้ว่าเฮลิคอปเตอร์จะมีขนาดเล็กและมองจากภายนอกดูบอบบางกว่าเครื่องบิน แต่จริงๆ แล้ว เฮลิคอปเตอร์ก็มีความปลอดภัยสูงทีเดียว  เพราะว่า ในกรณีที่เครื่องยนต์ขัดข้องไม่สามารถเคลื่อนได้ นักบินก็สามารถทำ ‘ออโต้โรเตชั่น’ คือ การบังคับเครื่องโดยไม่อาศัยเครื่องยนต์ โดยจะบังคับเครื่องให้ร่อนลง และประคับประคองให้ลงจอดในที่ี่ปลอดภัยได้ ซึ่งในส่วนนี้เป็นคุณสมบัติที่เครื่องบินไม่สามารถทำได้ 

           หากแต่ว่าสิ่งที่นอกเหนือการควบคุมต่างหากที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยหลักทำให้เฮลิคอปเตอร์เกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะสภาพอากาศ เพราะกระแสลมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการขับเคลื่อน  หากอยู่ในสภาพอากาศปกติ เฮลิคอปเตอร์ก็สามารถขับเคลื่อนได้ไม่มีปัญหา แต่ในบางพื้นที่ก็ยากที่จะควบคุมในเรื่องของกระแสลม โดยเฉพาะบริเวณหุบเขาสูง และเมื่อนักบินได้บินไปยังบริเวณสันเขาในพื้นที่ภูเขาสูง อาจจะมีอากาศไหลลงช่องเขาอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นลมความเร็วสูง โดยไม่มีการแจ้งเตือนจากระบบเรดาร์ ลมความเร็วสูงนี้ก็จะพุ่งเข้าด้านข้างของตัวเครื่องอย่างแรง หรือ อาจจะไหลกดส่วนบนของใบพัด จนเป็นเหตุให้เครื่องเสียการทรงตัวได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ